กูนาเซการาน ซินเวีย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการแห่งสิงคโปร์ บอกว่า สิงคโปร์มีการริเริ่มใช้เทคโนโลยี
เข้า
มาเป็นส่วนหนึ่งสำคัญในการศึกษาเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา
โดยคาดหวังให้มีการร่วมมือการใช้งานอย่างเป็นระบบ เกิดความคิดสร้างสรรค์
เพิ่มพูนความสามารถของนักเรียน ด้วยการเรียนรู้ด้วยตัวเองตลอดเวลา
ซึ่งในระยะแรกการพัฒนาดังกล่าว ต้องประสบปัญหาล้มลุกคลุกคลานอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะปัญหา "การปรับตัวไม่ทัน" ของทั้งนักเรียนและครูผู้สอน
ทำให้เกิดการช็อกกับวัฒนธรรมใหม่การศึกษาใหม่ๆ (Culture Shock)
อย่าง
ไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการผลิต "คอนเทนท์" ในรูปแบบดิจิทัลที่จะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ
ขณะเดียวกันยังควรส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนท์บทเรียนใน
รูปแบบใหม่ อาจเป็นเกมหรือมัลติมีเดีย
เพื่อทดสอบความเข้าใจในบทเรียนและจะทำให้นักเรียนจำเนื้อหาได้อย่างยั่งยืน
สามารถต่อยอดคอนเทนท์ บูรณาการสู่เนื้อหาวิชาอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดการแชร์ต่อ สร้างอุปนิสัย "การเรียนรู้ด้วยตัวเอง" ตลอดชีวิต
เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ
ในสิงคโปร์มี
"สถาบันแห่งเทคโนโลยีการศึกษา" (Institute o Technical Education)
ในการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี
เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนได้รับทักษะการเรียนรู้และคุณค่า
อันส่งผลต่อการจ้างงานและอุปนิสัยในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ด้วยการส่งเสริมดังกล่าว มีการสร้าง "ศูนย์ออกแบบมัลติมีเดีย" อย่างครบวงจร
นักเรียนสามารถใช้ศูนย์นี้
เพื่อเรียนรู้และสร้างสรรค์คอนเทนท์โดยใช้อุปกรณ์เครื่องมือทั้งซอฟต์แวร์
และฮาร์ดแวร์ได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะ "เเทบเล็ต"
ที่ตอบสนองรูปแบบพฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่ ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา
(iGeneration) ซึ่งจากการส่งเสริมดังกล่าว
ทำให้นักเรียนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศทางด้านวิชาการจากเวทีระดับนานาชาติ
ได้
"เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม
ตามนโยบายเเทบเล็ตของรัฐบาลไทย หากระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ครอบคลุมพอ
นักการศึกษาก็ควรสร้างเทเลโปรแกรมเพื่อรองรับเด็กๆ กลุ่มนี้ด้วย"
กูนาเซการาน กล่าว
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น