วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

“อีบุ๊ค” เทรนด์โลกที่ห้ามตกขบวน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง


ท่าม กลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว จนทำบางธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต้องล้มหายไปจากสมรภูมิทางธุรกิจ ดังมีตัวอย่างจากการปิดตัวลงของเครือร้านหนังสือ "บอร์เดอร์ส"

เล สลี่ ฮัลส์ รองประธานอาวุโส แผนกพัฒนาดิจิทัล บริษัท ฮาร์เปอร์ คอลินส์ พับลิชเชอร์ สำนักพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษชั้นนำของโลก กล่าวว่า แนวโน้มการอ่านอีบุ๊คในสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีจำนวนมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา  ปัจจุบันรายได้ของสำนักพิมพ์ทั่วโลกมีสัดส่วนของอีบุ๊คเป็น 20% ในปัจจุบัน

การ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการที่สำนักพิมพ์ต่างๆ เริ่มป้อนคอนเทนท์สู่ตลาดมากยิ่งขึ้น เพิ่มความหลากหลายของสินค้าเหมือนกับร้านหนังสือ เช่นเดียวกันจำนวนแทบเล็ตที่ได้รับนิยมอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยดังกล่าวเป็นตัวเร่งให้สัดส่วนรายได้จากอีบุ๊คเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้วยข้อได้เปรียบของอีบุ๊ค ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่านสามารถซื้อได้เพียงปลายนิ้วคลิก สามารถอ่านหนังสือที่ต้องการได้จากการดาวน์โหลดเพียงไม่กี่วินาที อีกทั้งอีบุ๊คสามารถรองรับอุปกรณ์ในหลายระบบ หนังสือระดับเบสท์เซลเลอร์ต่างออกเวอร์ชั่นอีบุ๊ค ทำให้ความนิยมจึงเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงนี้

สอด คล้องกับข้อมูลการวิจัยจากนีลเส็น พบว่า พฤติกรรมการใช้แทบเล็ตของเจ้าของ มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อหนังสือเป็นอันดับที่ 2 รองจากการดาวน์โหลดเพลง

พบว่าอีกปัจจัยที่ทำให้อีบุ๊ค ได้รับความนิยมมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาและยุโรป คือ “โครงสร้างราคา” ที่ถูกกว่า เนื่องจากไม่มีต้นทุนด้านการพิมพ์ ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียในระบบห่วงโซ่ธุรกิจหนังสือลดลงไป จากเดิมที่ประกอบด้วย ผู้ผลิตคอนเทนท์ ผู้พัฒนาระบบ ผู้รวบรวมคอนเทนท์ โรงงานผู้ผลิต ร้านค้าปลีกและกระจายสินค้า ซึ่งสามารถตัดโรงงานผู้ผลิตออกไปจากห่วงโซ่ดังกล่าว และอนาคตจะมีองค์ประกอบลดลงเรื่อยๆ  โดยคงเหลือเพียงเจ้าของคอนเทนท์และผู้รวบรวมคอนเทนท์

นอกจากนี้ โครงสร้างการจัดจำหน่ายที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมเป็นระบบ “รีเซลเลอร์” ที่ต้องแบ่งเค้กรายได้ 3 ส่วน ได้แก่ สำนักพิมพ์ 50% ผู้กระจายสินค้า 8% และร้านค้าปลีกหนังสือ 42% ซึ่งโมเดลนี้ร้านค้าปลีกหนังสือเป็นผู้กำหนดราคา ขณะที่ระบบอีบุ๊คจะ มีลักษณะการจำหน่ายผ่าน “เอเยนซี” ได้แก่ คินเดิล ไอทูน หรือแอนดรอยด์ ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ต่ำกว่ารูปแบบเล่ม แต่สัดส่วนรายได้ของสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 70% และเอเยนซีอีก 30% โดยสำนักพิมพ์เป็นผู้กำหนดราคาหนังสือ โดยจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้กับเอเยนซี

แม้แนวโน้มของอีบุ๊คจะ ค่อนข้างสดใส แต่ก็ยังคงมีความท้าทายตลอดมา โดยเฉพาะปัญหา “การละเมิดลิขสิทธิ์” ที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในการพิจารณานำคอนเทนท์ลงสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกาใต้ ที่มีปัญหาการละเมิดสูง

ทั้งนี้ ไม่ว่าหนังสือเล่มหรืออีบุ๊ค ล้วนได้รับผลกระทบจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น ดังตัวอย่างหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เพิ่งเปิดขายในเวอร์ชั่นอีบุ๊ค เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการนำรูปเล่มไปสแกนและแจกจ่ายบนอิน เทอร์เน็ต อีกนัยหนึ่งก็แสดงพฤติกรรมเชิงลึกของผู้อ่านส่วนหนึ่งที่มีความต้องการอ่าน บนแทบเล็ต เนื่องจากไม่ต้องการถือรูปเล่มที่มีน้ำหนักมาก

ขณะเดียว กัน ก็มีความพยายามในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ต้นน้ำด้วยระบบ HTML5 จากเดิมที่ป้องกันเพียงปลายน้ำด้วยการใช้ระบบ DRM : Digital Right Management เท่านั้น

สิ่งที่ท้าทายสำคัญอีกประการ คือ การสร้างสรรค์อีบุ๊คใน รูปแบบใหม่ ที่สนองความต้องการของผู้อ่านได้จริง โดยเฉพาะหนังสือเด็กที่ต้องเพิ่มฟังก์ชัน "มัลติมีเดีย" การใช้งานเสียงและวีดิโอประกอบไปพร้อมกัน ทั้งยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้ถึงมือผู้อ่านได้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในการจัดตั้งทีมวิจัยและพัฒนาในองค์กรที่ยังมีแนวคิดแบบดั้งเดิม

ประเทศในเอเชียที่มีแนวโน้มการอ่านอีบุ๊คในอัตราที่สูงขึ้น ได้แก่ เกาหลีใต้ โดยผู้แทนของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือ จากเกาหลีใต้ ระบุว่า อีบุ๊คได้ รับความนิยมมากขึ้น โดยมี “สมาร์ทโฟน” เป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมหนังสือ เนื่องจากจำนวนประชากรทั้งหมด 15 ล้านคน เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนแล้ว 12 ล้านเครื่อง ซึ่งในปีที่ผ่านมา สามารถขายอีบุ๊คได้ถึง 1 ล้านก๊อบปี้ และด้วยตัวเลขดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของธุรกิจหนังสือในเกาหลีใต้


แสงวิทย์ เกวลีวงศ์ศธร
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/

1 ความคิดเห็น:

สาวงามดับเบิ้ลเอ