วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

ความคิดเห็น ข่าวท้องถิ่น เป็นข่าวยอดฮิตของผู้ใหญ่กว่า 72 เปอร์เซนต์

มีข่าวน่าสนใจมาฝากกันแบบสบายๆในช่วงสงกรานต์ กับการสำรวจความนิยมในการรับข่าวสารของชาวอเมริกัน แสดงให้เห็นว่า ข่าวท้องถิ่นเป็นเรื่องใกล้ตัว และเป็นเรื่องที่หลายๆคนสนใจ โดยผู้รับข่าวความคิดว่า ข่าวท้องถิ่นกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขามากกว่าข่าวทั่วไป

ชาวอเมริกันให้ความเห็นว่า ข่าวบน Social Media และการเชื่อมโยงข่าวบนโลกดิจิตอลไม่ได้มีความสำคัญกับพวกเขามากเท่าข่าวท้องถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขามากกว่า
มีการเผยแพร่จากรายงานของ Pew Internet & American Life Project ว่า คนอเมริกันส่วนใหญ่มีการติดตามข่าวท้องถิ่นโดยแทบจะทุกช่วงอายุ มีความสนใจข่าวท้องถิ่น แต่หากเป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็เสพย์ติดข่าวท้องถิ่นมากกว่า
สำหรับหนุ่มสาวที่มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 39 ปี ถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่ติดตามข่าวท้องถิ่น โดยมีค่าเฉลี่ยในการติดตามข่าวที่ 4.38 ต่อสัปดาห์
ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี กว่า 80 เปอร์เซนต์รับข่าวสารจากโทรทัศน์ ในขณะที่กว่าครึ่งของผู้ใหญ่ที่สำรวจพบว่าติดตามข่าวแบบ Word of Mouth จากวิทยุหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น นอกจากนี้ พวกเขายังนิยมอ่านและพูดคุยกันเกี่ยวกับสังคมของพวกเขา และยังใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตด้วย
ส่วนการติดตามข่าวของหนุ่มสาว น่าแปลกใจที่ใช้สื่อแบบ Word of Mouth เพื่อติดตามข่าวในท้องถิ่นของตน และเรื่องราวที่น่าติดตาม ส่วนวัยที่ชอบท่องเน็ตก็ใช้อินเตอร์เน็ต Search Engine อ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ และโซเชียล เน็ตเวิร์ก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ข่าวท้องถิ่นเป็นข่าวที่น่าติดตามสำหรับชุมชนต่างๆ จะเป็นที่สนใจของผู้ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนนั้นๆมากกว่า 20 ปี
แต่ไม่ใช่ว่า ติดตามข่าวท้องถิ่นแล้วจะไม่ติดตามข่าวอื่นๆเลย เพราะกลุ่มคนที่ติดตามข่าวท้องถิ่น ประมาณ 63% หรือ 6 ใน 10 ของคนเสพย์ข่าวท้องถิ่น ติดตามข่าวทั่วไป หมายถึงข่าวในประเทศและข่าวต่างประเทศ ในขณะที่ 78% ติดตามข่าวในประเทศ หนึ่งในสามของผู้เสพย์ข่าวท้องถิ่นมักติดตามข่าวจากสื่อในท้องถิ่น
ทาง Pew ได้รายงานเพิ่มเติมว่า ข่าวท้องถิ่นก็ยังรายงานไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ผู้ติดตามข่าวก็ต้องติดตามข่าวจากสื่่อหลายประเภทด้วยเช่นกัน รวมไปถึงพูดคุยกับผู้คนในชุมชนเพื่อรับข่าวสารเพิ่มเติม ตอนนี้คนอเมริกันรับข่าวสารท้องถิ่นทั้งจากออนไลน์และสิ่งพิมพ์ และอย่างน้อย ข่าวที่กระทบต่อการใช้ชีวิตมาจากข่าวด่วน ข่าวการเมือง อาญชกรรม ธุรกิจ สถานศึกษา และการศึกษา
เรื่องนี้เอามาบอกเล่าให้เห็นภาพว่า อย่างไรก็ตาม ข่าวท้องถิ่นก็ยังมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และเราจะปิดหูปิดตาไม่ทราบข่าวท้องถิ่นก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข่าวออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์

ข้อมูลจาก Mashable
ที่มา it24hrs.com

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

ปรากฎการณ์วลีฮิตติดปากบนโลกออนไลน์ยุคใหม่ “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่”

ข่าวเดือนเมษายน 2555 มีปรากฎการณ์วลีฮิตติดปากบนโลก Social Network แบบไทยๆอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้วลีฮิตคำว่า  #จนกระทั่งโดนธนูปักที่เข่า เมื่อปลายปีที่แล้ว  มาคราวนี้วลีที่พูดถึงบ่อยสุดตลอดเมื่อช่วงค่ำคืนวานนี้จนถึงตอนนี้ คงไม่พ้นกระแสฮิตคำว่า “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่”
จากคลิปที่มีวลีนี้ตอนท้ายแบบชัดๆบน youtube ซึ่งเปิด public ให้คนทั่วไปชมได้ และแชร์ผ่านทาง facebook และ twitter เป็นวงกว้างนี้เอง ทำให้เกิดปรากฎการณ์ส่งคลิปนี้ต่อ และรวมถึงการโพสแสดงความคิดเห็นบนบอร์ดต่างๆ จนทำให้เกิดวลีฮิตในช่วงข้ามคืน “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” อย่างกว้างขวาง  และมีปรากฎการณ์พูดถึงมากมาย ไม่เว้นแม้แต่ในข่าวโทรทัศน์


จนกระทั่งมีการก่อตั้ง facebook page ใหม่ เกี่ยวกับครูอังคณา มากมายเหลือเกินจริงๆ ในขณะที่แฟนเพจหลักตามกระแส  เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่ ก็มีคนกดถูกใจไปกว่า 24000 รายแล้ว หรืออาจจะมากว่านี้


ด้านทวิตเตอร์ ก็มีการพูดถึงแท็ก #เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่ อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ช่วงเวลา 19.00 น.  จนมาถึงช่วงที่มีการทวีตคำนี้สูงสุดคือในเวลาประมาณห้าทุ่ม  ของวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2555  รวมไปถึงคลิปนี้มีคนคลิกชมไปแล้ว กว่า 416,000 กว่าคลิกแล้ว ไม่เพียงเท่านั้นยังมีคนมาทำซับนรกและมามิกซ์เพลงคลิปกลายเป็นเพลงท่อนแรพต่ออีกด้วย ปรากฎการณ์  เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่ ดังจนข่าวเรื่อง Facebook ซื้อ Instagram ยังกลายเป็นข่าวรองไปทันทีเลยทีเดียว

ข้อมูลบางส่วนจาก thaitrend , facebook 
it24hrs.com

บทเรียนจากสิงคโปร์..'คัลเจอร์ช็อก ก่อนใช้'

กูนาเซการาน ซินเวีย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการแห่งสิงคโปร์ บอกว่า สิงคโปร์มีการริเริ่มใช้เทคโนโลยี
เข้า มาเป็นส่วนหนึ่งสำคัญในการศึกษาเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา โดยคาดหวังให้มีการร่วมมือการใช้งานอย่างเป็นระบบ เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มพูนความสามารถของนักเรียน ด้วยการเรียนรู้ด้วยตัวเองตลอดเวลา ซึ่งในระยะแรกการพัฒนาดังกล่าว ต้องประสบปัญหาล้มลุกคลุกคลานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหา "การปรับตัวไม่ทัน" ของทั้งนักเรียนและครูผู้สอน ทำให้เกิดการช็อกกับวัฒนธรรมใหม่การศึกษาใหม่ๆ (Culture Shock)

อย่าง ไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิต "คอนเทนท์" ในรูปแบบดิจิทัลที่จะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ ขณะเดียวกันยังควรส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนท์บทเรียนใน รูปแบบใหม่ อาจเป็นเกมหรือมัลติมีเดีย เพื่อทดสอบความเข้าใจในบทเรียนและจะทำให้นักเรียนจำเนื้อหาได้อย่างยั่งยืน สามารถต่อยอดคอนเทนท์ บูรณาการสู่เนื้อหาวิชาอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการแชร์ต่อ สร้างอุปนิสัย "การเรียนรู้ด้วยตัวเอง" ตลอดชีวิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ

ในสิงคโปร์มี "สถาบันแห่งเทคโนโลยีการศึกษา" (Institute o Technical Education) ในการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนได้รับทักษะการเรียนรู้และคุณค่า อันส่งผลต่อการจ้างงานและอุปนิสัยในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการส่งเสริมดังกล่าว มีการสร้าง "ศูนย์ออกแบบมัลติมีเดีย" อย่างครบวงจร นักเรียนสามารถใช้ศูนย์นี้ เพื่อเรียนรู้และสร้างสรรค์คอนเทนท์โดยใช้อุปกรณ์เครื่องมือทั้งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะ "เเทบเล็ต" ที่ตอบสนองรูปแบบพฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่ ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (iGeneration) ซึ่งจากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้นักเรียนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศทางด้านวิชาการจากเวทีระดับนานาชาติ ได้

"เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม ตามนโยบายเเทบเล็ตของรัฐบาลไทย หากระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ครอบคลุมพอ นักการศึกษาก็ควรสร้างเทเลโปรแกรมเพื่อรองรับเด็กๆ กลุ่มนี้ด้วย" กูนาเซการาน กล่าว


ที่มา http://www.bangkokbiznews.com

กลยุทธ์สร้างเนื้อหาให้น่าสนใจในสังคมออนไลน์ในเว็บไซต์

ผมเชื่อว่าหลายบริษัทเริ่มเข้าสู่การตลาดสังคมออนไลน์ ด้วยการสร้างเพจของ Facebook และเปิดบัญชี Twitter

แล้ว สื่อสารกับผู้ที่ชื่นชอบและผู้ที่ติดตามของคุณ โดยตั้งเป้าหมายให้มีผู้ชื่น ชอบและผู้ติดตามเพิ่มขึ้น คำถามที่มักจะตามมาคือ "แล้วเนื้อหาอะไรที่เพื่อนๆ ที่ชื่นชอบและติดตามคุณในสังคมออนไลน์สนใจล่ะ" เรามาพิจารณากันทีละประเด็นกัน
ประเด็นที่หนึ่ง คุณจะต้องสื่อสารกับพวกเขาด้วยเนื้อหาที่พวกเขาชอบและสนใจ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ต้องเกิดจากความสนใจร่วมกัน ถ้าไม่มีความสนใจร่วมกันแล้ว การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือสังคมก็ทำได้ยาก ในสังคมออนไลน์ก็เช่นกัน จากการวิจัยของ Constant Contact and Chadwick Martin Bailey Consumer Pulse ในปี พ.ศ. 2554 ระบุว่า ร้อยละ 61 ของเพื่อนที่คลิก “ชื่นชอบ” หรือ “Like” เป็นลูกค้าของแบรนด์นั้นอยู่แล้ว และร้อยละ 53 ต้องการรับส่วนลดและโปรโมชั่นจากแบรนด์นั้นๆ ด้วย

จึง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมพวกเขาถึงชื่นชอบและติดตามแบรนด์ของคุณ ดังนั้นเนื้อหาที่ดีที่จะสื่อสารกับเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์ก็จะไม่พ้นข้อเสนอดีๆ ส่วนลดพิเศษ โปรโมชั่นยิ่งเป็นสิทธิประโยชน์พิเศษ และเฉพาะสังคมออนไลน์คุณก็สามารถที่จะได้ใจเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น

ประเด็นที่สอง แล้วเราจะนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบไหนดี รูปแบบของสื่ออย่างไร ที่สามารถดึงความสนใจของพวกเขาได้ ถึงแม้ว่าคุณมีข้อเสนอหรือโปรโมชั่นที่ดีแล้วก็ตามหากคุณไม่มีรูปแบบการนำ เสนอที่ดี พวกเขาก็ไม่สนใจและก็ไม่ช่วยคุณแชร์ ไปยังเพื่อนของเขาจากการวิจัยของ Web Liquid ได้สรุปรูปแบบของสื่อที่เพื่อนในสังคมออนไลน์สนใจและมักจะแชร์ให้กับคนอื่นๆ ดังนี้ อันดับที่ 1 สื่อรูปภาพ 37% อันดับที่ 2 วีดิโอคลิป 31% อันดับที่ 3 ข้อความ 27% และอันดับที่ 4 ลิงค์ 15%

ประเด็นที่สาม ความถี่ในการสื่อสารกับเพื่อนๆ ที่ชื่นชอบและติดตาม โดยหลักการแล้วเราควรจะสื่อสารกับเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์ของคุณให้ถี่จนเป็นกิจวัตร แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป จนทำให้พวกเขารู้สึกรำคาญได้ แล้วปริมาณในการโพสต์หรือทวีตเท่าไรถึงจะเหมาะสม จริงแล้วอาจจะไม่มีคำตอบที่ตายตัวนะ มันขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่ติดตามหรือชื่นชอบของคุณด้วย

โดยเฉลี่ย แล้ว คุณอาจจะเริ่มต้นการโพสต์ใน Facebook ที่ 1-2 โพสต์ต่อวัน และทวีตใน Twitter ที่ 1-4 ทวีตต่อชั่วโมง ด้วยปริมาณการส่งข้อความขนาดนี้ คุณจะสามารถดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้

ประเด็นที่สี่ คุณจะต้องสื่อสารด้วยเนื้อหาที่สร้างการมีส่วนร่วมกับเพื่อนๆ ได้ ให้พวกเขามีความรู้สึกอยากที่คลิกชื่นชอบ อยากที่จะแสดงความคิดเห็น และอยากที่จะแชร์ต่อไปยังเพื่อนๆ ของเขา ดังนั้นเนื้อหาของคุณจะต้องมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายของคุณ มีพลังที่จะดึงดูดให้พวกเขาสนใจ มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีความชัดเจนในเป้าหมายของการสื่อสารนั้นๆ หรือ Calls-to-action ที่ชัดเจน

ลองพิจารณาใส่ข้อความเหล่านี้ดูนะครับมันอาจจะสร้างความ น่าสนใจให้กับเนื้อหาได้ เช่น “น่าสนใจ” “ขำๆ” “คลิกลิงค์นี้นะ” “ช่วย RT ด้วย” “คุณคิดว่าอย่างไร” เป็นต้น

ประเด็นสุดท้าย การมีส่วนร่วมกับผู้ที่ชื่นชอบและติดตามคุณ พวกเขาไม่ได้เพียงแค่อ่านข้อความและแชร์ข้อความของคุณเท่านั้น แต่พวกเขาต้องการสนทนากับคุณ การได้รับความสนใจหรือการสนทนาด้วยจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ดี มากยิ่งขึ้น คุณจะต้องสนทนาด้วยความจริงใจอย่าขายของมากจนเกินไปหลีกเลี่ยงการสนทนาด้วย การส่งข้อความโฆษณาพวกเขาจะพิจารณาข้อความของคุณเป็น Sapm ได้ คุณจะต้องมั่นพิจารณาความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ และอ่านข้อความของพวกเขาตลอดเวลาจากนั้น คุณจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมหรือกระตุ้นในการเกิดการสนทนาอย่างต่อเนื่อง

จาก การวิจัยของ InboxQ ในเดือนพฤษภาคม 2554 ระบุว่า ร้อยละ 60 จะชอบติดตามแบรนด์ที่ตอบคำถามของพวกเขาได้ ดังนั้น ถ้ามีคุณมีแต่เพียงเพจของ Facebook หรือ บัญชี Twitter และโพสต์ข้อความแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่สนใจการสนทนาของเพื่อนๆ คุณก็มีโอกาสที่ล้มเหลวในการตลาดสังคมออนไลน์ได้

คุณจะต้องสร้างการ สนทนาในสังคมออนไลน์ของคุณให้มากที่สุดแล้ว คุณจะได้เพื่อนที่ชื่นชอบและติดตามคุณมากขึ้น เพราะร้อยละ 64 ของเพื่อนที่ชื่นชอบหรือติดตามก็จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่พวกเขาติดตาม


ที่มา http://www.bangkokbiznews.com

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

“อีบุ๊ค” เทรนด์โลกที่ห้ามตกขบวน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง


ท่าม กลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว จนทำบางธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต้องล้มหายไปจากสมรภูมิทางธุรกิจ ดังมีตัวอย่างจากการปิดตัวลงของเครือร้านหนังสือ "บอร์เดอร์ส"

เล สลี่ ฮัลส์ รองประธานอาวุโส แผนกพัฒนาดิจิทัล บริษัท ฮาร์เปอร์ คอลินส์ พับลิชเชอร์ สำนักพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษชั้นนำของโลก กล่าวว่า แนวโน้มการอ่านอีบุ๊คในสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีจำนวนมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา  ปัจจุบันรายได้ของสำนักพิมพ์ทั่วโลกมีสัดส่วนของอีบุ๊คเป็น 20% ในปัจจุบัน

การ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการที่สำนักพิมพ์ต่างๆ เริ่มป้อนคอนเทนท์สู่ตลาดมากยิ่งขึ้น เพิ่มความหลากหลายของสินค้าเหมือนกับร้านหนังสือ เช่นเดียวกันจำนวนแทบเล็ตที่ได้รับนิยมอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยดังกล่าวเป็นตัวเร่งให้สัดส่วนรายได้จากอีบุ๊คเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้วยข้อได้เปรียบของอีบุ๊ค ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่านสามารถซื้อได้เพียงปลายนิ้วคลิก สามารถอ่านหนังสือที่ต้องการได้จากการดาวน์โหลดเพียงไม่กี่วินาที อีกทั้งอีบุ๊คสามารถรองรับอุปกรณ์ในหลายระบบ หนังสือระดับเบสท์เซลเลอร์ต่างออกเวอร์ชั่นอีบุ๊ค ทำให้ความนิยมจึงเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงนี้

สอด คล้องกับข้อมูลการวิจัยจากนีลเส็น พบว่า พฤติกรรมการใช้แทบเล็ตของเจ้าของ มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อหนังสือเป็นอันดับที่ 2 รองจากการดาวน์โหลดเพลง

พบว่าอีกปัจจัยที่ทำให้อีบุ๊ค ได้รับความนิยมมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาและยุโรป คือ “โครงสร้างราคา” ที่ถูกกว่า เนื่องจากไม่มีต้นทุนด้านการพิมพ์ ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียในระบบห่วงโซ่ธุรกิจหนังสือลดลงไป จากเดิมที่ประกอบด้วย ผู้ผลิตคอนเทนท์ ผู้พัฒนาระบบ ผู้รวบรวมคอนเทนท์ โรงงานผู้ผลิต ร้านค้าปลีกและกระจายสินค้า ซึ่งสามารถตัดโรงงานผู้ผลิตออกไปจากห่วงโซ่ดังกล่าว และอนาคตจะมีองค์ประกอบลดลงเรื่อยๆ  โดยคงเหลือเพียงเจ้าของคอนเทนท์และผู้รวบรวมคอนเทนท์

นอกจากนี้ โครงสร้างการจัดจำหน่ายที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมเป็นระบบ “รีเซลเลอร์” ที่ต้องแบ่งเค้กรายได้ 3 ส่วน ได้แก่ สำนักพิมพ์ 50% ผู้กระจายสินค้า 8% และร้านค้าปลีกหนังสือ 42% ซึ่งโมเดลนี้ร้านค้าปลีกหนังสือเป็นผู้กำหนดราคา ขณะที่ระบบอีบุ๊คจะ มีลักษณะการจำหน่ายผ่าน “เอเยนซี” ได้แก่ คินเดิล ไอทูน หรือแอนดรอยด์ ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ต่ำกว่ารูปแบบเล่ม แต่สัดส่วนรายได้ของสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 70% และเอเยนซีอีก 30% โดยสำนักพิมพ์เป็นผู้กำหนดราคาหนังสือ โดยจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้กับเอเยนซี

แม้แนวโน้มของอีบุ๊คจะ ค่อนข้างสดใส แต่ก็ยังคงมีความท้าทายตลอดมา โดยเฉพาะปัญหา “การละเมิดลิขสิทธิ์” ที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในการพิจารณานำคอนเทนท์ลงสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกาใต้ ที่มีปัญหาการละเมิดสูง

ทั้งนี้ ไม่ว่าหนังสือเล่มหรืออีบุ๊ค ล้วนได้รับผลกระทบจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น ดังตัวอย่างหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เพิ่งเปิดขายในเวอร์ชั่นอีบุ๊ค เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการนำรูปเล่มไปสแกนและแจกจ่ายบนอิน เทอร์เน็ต อีกนัยหนึ่งก็แสดงพฤติกรรมเชิงลึกของผู้อ่านส่วนหนึ่งที่มีความต้องการอ่าน บนแทบเล็ต เนื่องจากไม่ต้องการถือรูปเล่มที่มีน้ำหนักมาก

ขณะเดียว กัน ก็มีความพยายามในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ต้นน้ำด้วยระบบ HTML5 จากเดิมที่ป้องกันเพียงปลายน้ำด้วยการใช้ระบบ DRM : Digital Right Management เท่านั้น

สิ่งที่ท้าทายสำคัญอีกประการ คือ การสร้างสรรค์อีบุ๊คใน รูปแบบใหม่ ที่สนองความต้องการของผู้อ่านได้จริง โดยเฉพาะหนังสือเด็กที่ต้องเพิ่มฟังก์ชัน "มัลติมีเดีย" การใช้งานเสียงและวีดิโอประกอบไปพร้อมกัน ทั้งยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้ถึงมือผู้อ่านได้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในการจัดตั้งทีมวิจัยและพัฒนาในองค์กรที่ยังมีแนวคิดแบบดั้งเดิม

ประเทศในเอเชียที่มีแนวโน้มการอ่านอีบุ๊คในอัตราที่สูงขึ้น ได้แก่ เกาหลีใต้ โดยผู้แทนของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือ จากเกาหลีใต้ ระบุว่า อีบุ๊คได้ รับความนิยมมากขึ้น โดยมี “สมาร์ทโฟน” เป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมหนังสือ เนื่องจากจำนวนประชากรทั้งหมด 15 ล้านคน เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนแล้ว 12 ล้านเครื่อง ซึ่งในปีที่ผ่านมา สามารถขายอีบุ๊คได้ถึง 1 ล้านก๊อบปี้ และด้วยตัวเลขดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของธุรกิจหนังสือในเกาหลีใต้


แสงวิทย์ เกวลีวงศ์ศธร
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

Apple เปิดตัว The New iPad 3 แล้ว

หลังจากที่สาวกแอปเปิ้ลตั้งหน้าตั้งตารอกันมานาน ล่าสุด แอปเปิ้ลก็ได้เปิดตัวแท็บเล็ต iPad รุ่นใหม่ ออกมาให้ชื่นชมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และแน่นอนว่า iPad รุ่นใหม่ตัวนี้ มาพร้อมคุณสมบัติที่เรียกว่าไม่ทำให้ผิดหวัง สมกับที่ใครหลายคนตั้งตารอกันเลยทีเดียว



          เมื่อช่วงดึกของวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมาตามเวลาประเทศ ไทย แอปเปิ้ล ผู้ผลิตเทคโนโลยีตระกูล i ได้เปิดตัวแท็บเล็ตรุ่นล่าสุด The New iPad (iPad 3) ที่ มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับ iPad 2 แทบจะทุกประการ แต่มาพร้อมหน้าจอและกล้องที่ชัดขึ้น รองรับเครือข่าย 4G LTE และใช้เป็น Hot Spot ได้ แถมยังมีแอพพลิเคชั่นภาพถ่ายที่น่าสนใจอย่าง "iPhoto" อีกด้วย

          สำหรับรายละเอียดสเปคที่โดดเด่นของตัวเครื่องนั้น The New iPad ตัวนี้มาพร้อมกับหน้าจอแบบ Ratina Display ที่มีความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 2048 x 1536 พิกเซล ซึ่งชัดกว่า iPad 2 ถึง 4 เท่า และละเอียดกว่าความละเอียดระดับ HDTV เสียอีก ส่วนหน่วยประมวลผลนั้น ใช้ชิพ Apple A5X ซึ่งเป็นชิพเซ็ทแบบ Dual-core Processor และระบบประมวลผลภาพ หรือ GPU นั้น เป็นชิพเซ็ทระดับ Quad-core Processor



          มาดูเรื่องของกล้องกันบ้าง iPad เวอร์ชั่นใหม่นี้มีการพัฒนาความละเอียดของกล้องด้านหลังให้ อยู่ที่ 5 ล้านพิกเซล ซึ่งสามารถบันทึกวิดีโอแบบ Full HD ได้สบาย และเลนส์เป็นเซ็นเซอร์แบบ Backside illumination sensor ที่ให้ภาพที่คมชัดไม่ว่าจะอยู่ในภาวะแสงจ้าหรือแสงน้อยก็ตาม แถมยังมีแอพพลิเคชั่นภาพถ่าย iPhoto ให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งภาพถ่ายได้อย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส งานนี้ไม่ต้องใช้ทักษะด้านโฟโต้ชอปเลยก็สามารถทำได้

          ส่วนความสามารถด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น The New iPad ได้ถูกพัฒนาให้สามารถรองรับเครือข่าย 4G LTE ที่สามารถดาวน์โหลดได้เร็วถึง 73 Mbps และยังรองรับเครือข่าย GSM/UMTS ที่สามารถใช้งานได้ทั่วโลก และที่โดดเด่นมาก ๆ ก็คือ มันสามารถใช้เป็น Hot Spot ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้ว โดยสามารถเชื่อมต่อได้ผ่านทาง Wi-Fi, Bluetooth หรือ USB

          นอกจากนี้ The New iPad ยังมาพร้อมกับฟังก์ชั่น Dictation ที่จะทำหน้าที่พิมพ์แทนผู้ใช้ โดยมีวิธีใช้งานง่าย ๆ เพียงแค่ผู้ใช้กดปุ่ม Dictation แล้วพูด ระบบก็จะทำการพิมพ์ให้โดยอัตโนมัติ

          ส่วนราคาของ The New iPad ตัวนี้ แบ่งเป็น 2 รุ่น คือรุ่น Wi-Fi และรุ่น Wi-Fi + 4G ราคาเป็นดังต่อไปนี้

          รุ่น Wi-Fi :  16GB ราคา 15,900 บาท, 32 GB ราคา 18,900 บาท, และ 64 GB ราคา 21,900 บาท
          รุ่น Wi-Fi + 4G : 16GB ราคา 19,900 บาท, 32 GB ราคา 22,900 บาท, และ 64 GB ราคา 25,900 บาท

          และแน่นอนว่า เมื่อมีการเปิดตัว iPad รุ่นใหม่แล้ว iPad รุ่นก่อนหน้านี้ก็จะถูกปรับราคาลดลงตามธรรมเนียม โดย iPad 2 จะปรับราคาลงอีก 3,000 บาท เหลืออยู่ที่ราว ๆ 12,900 บาท

          อย่างไรก็ดี ใครที่อยากจะได้ The New iPad มาครอบครอง เห็นทีว่าจะต้องรอกันนานสักหน่อย เพราะทางแอปเปิ้ลไม่มีการกำหนดวันจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ขณะที่ในประเทศแถบยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่นและสิงคโปร์นั้น มีกำหนดวางจำหน่ายในวันที่ 16 มีนาคมนี้แล้ว

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก apple.com

สาวงามดับเบิ้ลเอ