มีข่าวน่าสนใจมาฝากกันแบบสบายๆในช่วงสงกรานต์ กับการสำรวจความนิยมในการรับข่าวสารของชาวอเมริกัน แสดงให้เห็นว่า ข่าวท้องถิ่นเป็นเรื่องใกล้ตัว และเป็นเรื่องที่หลายๆคนสนใจ โดยผู้รับข่าวความคิดว่า ข่าวท้องถิ่นกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขามากกว่าข่าวทั่วไป
ชาวอเมริกันให้ความเห็นว่า ข่าวบน Social Media และการเชื่อมโยงข่าวบนโลกดิจิตอลไม่ได้มีความสำคัญกับพวกเขามากเท่าข่าวท้องถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขามากกว่า
มีการเผยแพร่จากรายงานของ Pew Internet & American Life Project ว่า คนอเมริกันส่วนใหญ่มีการติดตามข่าวท้องถิ่นโดยแทบจะทุกช่วงอายุ มีความสนใจข่าวท้องถิ่น แต่หากเป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็เสพย์ติดข่าวท้องถิ่นมากกว่า
สำหรับหนุ่มสาวที่มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 39 ปี ถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่ติดตามข่าวท้องถิ่น โดยมีค่าเฉลี่ยในการติดตามข่าวที่ 4.38 ต่อสัปดาห์
ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี กว่า 80 เปอร์เซนต์รับข่าวสารจากโทรทัศน์ ในขณะที่กว่าครึ่งของผู้ใหญ่ที่สำรวจพบว่าติดตามข่าวแบบ Word of Mouth จากวิทยุหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น นอกจากนี้ พวกเขายังนิยมอ่านและพูดคุยกันเกี่ยวกับสังคมของพวกเขา และยังใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตด้วย
ส่วนการติดตามข่าวของหนุ่มสาว น่าแปลกใจที่ใช้สื่อแบบ Word of Mouth เพื่อติดตามข่าวในท้องถิ่นของตน และเรื่องราวที่น่าติดตาม ส่วนวัยที่ชอบท่องเน็ตก็ใช้อินเตอร์เน็ต Search Engine อ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ และโซเชียล เน็ตเวิร์ก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ข่าวท้องถิ่นเป็นข่าวที่น่าติดตามสำหรับชุมชนต่างๆ จะเป็นที่สนใจของผู้ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนนั้นๆมากกว่า 20 ปี
แต่ไม่ใช่ว่า ติดตามข่าวท้องถิ่นแล้วจะไม่ติดตามข่าวอื่นๆเลย เพราะกลุ่มคนที่ติดตามข่าวท้องถิ่น ประมาณ 63% หรือ 6 ใน 10 ของคนเสพย์ข่าวท้องถิ่น ติดตามข่าวทั่วไป หมายถึงข่าวในประเทศและข่าวต่างประเทศ ในขณะที่ 78% ติดตามข่าวในประเทศ หนึ่งในสามของผู้เสพย์ข่าวท้องถิ่นมักติดตามข่าวจากสื่อในท้องถิ่น
ทาง Pew ได้รายงานเพิ่มเติมว่า ข่าวท้องถิ่นก็ยังรายงานไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ผู้ติดตามข่าวก็ต้องติดตามข่าวจากสื่่อหลายประเภทด้วยเช่นกัน รวมไปถึงพูดคุยกับผู้คนในชุมชนเพื่อรับข่าวสารเพิ่มเติม ตอนนี้คนอเมริกันรับข่าวสารท้องถิ่นทั้งจากออนไลน์และสิ่งพิมพ์ และอย่างน้อย ข่าวที่กระทบต่อการใช้ชีวิตมาจากข่าวด่วน ข่าวการเมือง อาญชกรรม ธุรกิจ สถานศึกษา และการศึกษา
เรื่องนี้เอามาบอกเล่าให้เห็นภาพว่า อย่างไรก็ตาม ข่าวท้องถิ่นก็ยังมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และเราจะปิดหูปิดตาไม่ทราบข่าวท้องถิ่นก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข่าวออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์
ข้อมูลจาก Mashable
ที่มา it24hrs.com
รวบรวมข่าวไอที:นวัตกรรม :เทคโนโลยี
webaraidee
จัดทำ Blog เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ให้กับอีกหลายๆ คนได้เรียนรู้ไปพร้อมด้วย ไม่ว่าจะเป็นบทความ สื่อมัลติมีเดีย ข่าวเหตุการณ์สำคัญและเทคโนโลยีต่างๆ
วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555
ปรากฎการณ์วลีฮิตติดปากบนโลกออนไลน์ยุคใหม่ “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่”
ข่าวเดือนเมษายน 2555 มีปรากฎการณ์วลีฮิตติดปากบนโลก Social Network แบบไทยๆอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้วลีฮิตคำว่า #จนกระทั่งโดนธนูปักที่เข่า เมื่อปลายปีที่แล้ว มาคราวนี้วลีที่พูดถึงบ่อยสุดตลอดเมื่อช่วงค่ำคืนวานนี้จนถึงตอนนี้ คงไม่พ้นกระแสฮิตคำว่า “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่”
จากคลิปที่มีวลีนี้ตอนท้ายแบบชัดๆบน youtube ซึ่งเปิด public ให้คนทั่วไปชมได้ และแชร์ผ่านทาง facebook และ twitter เป็นวงกว้างนี้เอง ทำให้เกิดปรากฎการณ์ส่งคลิปนี้ต่อ และรวมถึงการโพสแสดงความคิดเห็นบนบอร์ดต่างๆ จนทำให้เกิดวลีฮิตในช่วงข้ามคืน “เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่” อย่างกว้างขวาง และมีปรากฎการณ์พูดถึงมากมาย ไม่เว้นแม้แต่ในข่าวโทรทัศน์
จนกระทั่งมีการก่อตั้ง facebook page ใหม่ เกี่ยวกับครูอังคณา มากมายเหลือเกินจริงๆ ในขณะที่แฟนเพจหลักตามกระแส เรื่องนี้ถึงครูอังคณาแน่ ก็มีคนกดถูกใจไปกว่า 24000 รายแล้ว หรืออาจจะมากว่านี้
ข้อมูลบางส่วนจาก thaitrend , facebook
it24hrs.com
บทเรียนจากสิงคโปร์..'คัลเจอร์ช็อก ก่อนใช้'
กูนาเซการาน ซินเวีย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการแห่งสิงคโปร์ บอกว่า สิงคโปร์มีการริเริ่มใช้เทคโนโลยี
เข้า มาเป็นส่วนหนึ่งสำคัญในการศึกษาเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา โดยคาดหวังให้มีการร่วมมือการใช้งานอย่างเป็นระบบ เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มพูนความสามารถของนักเรียน ด้วยการเรียนรู้ด้วยตัวเองตลอดเวลา ซึ่งในระยะแรกการพัฒนาดังกล่าว ต้องประสบปัญหาล้มลุกคลุกคลานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหา "การปรับตัวไม่ทัน" ของทั้งนักเรียนและครูผู้สอน ทำให้เกิดการช็อกกับวัฒนธรรมใหม่การศึกษาใหม่ๆ (Culture Shock)
อย่าง ไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิต "คอนเทนท์" ในรูปแบบดิจิทัลที่จะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ ขณะเดียวกันยังควรส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนท์บทเรียนใน รูปแบบใหม่ อาจเป็นเกมหรือมัลติมีเดีย เพื่อทดสอบความเข้าใจในบทเรียนและจะทำให้นักเรียนจำเนื้อหาได้อย่างยั่งยืน สามารถต่อยอดคอนเทนท์ บูรณาการสู่เนื้อหาวิชาอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการแชร์ต่อ สร้างอุปนิสัย "การเรียนรู้ด้วยตัวเอง" ตลอดชีวิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ
ในสิงคโปร์มี "สถาบันแห่งเทคโนโลยีการศึกษา" (Institute o Technical Education) ในการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนได้รับทักษะการเรียนรู้และคุณค่า อันส่งผลต่อการจ้างงานและอุปนิสัยในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการส่งเสริมดังกล่าว มีการสร้าง "ศูนย์ออกแบบมัลติมีเดีย" อย่างครบวงจร นักเรียนสามารถใช้ศูนย์นี้ เพื่อเรียนรู้และสร้างสรรค์คอนเทนท์โดยใช้อุปกรณ์เครื่องมือทั้งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะ "เเทบเล็ต" ที่ตอบสนองรูปแบบพฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่ ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (iGeneration) ซึ่งจากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้นักเรียนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศทางด้านวิชาการจากเวทีระดับนานาชาติ ได้
"เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม ตามนโยบายเเทบเล็ตของรัฐบาลไทย หากระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ครอบคลุมพอ นักการศึกษาก็ควรสร้างเทเลโปรแกรมเพื่อรองรับเด็กๆ กลุ่มนี้ด้วย" กูนาเซการาน กล่าว
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
เข้า มาเป็นส่วนหนึ่งสำคัญในการศึกษาเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา โดยคาดหวังให้มีการร่วมมือการใช้งานอย่างเป็นระบบ เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มพูนความสามารถของนักเรียน ด้วยการเรียนรู้ด้วยตัวเองตลอดเวลา ซึ่งในระยะแรกการพัฒนาดังกล่าว ต้องประสบปัญหาล้มลุกคลุกคลานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหา "การปรับตัวไม่ทัน" ของทั้งนักเรียนและครูผู้สอน ทำให้เกิดการช็อกกับวัฒนธรรมใหม่การศึกษาใหม่ๆ (Culture Shock)
อย่าง ไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิต "คอนเทนท์" ในรูปแบบดิจิทัลที่จะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ ขณะเดียวกันยังควรส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนท์บทเรียนใน รูปแบบใหม่ อาจเป็นเกมหรือมัลติมีเดีย เพื่อทดสอบความเข้าใจในบทเรียนและจะทำให้นักเรียนจำเนื้อหาได้อย่างยั่งยืน สามารถต่อยอดคอนเทนท์ บูรณาการสู่เนื้อหาวิชาอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการแชร์ต่อ สร้างอุปนิสัย "การเรียนรู้ด้วยตัวเอง" ตลอดชีวิต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ
ในสิงคโปร์มี "สถาบันแห่งเทคโนโลยีการศึกษา" (Institute o Technical Education) ในการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ผู้เรียนได้รับทักษะการเรียนรู้และคุณค่า อันส่งผลต่อการจ้างงานและอุปนิสัยในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการส่งเสริมดังกล่าว มีการสร้าง "ศูนย์ออกแบบมัลติมีเดีย" อย่างครบวงจร นักเรียนสามารถใช้ศูนย์นี้ เพื่อเรียนรู้และสร้างสรรค์คอนเทนท์โดยใช้อุปกรณ์เครื่องมือทั้งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะ "เเทบเล็ต" ที่ตอบสนองรูปแบบพฤติกรรมของเด็กรุ่นใหม่ ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (iGeneration) ซึ่งจากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้นักเรียนสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศทางด้านวิชาการจากเวทีระดับนานาชาติ ได้
"เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม ตามนโยบายเเทบเล็ตของรัฐบาลไทย หากระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ครอบคลุมพอ นักการศึกษาก็ควรสร้างเทเลโปรแกรมเพื่อรองรับเด็กๆ กลุ่มนี้ด้วย" กูนาเซการาน กล่าว
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
กลยุทธ์สร้างเนื้อหาให้น่าสนใจในสังคมออนไลน์ในเว็บไซต์
ผมเชื่อว่าหลายบริษัทเริ่มเข้าสู่การตลาดสังคมออนไลน์ ด้วยการสร้างเพจของ Facebook และเปิดบัญชี Twitter
แล้ว สื่อสารกับผู้ที่ชื่นชอบและผู้ที่ติดตามของคุณ โดยตั้งเป้าหมายให้มีผู้ชื่น ชอบและผู้ติดตามเพิ่มขึ้น คำถามที่มักจะตามมาคือ "แล้วเนื้อหาอะไรที่เพื่อนๆ ที่ชื่นชอบและติดตามคุณในสังคมออนไลน์สนใจล่ะ" เรามาพิจารณากันทีละประเด็นกัน
ประเด็นที่หนึ่ง คุณจะต้องสื่อสารกับพวกเขาด้วยเนื้อหาที่พวกเขาชอบและสนใจ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ต้องเกิดจากความสนใจร่วมกัน ถ้าไม่มีความสนใจร่วมกันแล้ว การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือสังคมก็ทำได้ยาก ในสังคมออนไลน์ก็เช่นกัน จากการวิจัยของ Constant Contact and Chadwick Martin Bailey Consumer Pulse ในปี พ.ศ. 2554 ระบุว่า ร้อยละ 61 ของเพื่อนที่คลิก “ชื่นชอบ” หรือ “Like” เป็นลูกค้าของแบรนด์นั้นอยู่แล้ว และร้อยละ 53 ต้องการรับส่วนลดและโปรโมชั่นจากแบรนด์นั้นๆ ด้วย
จึง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมพวกเขาถึงชื่นชอบและติดตามแบรนด์ของคุณ ดังนั้นเนื้อหาที่ดีที่จะสื่อสารกับเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์ก็จะไม่พ้นข้อเสนอดีๆ ส่วนลดพิเศษ โปรโมชั่นยิ่งเป็นสิทธิประโยชน์พิเศษ และเฉพาะสังคมออนไลน์คุณก็สามารถที่จะได้ใจเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่สอง แล้วเราจะนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบไหนดี รูปแบบของสื่ออย่างไร ที่สามารถดึงความสนใจของพวกเขาได้ ถึงแม้ว่าคุณมีข้อเสนอหรือโปรโมชั่นที่ดีแล้วก็ตามหากคุณไม่มีรูปแบบการนำ เสนอที่ดี พวกเขาก็ไม่สนใจและก็ไม่ช่วยคุณแชร์ ไปยังเพื่อนของเขาจากการวิจัยของ Web Liquid ได้สรุปรูปแบบของสื่อที่เพื่อนในสังคมออนไลน์สนใจและมักจะแชร์ให้กับคนอื่นๆ ดังนี้ อันดับที่ 1 สื่อรูปภาพ 37% อันดับที่ 2 วีดิโอคลิป 31% อันดับที่ 3 ข้อความ 27% และอันดับที่ 4 ลิงค์ 15%
ประเด็นที่สาม ความถี่ในการสื่อสารกับเพื่อนๆ ที่ชื่นชอบและติดตาม โดยหลักการแล้วเราควรจะสื่อสารกับเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์ของคุณให้ถี่จนเป็นกิจวัตร แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป จนทำให้พวกเขารู้สึกรำคาญได้ แล้วปริมาณในการโพสต์หรือทวีตเท่าไรถึงจะเหมาะสม จริงแล้วอาจจะไม่มีคำตอบที่ตายตัวนะ มันขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่ติดตามหรือชื่นชอบของคุณด้วย
โดยเฉลี่ย แล้ว คุณอาจจะเริ่มต้นการโพสต์ใน Facebook ที่ 1-2 โพสต์ต่อวัน และทวีตใน Twitter ที่ 1-4 ทวีตต่อชั่วโมง ด้วยปริมาณการส่งข้อความขนาดนี้ คุณจะสามารถดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้
ประเด็นที่สี่ คุณจะต้องสื่อสารด้วยเนื้อหาที่สร้างการมีส่วนร่วมกับเพื่อนๆ ได้ ให้พวกเขามีความรู้สึกอยากที่คลิกชื่นชอบ อยากที่จะแสดงความคิดเห็น และอยากที่จะแชร์ต่อไปยังเพื่อนๆ ของเขา ดังนั้นเนื้อหาของคุณจะต้องมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายของคุณ มีพลังที่จะดึงดูดให้พวกเขาสนใจ มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีความชัดเจนในเป้าหมายของการสื่อสารนั้นๆ หรือ Calls-to-action ที่ชัดเจน
ลองพิจารณาใส่ข้อความเหล่านี้ดูนะครับมันอาจจะสร้างความ น่าสนใจให้กับเนื้อหาได้ เช่น “น่าสนใจ” “ขำๆ” “คลิกลิงค์นี้นะ” “ช่วย RT ด้วย” “คุณคิดว่าอย่างไร” เป็นต้น
ประเด็นสุดท้าย การมีส่วนร่วมกับผู้ที่ชื่นชอบและติดตามคุณ พวกเขาไม่ได้เพียงแค่อ่านข้อความและแชร์ข้อความของคุณเท่านั้น แต่พวกเขาต้องการสนทนากับคุณ การได้รับความสนใจหรือการสนทนาด้วยจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ดี มากยิ่งขึ้น คุณจะต้องสนทนาด้วยความจริงใจอย่าขายของมากจนเกินไปหลีกเลี่ยงการสนทนาด้วย การส่งข้อความโฆษณาพวกเขาจะพิจารณาข้อความของคุณเป็น Sapm ได้ คุณจะต้องมั่นพิจารณาความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ และอ่านข้อความของพวกเขาตลอดเวลาจากนั้น คุณจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมหรือกระตุ้นในการเกิดการสนทนาอย่างต่อเนื่อง
จาก การวิจัยของ InboxQ ในเดือนพฤษภาคม 2554 ระบุว่า ร้อยละ 60 จะชอบติดตามแบรนด์ที่ตอบคำถามของพวกเขาได้ ดังนั้น ถ้ามีคุณมีแต่เพียงเพจของ Facebook หรือ บัญชี Twitter และโพสต์ข้อความแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่สนใจการสนทนาของเพื่อนๆ คุณก็มีโอกาสที่ล้มเหลวในการตลาดสังคมออนไลน์ได้
คุณจะต้องสร้างการ สนทนาในสังคมออนไลน์ของคุณให้มากที่สุดแล้ว คุณจะได้เพื่อนที่ชื่นชอบและติดตามคุณมากขึ้น เพราะร้อยละ 64 ของเพื่อนที่ชื่นชอบหรือติดตามก็จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่พวกเขาติดตาม
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
แล้ว สื่อสารกับผู้ที่ชื่นชอบและผู้ที่ติดตามของคุณ โดยตั้งเป้าหมายให้มีผู้ชื่น ชอบและผู้ติดตามเพิ่มขึ้น คำถามที่มักจะตามมาคือ "แล้วเนื้อหาอะไรที่เพื่อนๆ ที่ชื่นชอบและติดตามคุณในสังคมออนไลน์สนใจล่ะ" เรามาพิจารณากันทีละประเด็นกัน
ประเด็นที่หนึ่ง คุณจะต้องสื่อสารกับพวกเขาด้วยเนื้อหาที่พวกเขาชอบและสนใจ การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ต้องเกิดจากความสนใจร่วมกัน ถ้าไม่มีความสนใจร่วมกันแล้ว การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือสังคมก็ทำได้ยาก ในสังคมออนไลน์ก็เช่นกัน จากการวิจัยของ Constant Contact and Chadwick Martin Bailey Consumer Pulse ในปี พ.ศ. 2554 ระบุว่า ร้อยละ 61 ของเพื่อนที่คลิก “ชื่นชอบ” หรือ “Like” เป็นลูกค้าของแบรนด์นั้นอยู่แล้ว และร้อยละ 53 ต้องการรับส่วนลดและโปรโมชั่นจากแบรนด์นั้นๆ ด้วย
จึง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมพวกเขาถึงชื่นชอบและติดตามแบรนด์ของคุณ ดังนั้นเนื้อหาที่ดีที่จะสื่อสารกับเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์ก็จะไม่พ้นข้อเสนอดีๆ ส่วนลดพิเศษ โปรโมชั่นยิ่งเป็นสิทธิประโยชน์พิเศษ และเฉพาะสังคมออนไลน์คุณก็สามารถที่จะได้ใจเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่สอง แล้วเราจะนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบไหนดี รูปแบบของสื่ออย่างไร ที่สามารถดึงความสนใจของพวกเขาได้ ถึงแม้ว่าคุณมีข้อเสนอหรือโปรโมชั่นที่ดีแล้วก็ตามหากคุณไม่มีรูปแบบการนำ เสนอที่ดี พวกเขาก็ไม่สนใจและก็ไม่ช่วยคุณแชร์ ไปยังเพื่อนของเขาจากการวิจัยของ Web Liquid ได้สรุปรูปแบบของสื่อที่เพื่อนในสังคมออนไลน์สนใจและมักจะแชร์ให้กับคนอื่นๆ ดังนี้ อันดับที่ 1 สื่อรูปภาพ 37% อันดับที่ 2 วีดิโอคลิป 31% อันดับที่ 3 ข้อความ 27% และอันดับที่ 4 ลิงค์ 15%
ประเด็นที่สาม ความถี่ในการสื่อสารกับเพื่อนๆ ที่ชื่นชอบและติดตาม โดยหลักการแล้วเราควรจะสื่อสารกับเพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์ของคุณให้ถี่จนเป็นกิจวัตร แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป จนทำให้พวกเขารู้สึกรำคาญได้ แล้วปริมาณในการโพสต์หรือทวีตเท่าไรถึงจะเหมาะสม จริงแล้วอาจจะไม่มีคำตอบที่ตายตัวนะ มันขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่ติดตามหรือชื่นชอบของคุณด้วย
โดยเฉลี่ย แล้ว คุณอาจจะเริ่มต้นการโพสต์ใน Facebook ที่ 1-2 โพสต์ต่อวัน และทวีตใน Twitter ที่ 1-4 ทวีตต่อชั่วโมง ด้วยปริมาณการส่งข้อความขนาดนี้ คุณจะสามารถดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้
ประเด็นที่สี่ คุณจะต้องสื่อสารด้วยเนื้อหาที่สร้างการมีส่วนร่วมกับเพื่อนๆ ได้ ให้พวกเขามีความรู้สึกอยากที่คลิกชื่นชอบ อยากที่จะแสดงความคิดเห็น และอยากที่จะแชร์ต่อไปยังเพื่อนๆ ของเขา ดังนั้นเนื้อหาของคุณจะต้องมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายของคุณ มีพลังที่จะดึงดูดให้พวกเขาสนใจ มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีความชัดเจนในเป้าหมายของการสื่อสารนั้นๆ หรือ Calls-to-action ที่ชัดเจน
ลองพิจารณาใส่ข้อความเหล่านี้ดูนะครับมันอาจจะสร้างความ น่าสนใจให้กับเนื้อหาได้ เช่น “น่าสนใจ” “ขำๆ” “คลิกลิงค์นี้นะ” “ช่วย RT ด้วย” “คุณคิดว่าอย่างไร” เป็นต้น
ประเด็นสุดท้าย การมีส่วนร่วมกับผู้ที่ชื่นชอบและติดตามคุณ พวกเขาไม่ได้เพียงแค่อ่านข้อความและแชร์ข้อความของคุณเท่านั้น แต่พวกเขาต้องการสนทนากับคุณ การได้รับความสนใจหรือการสนทนาด้วยจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ดี มากยิ่งขึ้น คุณจะต้องสนทนาด้วยความจริงใจอย่าขายของมากจนเกินไปหลีกเลี่ยงการสนทนาด้วย การส่งข้อความโฆษณาพวกเขาจะพิจารณาข้อความของคุณเป็น Sapm ได้ คุณจะต้องมั่นพิจารณาความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ และอ่านข้อความของพวกเขาตลอดเวลาจากนั้น คุณจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมหรือกระตุ้นในการเกิดการสนทนาอย่างต่อเนื่อง
จาก การวิจัยของ InboxQ ในเดือนพฤษภาคม 2554 ระบุว่า ร้อยละ 60 จะชอบติดตามแบรนด์ที่ตอบคำถามของพวกเขาได้ ดังนั้น ถ้ามีคุณมีแต่เพียงเพจของ Facebook หรือ บัญชี Twitter และโพสต์ข้อความแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่สนใจการสนทนาของเพื่อนๆ คุณก็มีโอกาสที่ล้มเหลวในการตลาดสังคมออนไลน์ได้
คุณจะต้องสร้างการ สนทนาในสังคมออนไลน์ของคุณให้มากที่สุดแล้ว คุณจะได้เพื่อนที่ชื่นชอบและติดตามคุณมากขึ้น เพราะร้อยละ 64 ของเพื่อนที่ชื่นชอบหรือติดตามก็จะซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่พวกเขาติดตาม
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555
“อีบุ๊ค” เทรนด์โลกที่ห้ามตกขบวน มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
ท่าม กลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว จนทำบางธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต้องล้มหายไปจากสมรภูมิทางธุรกิจ ดังมีตัวอย่างจากการปิดตัวลงของเครือร้านหนังสือ "บอร์เดอร์ส"
เล สลี่ ฮัลส์ รองประธานอาวุโส แผนกพัฒนาดิจิทัล บริษัท ฮาร์เปอร์ คอลินส์ พับลิชเชอร์ สำนักพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษชั้นนำของโลก กล่าวว่า แนวโน้มการอ่านอีบุ๊คในสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีจำนวนมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันรายได้ของสำนักพิมพ์ทั่วโลกมีสัดส่วนของอีบุ๊คเป็น 20% ในปัจจุบัน
การ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการที่สำนักพิมพ์ต่างๆ เริ่มป้อนคอนเทนท์สู่ตลาดมากยิ่งขึ้น เพิ่มความหลากหลายของสินค้าเหมือนกับร้านหนังสือ เช่นเดียวกันจำนวนแทบเล็ตที่ได้รับนิยมอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยดังกล่าวเป็นตัวเร่งให้สัดส่วนรายได้จากอีบุ๊คเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้วยข้อได้เปรียบของอีบุ๊ค ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่านสามารถซื้อได้เพียงปลายนิ้วคลิก สามารถอ่านหนังสือที่ต้องการได้จากการดาวน์โหลดเพียงไม่กี่วินาที อีกทั้งอีบุ๊คสามารถรองรับอุปกรณ์ในหลายระบบ หนังสือระดับเบสท์เซลเลอร์ต่างออกเวอร์ชั่นอีบุ๊ค ทำให้ความนิยมจึงเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงนี้
สอด คล้องกับข้อมูลการวิจัยจากนีลเส็น พบว่า พฤติกรรมการใช้แทบเล็ตของเจ้าของ มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อหนังสือเป็นอันดับที่ 2 รองจากการดาวน์โหลดเพลง
พบว่าอีกปัจจัยที่ทำให้อีบุ๊ค ได้รับความนิยมมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาและยุโรป คือ “โครงสร้างราคา” ที่ถูกกว่า เนื่องจากไม่มีต้นทุนด้านการพิมพ์ ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียในระบบห่วงโซ่ธุรกิจหนังสือลดลงไป จากเดิมที่ประกอบด้วย ผู้ผลิตคอนเทนท์ ผู้พัฒนาระบบ ผู้รวบรวมคอนเทนท์ โรงงานผู้ผลิต ร้านค้าปลีกและกระจายสินค้า ซึ่งสามารถตัดโรงงานผู้ผลิตออกไปจากห่วงโซ่ดังกล่าว และอนาคตจะมีองค์ประกอบลดลงเรื่อยๆ โดยคงเหลือเพียงเจ้าของคอนเทนท์และผู้รวบรวมคอนเทนท์
นอกจากนี้ โครงสร้างการจัดจำหน่ายที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมเป็นระบบ “รีเซลเลอร์” ที่ต้องแบ่งเค้กรายได้ 3 ส่วน ได้แก่ สำนักพิมพ์ 50% ผู้กระจายสินค้า 8% และร้านค้าปลีกหนังสือ 42% ซึ่งโมเดลนี้ร้านค้าปลีกหนังสือเป็นผู้กำหนดราคา ขณะที่ระบบอีบุ๊คจะ มีลักษณะการจำหน่ายผ่าน “เอเยนซี” ได้แก่ คินเดิล ไอทูน หรือแอนดรอยด์ ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ต่ำกว่ารูปแบบเล่ม แต่สัดส่วนรายได้ของสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 70% และเอเยนซีอีก 30% โดยสำนักพิมพ์เป็นผู้กำหนดราคาหนังสือ โดยจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้กับเอเยนซี
แม้แนวโน้มของอีบุ๊คจะ ค่อนข้างสดใส แต่ก็ยังคงมีความท้าทายตลอดมา โดยเฉพาะปัญหา “การละเมิดลิขสิทธิ์” ที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในการพิจารณานำคอนเทนท์ลงสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกาใต้ ที่มีปัญหาการละเมิดสูง
ทั้งนี้ ไม่ว่าหนังสือเล่มหรืออีบุ๊ค ล้วนได้รับผลกระทบจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น ดังตัวอย่างหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เพิ่งเปิดขายในเวอร์ชั่นอีบุ๊ค เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการนำรูปเล่มไปสแกนและแจกจ่ายบนอิน เทอร์เน็ต อีกนัยหนึ่งก็แสดงพฤติกรรมเชิงลึกของผู้อ่านส่วนหนึ่งที่มีความต้องการอ่าน บนแทบเล็ต เนื่องจากไม่ต้องการถือรูปเล่มที่มีน้ำหนักมาก
ขณะเดียว กัน ก็มีความพยายามในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ต้นน้ำด้วยระบบ HTML5 จากเดิมที่ป้องกันเพียงปลายน้ำด้วยการใช้ระบบ DRM : Digital Right Management เท่านั้น
สิ่งที่ท้าทายสำคัญอีกประการ คือ การสร้างสรรค์อีบุ๊คใน รูปแบบใหม่ ที่สนองความต้องการของผู้อ่านได้จริง โดยเฉพาะหนังสือเด็กที่ต้องเพิ่มฟังก์ชัน "มัลติมีเดีย" การใช้งานเสียงและวีดิโอประกอบไปพร้อมกัน ทั้งยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้ถึงมือผู้อ่านได้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในการจัดตั้งทีมวิจัยและพัฒนาในองค์กรที่ยังมีแนวคิดแบบดั้งเดิม
ประเทศในเอเชียที่มีแนวโน้มการอ่านอีบุ๊คในอัตราที่สูงขึ้น ได้แก่ เกาหลีใต้ โดยผู้แทนของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือ จากเกาหลีใต้ ระบุว่า อีบุ๊คได้ รับความนิยมมากขึ้น โดยมี “สมาร์ทโฟน” เป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมหนังสือ เนื่องจากจำนวนประชากรทั้งหมด 15 ล้านคน เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนแล้ว 12 ล้านเครื่อง ซึ่งในปีที่ผ่านมา สามารถขายอีบุ๊คได้ถึง 1 ล้านก๊อบปี้ และด้วยตัวเลขดังกล่าวถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของธุรกิจหนังสือในเกาหลีใต้
แสงวิทย์ เกวลีวงศ์ศธร
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555
Apple เปิดตัว The New iPad 3 แล้ว
หลังจากที่สาวกแอปเปิ้ลตั้งหน้าตั้งตารอกันมานาน ล่าสุด แอปเปิ้ลก็ได้เปิดตัวแท็บเล็ต iPad รุ่นใหม่ ออกมาให้ชื่นชมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และแน่นอนว่า iPad รุ่นใหม่ตัวนี้ มาพร้อมคุณสมบัติที่เรียกว่าไม่ทำให้ผิดหวัง สมกับที่ใครหลายคนตั้งตารอกันเลยทีเดียว
เมื่อช่วงดึกของวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมาตามเวลาประเทศ ไทย แอปเปิ้ล ผู้ผลิตเทคโนโลยีตระกูล i ได้เปิดตัวแท็บเล็ตรุ่นล่าสุด The New iPad (iPad 3) ที่ มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับ iPad 2 แทบจะทุกประการ แต่มาพร้อมหน้าจอและกล้องที่ชัดขึ้น รองรับเครือข่าย 4G LTE และใช้เป็น Hot Spot ได้ แถมยังมีแอพพลิเคชั่นภาพถ่ายที่น่าสนใจอย่าง "iPhoto" อีกด้วย
สำหรับรายละเอียดสเปคที่โดดเด่นของตัวเครื่องนั้น The New iPad ตัวนี้มาพร้อมกับหน้าจอแบบ Ratina Display ที่มีความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 2048 x 1536 พิกเซล ซึ่งชัดกว่า iPad 2 ถึง 4 เท่า และละเอียดกว่าความละเอียดระดับ HDTV เสียอีก ส่วนหน่วยประมวลผลนั้น ใช้ชิพ Apple A5X ซึ่งเป็นชิพเซ็ทแบบ Dual-core Processor และระบบประมวลผลภาพ หรือ GPU นั้น เป็นชิพเซ็ทระดับ Quad-core Processor
มาดูเรื่องของกล้องกันบ้าง iPad เวอร์ชั่นใหม่นี้มีการพัฒนาความละเอียดของกล้องด้านหลังให้ อยู่ที่ 5 ล้านพิกเซล ซึ่งสามารถบันทึกวิดีโอแบบ Full HD ได้สบาย และเลนส์เป็นเซ็นเซอร์แบบ Backside illumination sensor ที่ให้ภาพที่คมชัดไม่ว่าจะอยู่ในภาวะแสงจ้าหรือแสงน้อยก็ตาม แถมยังมีแอพพลิเคชั่นภาพถ่าย iPhoto ให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งภาพถ่ายได้อย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส งานนี้ไม่ต้องใช้ทักษะด้านโฟโต้ชอปเลยก็สามารถทำได้
ส่วนความสามารถด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น The New iPad ได้ถูกพัฒนาให้สามารถรองรับเครือข่าย 4G LTE ที่สามารถดาวน์โหลดได้เร็วถึง 73 Mbps และยังรองรับเครือข่าย GSM/UMTS ที่สามารถใช้งานได้ทั่วโลก และที่โดดเด่นมาก ๆ ก็คือ มันสามารถใช้เป็น Hot Spot ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้ว โดยสามารถเชื่อมต่อได้ผ่านทาง Wi-Fi, Bluetooth หรือ USB
นอกจากนี้ The New iPad ยังมาพร้อมกับฟังก์ชั่น Dictation ที่จะทำหน้าที่พิมพ์แทนผู้ใช้ โดยมีวิธีใช้งานง่าย ๆ เพียงแค่ผู้ใช้กดปุ่ม Dictation แล้วพูด ระบบก็จะทำการพิมพ์ให้โดยอัตโนมัติ
ส่วนราคาของ The New iPad ตัวนี้ แบ่งเป็น 2 รุ่น คือรุ่น Wi-Fi และรุ่น Wi-Fi + 4G ราคาเป็นดังต่อไปนี้
รุ่น Wi-Fi : 16GB ราคา 15,900 บาท, 32 GB ราคา 18,900 บาท, และ 64 GB ราคา 21,900 บาท
รุ่น Wi-Fi + 4G : 16GB ราคา 19,900 บาท, 32 GB ราคา 22,900 บาท, และ 64 GB ราคา 25,900 บาท
และแน่นอนว่า เมื่อมีการเปิดตัว iPad รุ่นใหม่แล้ว iPad รุ่นก่อนหน้านี้ก็จะถูกปรับราคาลดลงตามธรรมเนียม โดย iPad 2 จะปรับราคาลงอีก 3,000 บาท เหลืออยู่ที่ราว ๆ 12,900 บาท
อย่างไรก็ดี ใครที่อยากจะได้ The New iPad มาครอบครอง เห็นทีว่าจะต้องรอกันนานสักหน่อย เพราะทางแอปเปิ้ลไม่มีการกำหนดวันจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ขณะที่ในประเทศแถบยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่นและสิงคโปร์นั้น มีกำหนดวางจำหน่ายในวันที่ 16 มีนาคมนี้แล้ว
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก apple.com
เมื่อช่วงดึกของวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมาตามเวลาประเทศ ไทย แอปเปิ้ล ผู้ผลิตเทคโนโลยีตระกูล i ได้เปิดตัวแท็บเล็ตรุ่นล่าสุด The New iPad (iPad 3) ที่ มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับ iPad 2 แทบจะทุกประการ แต่มาพร้อมหน้าจอและกล้องที่ชัดขึ้น รองรับเครือข่าย 4G LTE และใช้เป็น Hot Spot ได้ แถมยังมีแอพพลิเคชั่นภาพถ่ายที่น่าสนใจอย่าง "iPhoto" อีกด้วย
สำหรับรายละเอียดสเปคที่โดดเด่นของตัวเครื่องนั้น The New iPad ตัวนี้มาพร้อมกับหน้าจอแบบ Ratina Display ที่มีความละเอียดหน้าจออยู่ที่ 2048 x 1536 พิกเซล ซึ่งชัดกว่า iPad 2 ถึง 4 เท่า และละเอียดกว่าความละเอียดระดับ HDTV เสียอีก ส่วนหน่วยประมวลผลนั้น ใช้ชิพ Apple A5X ซึ่งเป็นชิพเซ็ทแบบ Dual-core Processor และระบบประมวลผลภาพ หรือ GPU นั้น เป็นชิพเซ็ทระดับ Quad-core Processor
มาดูเรื่องของกล้องกันบ้าง iPad เวอร์ชั่นใหม่นี้มีการพัฒนาความละเอียดของกล้องด้านหลังให้ อยู่ที่ 5 ล้านพิกเซล ซึ่งสามารถบันทึกวิดีโอแบบ Full HD ได้สบาย และเลนส์เป็นเซ็นเซอร์แบบ Backside illumination sensor ที่ให้ภาพที่คมชัดไม่ว่าจะอยู่ในภาวะแสงจ้าหรือแสงน้อยก็ตาม แถมยังมีแอพพลิเคชั่นภาพถ่าย iPhoto ให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งภาพถ่ายได้อย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส งานนี้ไม่ต้องใช้ทักษะด้านโฟโต้ชอปเลยก็สามารถทำได้
ส่วนความสามารถด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น The New iPad ได้ถูกพัฒนาให้สามารถรองรับเครือข่าย 4G LTE ที่สามารถดาวน์โหลดได้เร็วถึง 73 Mbps และยังรองรับเครือข่าย GSM/UMTS ที่สามารถใช้งานได้ทั่วโลก และที่โดดเด่นมาก ๆ ก็คือ มันสามารถใช้เป็น Hot Spot ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้ว โดยสามารถเชื่อมต่อได้ผ่านทาง Wi-Fi, Bluetooth หรือ USB
นอกจากนี้ The New iPad ยังมาพร้อมกับฟังก์ชั่น Dictation ที่จะทำหน้าที่พิมพ์แทนผู้ใช้ โดยมีวิธีใช้งานง่าย ๆ เพียงแค่ผู้ใช้กดปุ่ม Dictation แล้วพูด ระบบก็จะทำการพิมพ์ให้โดยอัตโนมัติ
ส่วนราคาของ The New iPad ตัวนี้ แบ่งเป็น 2 รุ่น คือรุ่น Wi-Fi และรุ่น Wi-Fi + 4G ราคาเป็นดังต่อไปนี้
รุ่น Wi-Fi : 16GB ราคา 15,900 บาท, 32 GB ราคา 18,900 บาท, และ 64 GB ราคา 21,900 บาท
รุ่น Wi-Fi + 4G : 16GB ราคา 19,900 บาท, 32 GB ราคา 22,900 บาท, และ 64 GB ราคา 25,900 บาท
และแน่นอนว่า เมื่อมีการเปิดตัว iPad รุ่นใหม่แล้ว iPad รุ่นก่อนหน้านี้ก็จะถูกปรับราคาลดลงตามธรรมเนียม โดย iPad 2 จะปรับราคาลงอีก 3,000 บาท เหลืออยู่ที่ราว ๆ 12,900 บาท
อย่างไรก็ดี ใครที่อยากจะได้ The New iPad มาครอบครอง เห็นทีว่าจะต้องรอกันนานสักหน่อย เพราะทางแอปเปิ้ลไม่มีการกำหนดวันจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ขณะที่ในประเทศแถบยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่นและสิงคโปร์นั้น มีกำหนดวางจำหน่ายในวันที่ 16 มีนาคมนี้แล้ว
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก apple.com
วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555
"อินเทล" จับมือกระทรวงศึกษาฯ ผุดต้นแบบห้องเรียน "อินเทล แทบเล็ต" วัดผลคู่ขนานโครงการแทบเล็ต ป. 1
นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำต้นแบบห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยีของอินเทล บนแทบเล็ต เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และประถมศึกษาปีที่ 4 โดยเลือกโรงเรียนอนุบาลสามเสน เป็นโรงเรียนนำร่อง ระยะเวลาทดสอบเดือน ก.พ.-เม.ย.นี้ เป็นการปรับปรุงจากโครงการ "คลาสเมท พีซี" เดิม ที่พัฒนาต้นแบบพีซี เพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียนทั่วโลก แต่ครั้งนี้จะใช้แทบเล็ต เป็นเครื่องมือใหม่ในการเรียนรู้ และเป็นตลาดใหม่ที่อินเทลเริ่มพัฒนา โดยเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเทล เลิร์นนิ่ง ซีรีส์" รวมตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เป็นอีโคซิสเต็มส์ที่ใช้งานได้สมบูรณ์
สเปคใกล้เคียงแทบเล็ตภาครัฐ สำหรับคุณสมบัติของเครื่องที่ทดสอบครั้งนี้ใกล้เคียงกับคุณสมบัติที่กระทรวงศึกษาใช้ในโครงการแทบเล็ต ป. 1 คือ ขนาด 7 นิ้ว ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ 3.2 เชื่อมต่อไวไฟได้ พร้อมกล้องหน้า-หลัง ใช้แบตเตอรี่ได้นาน 4-5 ชั่วโมง และใช้เทคโนโลยีประมวลผลด้วยโปรเซสเซอร์ตระกูลอะตอม
ผู้บริหารอินเทล ยังไม่ประเมินราคาเครื่องดังกล่าว เพราะต้นแบบดีไซน์ ที่บริษัทส่งให้ผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยี แต่จะให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นผู้ประเมินผลและส่งให้กับกระทรวงศึกษาใช้ประกอบการทำโครงการแทบเล็ต ป. 1 ของรัฐบาล
"รัฐบาลจัดซื้อแบบจีทูจี เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องอะไรไม่ได้เลย เรามีบทบาทเป็นเพียงแอดไวเซอร์ ที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการศึกษาในต่างประเทศ เช่น ตอนที่ยังเป็นคลาสเมท พีซี มีบริษัทที่นำต้นแบบเราไปผลิตแล้วขายให้กับรัฐบาลแล้วหลายประเทศ เช่น อาร์เจนตินา 2 ล้านเครื่อง โปรตุเกส 1.4 ล้านเครื่อง และมาเลเซียอีกราว 1 แสนเครื่อง ส่วนแทบเล็ตที่นำมาทดลองครั้งนี้ใช้บริษัทในจีนเป็นผู้ผลิต"
เสนออบรมครูโปรเจคแทบเล็ตรัฐ ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะนำเสนอโครงการ "อินเทล ทีช" (Intel Teach) ที่ร่วมมือกับกระทรวงศึกษามาก่อนหน้านี้ เพื่ออบรมครูให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน มาปรับใช้กับโครงการแทบเล็ตในครั้งนี้ เนื่องจากพบว่าครูส่วนใหญ่ไม่เชี่ยวชาญไอที ไม่มีความรู้เกี่ยวกับแทบเล็ตมาก่อน ปัจจุบันมีครูที่อยู่ในโครงการแล้ว 1.4 แสนคน จากจำนวนครูทั่วประเทศกว่า 5 แสนคน
นายเบิร์น นอร์ดโฮเซ็น ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นเพื่อการศึกษา โครงการอินเทล World Ahead กล่าวว่า หลายๆ โครงการที่อินเทล เคยทำในต่างประเทศพบว่าการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยการเรียนการสอนจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาความสามารถการเรียนรู้ของเด็กที่ช้าเร็วต่างกันได้ เพราะเด็กสามารถกดเรียนรู้ซ้ำได้จากเดิมที่ครูอธิบายบนกระดานครั้งเดียว แล้วเด็กต้องยกมือถาม
เขาระบุว่า โครงสร้างพื้นฐานของห้องเรียนแทบเล็ตที่ควรมี คือ ไวไฟ หรืออินเทอร์เน็ตภายในของโรงเรียน และเซิร์ฟเวอร์ สำหรับเก็บคอนเทนท์ ส่วนขนาดของห้องเรียนก็แล้วแต่การบริหารจัดการของครู เพราะเทคโนโลยีสามารถปรับเปลี่ยนได้
"ข้อเสนอสำหรับรัฐบาล คือ การพัฒนาครูยังเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าดีไวซ์ และอีโคซิสเต็มส์ทั้งหมดยังต้องมีองค์ประกอบ เช่น คอนเทนท์ หรือระบบการจัดการเครือข่าย ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับตัวเครื่องเพียงอย่างเดียว"
ชี้แทบเล็ตทำให้เด็กเรียนสนุก
นางณัฏฐนันท์ ปั้นลายนาค ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ เผยว่า หลังจากทดลองใช้กับเด็ก ป. 1 และ ป. 4 เป็นเวลา 1 เดือน พบว่าแทบเล็ต ทำให้เด็กรู้สึกมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น สามารถทำให้การเรียนรู้นามธรรมเป็นรูปธรรมได้มากเท่าไร จะทำให้เด็กเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยจะเป็นการใช้แทบเล็ตประกอบกับการสอน 3 วิชาสาระ คือ อังกฤษ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ โดยมีคอนเทนท์หลักจาก สพฐ.ใส่มาให้ อย่างไรก็ตาม แทบเล็ตไม่สามารถแทนการสอนของครูได้ และยังไม่ใช่สิ่งที่สำคัญมากกว่าครู แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สอนง่ายขึ้นเท่านั้น
"คนที่ห่วงว่าเด็กจะหมกมุ่นกับแทบเล็ตจนไม่เรียน ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ เพราะมีระบบที่ครูควบคุมหน้าจอของเด็กได้ และครูจะต้องเป็นนักจัดการที่ดี ออกแบบการสอนว่าจะใช้แทบเล็ตตอนไหน ไม่ได้ใช้ตลอดชั่วโมง" นางณัฏฐนันท์กล่าว
ผอ.สามเสนย้ำใช้แทบเล็ต “ครู” ต้องพร้อม นางณัฏฐนันท์ ปั้นลายนาค ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสามเสน กล่าวว่า การทดลองใช้แทบเล็ตโรงเรียนเรามีความตื้นตัวมาก โดยจะเลือกชั้น ป. 1 ที่มีความพร้อม และสนใจอยากเรียนรู้ จากนั้นให้อินเทลมาอบรมครูทุกคน ทุกชั้นเรียน ใช้แทบเล็ต เพื่อปูพื้นฐานให้ครูเข้าใจ และเห็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้การเรียนการสอน หากครูไม่เข้าใจและได้รู้จัดการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่จะใช้กับเด็กนักเรียน เด็กก็จะไม่ได้รับประโยชน์
ขณะเดียวกัน ได้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มาใช้ร่วมกับสิ่งที่ครูได้คิดรูปแบบเนื้อหาขึ้นมาใหม่ โดยให้อินเทล เป็นผู้ช่วยการผลิตขึ้นมาให้ เช่น ครูอาจจะคิดข้อสอบออกมาใหม่เป็นข้อๆ ทางอินเทล ก็ช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ให้นำมาอยู่ในแทบเล็ต เด็กสามารถทำข้อสอบผ่านแทบเล็ตได้ ส่วนครูก็สามารถดูได้ว่าเด็กทำข้อสอบข้อไหนทำได้มากที่สุด น้อยที่สุด สามารถประเมินการเรียนการสอนได้ทันที
“เรามองว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสิ่งที่ดี ขณะเดียวกัน ครูก็ต้องเป็นผู้จัดการที่ดีด้วย ต้องมีวิธีการ มีกระบวนการเรียนการสอนนักเรียนชั้น ป. 1 ต้องมีการออกแบบการเรียนรู้ เป็นเรื่องที่ครูต้องศึกษาให้ดี ทำอย่างไรจะให้แทบเล็ตมาเป็นเครื่องมือให้ครูสอนได้ง่ายขึ้น เด็กสามารถเรียนรู้จากแทบเล็ตได้เร็วขึ้น หากครูสามารถทำเนื้อหาที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรมได้มากเท่าไร เด็กก็จะเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น” นางณัฏฐนันท์กล่าว
เด็ก ป. 1 ชอบแทบเล็ตทำให้เรียนสนุก ด.ญ.มาริษา ซาน อายุ 7 ขวบนักเรียนชั้น ป. 1/4 กล่าวว่า รู้สึกชอบแทบเล็ตเพราะใช้แล้วรู้สึกสนุก ทำให้อยากเรียนรู้ในวิชาต่างๆ มากขึ้น และทำให้เรามีความรู้เพิ่มมากขึ้น จากการใช้งาน ถ้าไม่เข้าใจก็กดดูซ้ำอีกครั้ง ถามว่าอยากใช้ทำอะไรอีกนอกจากใช้เรียนใน 3 วิชาหลัก ด.ญ.มาริษา บอกว่าอยากใช้เล่นเกม แต่ไม่สามารถเล่นได้ ขณะที่ ด.ญ.นลินทิพย์ เครือไชย กล่าวว่า รู้สึกชอบแทบเล็ตเพราะได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากการใช้งาน ทำให้เวลาเรียนสนุกกับการเรียนไปด้วย
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/
สเปคใกล้เคียงแทบเล็ตภาครัฐ สำหรับคุณสมบัติของเครื่องที่ทดสอบครั้งนี้ใกล้เคียงกับคุณสมบัติที่กระทรวงศึกษาใช้ในโครงการแทบเล็ต ป. 1 คือ ขนาด 7 นิ้ว ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ 3.2 เชื่อมต่อไวไฟได้ พร้อมกล้องหน้า-หลัง ใช้แบตเตอรี่ได้นาน 4-5 ชั่วโมง และใช้เทคโนโลยีประมวลผลด้วยโปรเซสเซอร์ตระกูลอะตอม
ผู้บริหารอินเทล ยังไม่ประเมินราคาเครื่องดังกล่าว เพราะต้นแบบดีไซน์ ที่บริษัทส่งให้ผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยี แต่จะให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นผู้ประเมินผลและส่งให้กับกระทรวงศึกษาใช้ประกอบการทำโครงการแทบเล็ต ป. 1 ของรัฐบาล
"รัฐบาลจัดซื้อแบบจีทูจี เราจะเข้าไปเกี่ยวข้องอะไรไม่ได้เลย เรามีบทบาทเป็นเพียงแอดไวเซอร์ ที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการศึกษาในต่างประเทศ เช่น ตอนที่ยังเป็นคลาสเมท พีซี มีบริษัทที่นำต้นแบบเราไปผลิตแล้วขายให้กับรัฐบาลแล้วหลายประเทศ เช่น อาร์เจนตินา 2 ล้านเครื่อง โปรตุเกส 1.4 ล้านเครื่อง และมาเลเซียอีกราว 1 แสนเครื่อง ส่วนแทบเล็ตที่นำมาทดลองครั้งนี้ใช้บริษัทในจีนเป็นผู้ผลิต"
เสนออบรมครูโปรเจคแทบเล็ตรัฐ ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะนำเสนอโครงการ "อินเทล ทีช" (Intel Teach) ที่ร่วมมือกับกระทรวงศึกษามาก่อนหน้านี้ เพื่ออบรมครูให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน มาปรับใช้กับโครงการแทบเล็ตในครั้งนี้ เนื่องจากพบว่าครูส่วนใหญ่ไม่เชี่ยวชาญไอที ไม่มีความรู้เกี่ยวกับแทบเล็ตมาก่อน ปัจจุบันมีครูที่อยู่ในโครงการแล้ว 1.4 แสนคน จากจำนวนครูทั่วประเทศกว่า 5 แสนคน
นายเบิร์น นอร์ดโฮเซ็น ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นเพื่อการศึกษา โครงการอินเทล World Ahead กล่าวว่า หลายๆ โครงการที่อินเทล เคยทำในต่างประเทศพบว่าการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยการเรียนการสอนจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาความสามารถการเรียนรู้ของเด็กที่ช้าเร็วต่างกันได้ เพราะเด็กสามารถกดเรียนรู้ซ้ำได้จากเดิมที่ครูอธิบายบนกระดานครั้งเดียว แล้วเด็กต้องยกมือถาม
เขาระบุว่า โครงสร้างพื้นฐานของห้องเรียนแทบเล็ตที่ควรมี คือ ไวไฟ หรืออินเทอร์เน็ตภายในของโรงเรียน และเซิร์ฟเวอร์ สำหรับเก็บคอนเทนท์ ส่วนขนาดของห้องเรียนก็แล้วแต่การบริหารจัดการของครู เพราะเทคโนโลยีสามารถปรับเปลี่ยนได้
"ข้อเสนอสำหรับรัฐบาล คือ การพัฒนาครูยังเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าดีไวซ์ และอีโคซิสเต็มส์ทั้งหมดยังต้องมีองค์ประกอบ เช่น คอนเทนท์ หรือระบบการจัดการเครือข่าย ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับตัวเครื่องเพียงอย่างเดียว"
ชี้แทบเล็ตทำให้เด็กเรียนสนุก
นางณัฏฐนันท์ ปั้นลายนาค ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสามเสนฯ เผยว่า หลังจากทดลองใช้กับเด็ก ป. 1 และ ป. 4 เป็นเวลา 1 เดือน พบว่าแทบเล็ต ทำให้เด็กรู้สึกมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น สามารถทำให้การเรียนรู้นามธรรมเป็นรูปธรรมได้มากเท่าไร จะทำให้เด็กเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยจะเป็นการใช้แทบเล็ตประกอบกับการสอน 3 วิชาสาระ คือ อังกฤษ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ โดยมีคอนเทนท์หลักจาก สพฐ.ใส่มาให้ อย่างไรก็ตาม แทบเล็ตไม่สามารถแทนการสอนของครูได้ และยังไม่ใช่สิ่งที่สำคัญมากกว่าครู แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สอนง่ายขึ้นเท่านั้น
"คนที่ห่วงว่าเด็กจะหมกมุ่นกับแทบเล็ตจนไม่เรียน ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ เพราะมีระบบที่ครูควบคุมหน้าจอของเด็กได้ และครูจะต้องเป็นนักจัดการที่ดี ออกแบบการสอนว่าจะใช้แทบเล็ตตอนไหน ไม่ได้ใช้ตลอดชั่วโมง" นางณัฏฐนันท์กล่าว
ผอ.สามเสนย้ำใช้แทบเล็ต “ครู” ต้องพร้อม นางณัฏฐนันท์ ปั้นลายนาค ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสามเสน กล่าวว่า การทดลองใช้แทบเล็ตโรงเรียนเรามีความตื้นตัวมาก โดยจะเลือกชั้น ป. 1 ที่มีความพร้อม และสนใจอยากเรียนรู้ จากนั้นให้อินเทลมาอบรมครูทุกคน ทุกชั้นเรียน ใช้แทบเล็ต เพื่อปูพื้นฐานให้ครูเข้าใจ และเห็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้การเรียนการสอน หากครูไม่เข้าใจและได้รู้จัดการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่จะใช้กับเด็กนักเรียน เด็กก็จะไม่ได้รับประโยชน์
ขณะเดียวกัน ได้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มาใช้ร่วมกับสิ่งที่ครูได้คิดรูปแบบเนื้อหาขึ้นมาใหม่ โดยให้อินเทล เป็นผู้ช่วยการผลิตขึ้นมาให้ เช่น ครูอาจจะคิดข้อสอบออกมาใหม่เป็นข้อๆ ทางอินเทล ก็ช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ให้นำมาอยู่ในแทบเล็ต เด็กสามารถทำข้อสอบผ่านแทบเล็ตได้ ส่วนครูก็สามารถดูได้ว่าเด็กทำข้อสอบข้อไหนทำได้มากที่สุด น้อยที่สุด สามารถประเมินการเรียนการสอนได้ทันที
“เรามองว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นสิ่งที่ดี ขณะเดียวกัน ครูก็ต้องเป็นผู้จัดการที่ดีด้วย ต้องมีวิธีการ มีกระบวนการเรียนการสอนนักเรียนชั้น ป. 1 ต้องมีการออกแบบการเรียนรู้ เป็นเรื่องที่ครูต้องศึกษาให้ดี ทำอย่างไรจะให้แทบเล็ตมาเป็นเครื่องมือให้ครูสอนได้ง่ายขึ้น เด็กสามารถเรียนรู้จากแทบเล็ตได้เร็วขึ้น หากครูสามารถทำเนื้อหาที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรมได้มากเท่าไร เด็กก็จะเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น” นางณัฏฐนันท์กล่าว
เด็ก ป. 1 ชอบแทบเล็ตทำให้เรียนสนุก ด.ญ.มาริษา ซาน อายุ 7 ขวบนักเรียนชั้น ป. 1/4 กล่าวว่า รู้สึกชอบแทบเล็ตเพราะใช้แล้วรู้สึกสนุก ทำให้อยากเรียนรู้ในวิชาต่างๆ มากขึ้น และทำให้เรามีความรู้เพิ่มมากขึ้น จากการใช้งาน ถ้าไม่เข้าใจก็กดดูซ้ำอีกครั้ง ถามว่าอยากใช้ทำอะไรอีกนอกจากใช้เรียนใน 3 วิชาหลัก ด.ญ.มาริษา บอกว่าอยากใช้เล่นเกม แต่ไม่สามารถเล่นได้ ขณะที่ ด.ญ.นลินทิพย์ เครือไชย กล่าวว่า รู้สึกชอบแทบเล็ตเพราะได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากการใช้งาน ทำให้เวลาเรียนสนุกกับการเรียนไปด้วย
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
"ต้องเข้าถึง-ครองใจ" กลยุทธ์สื่อสาร Digital Content
การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภค ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเทคโนโลยีออนไลน์ อีกทั้งจำนวนประชากรใน Social Network
และรูปแบบการติดตามข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะในยามวิกฤติ ที่พบว่า Social Media กลายเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด จึงไม่แปลกนักที่ "ตัวเลข" งบประมาณขององค์กรขนาดใหญ่ ในปี 2012 พุ่งไปที่การสื่อสารผ่าน Digital Media เพื่อตอบโจทย์ด้านการสื่อสารองค์กรและการตลาดควบคู่กันพจน์ ใจชาญสุขกิจ นักสื่อสารกลยุทธ์แบบบูรณาการและนายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย กล่าวว่า การเติบโตของ Digital Media มีบทบาทต่อกระแสสังคมมากว่า 2 ปี ขณะที่ผู้บริโภคเริ่มปรับตัวจนกระทั่งคุ้นชินกับสื่อดิจิทัล จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่มีบทบาทอย่างมากต่อความคิดและการตัดสินใจ เห็นได้จากข่าวสารที่เกิดจากสื่อดิจิทัล ก่อนเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม หรือที่เรียกว่า Digital Content ต่างๆ ได้ถูกนำมารายงานผ่านในสื่อหลักและเกิดกระแสในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโตของประชากรออนไลน์ที่มีกว่า 30 ล้านคน หรือ 50% ของประเทศไทย
รูปแบบการสื่อสารที่เข้าถึงและครองใจกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะผ่าน Social Media หรือสื่อใดก็ตาม ได้สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น สร้างสรรค์เรื่องราวและประเด็นขององค์กรหรือสินค้า เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางความคิดในด้านต่างๆ กิจกรรมทางสังคม เกิดพฤติกรรมที่เป็นพลังของเครือข่ายผ่านการสื่อสาร จึงกลายมาเป็นความต้องการที่องค์กรต้องเลือกสรรกลยุทธ์ให้เหมาะกับแบรนด์ เพื่อรับมือกับเทรนด์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เจาะกลยุทธ์สื่อสารดิจิทัล
กลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัลที่องค์กรต้องจับตามอง ประกอบด้วย การให้ความสำคัญต่อคุณค่าขององค์กรเพื่อความผูกพันในระยะยาว เพราะการชื่นชอบแบบฉาบฉวย ดูไม่เป็นประโยชน์กับองค์กร เพราะอาจเกิดการเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา การสื่อความให้เห็นถึงชื่อเสียง ทิศทางความก้าวหน้า การสร้างความมั่นใจที่มีต่อองค์กร ควบคู่ไปกับการสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำเกิดความน่าความสนใจในคอนเทนท์อย่างสม่ำเสมอ
การรู้จัก เข้าใจและเข้าถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในเชิงโครงสร้างและรูปแบบการใช้ชีวิต ที่มีความหลากหลาย ซับซ้อนมากขึ้น ความเป็นตัวตนของตัวเอง การต้องการสร้างการยอมรับ ความอดทนในการรอลดน้อยลง และ Brand Loyalty น้อยลง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการ "เลือกเนื้อหา วิธีการ และเครื่องมือในการสื่อสารผ่านดิจิทัล คอนเทนท์" ทั้งสิ้น
การสื่อความที่กระตุ้นพฤติกรรมในการสร้างความสัมพันธ์และสื่อสารข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากผู้บริโภครับข้อมูลที่มาจากสิ่งต่างๆ รอบตัว สนใจการเล่าเรื่องที่ได้พบเจอและประสบการณ์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มัก "เชื่อ" กับสิ่งที่วางใจแบบการเป็นเพื่อนคู่คิด ติดตามกระแสความสนใจใหม่ๆ องค์กรจึงต้องให้ความชัดเจนในการเปิดเผยตัวตนให้สังคมได้รับรู้ และปรับวัฒนธรรมให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามา Share ประสบการณ์มากขึ้น
การให้ความสำคัญการสื่อสารภาพลักษณ์ Brand และสื่อสารการตลาด ปัจจุบันหมดยุคของการต่างคนต่างทำงานในองค์กรเดียวกัน โดยขาดการผสมผสานที่สอดคล้องสิ้นเปลืองทั้งงบประมาณและการขาดเอกภาพของแบรนด์ การให้ข้อมูลที่สะท้อนเอกลักษณ์ ทั้งด้านองค์กร สินค้า บริการ ผู้บริหาร เทคโนโลยี ต้องมีความชัดเจนเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์
เสนอคอนเทนท์ที่แสดงถึงคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ด้วยการบอก หรืออธิบายความโดดเด่นของแต่ละสินค้า หรือบริการด้วยการแสดงให้เห็นคุณค่าที่เหนือกว่าแบรนด์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ การอธิบายแจ้งมูลค่า ได้แก่ การให้ข้อมูล ค่าธรรมเนียม อัตราค่าบริการ และสิทธิประโยชน์ ไม่แอบแฝง เพราะระบบตรวจสอบโดยสังคมสามารถทำได้อย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ และมีผลต่อความเชื่อมั่นหากปิดบัง หรือไม่เผยแพร่ความจริง
การทำธุรกิจต้องใส่ใจสังคม สังคมแสวงหาคน "เก่งและดี" จึงต้องมีเรื่องการมีส่วนร่วมกับสังคมเข้ามา แต่ทั้งหมดที่ทำจะต้องไม่หลอกลวงและฝืนตัวเอง เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้เกิดการยอมรับ เชื่อถือในแนวคิด ความตั้งใจดี ขณะเดียวกันต้องดูแลพนักงานขององค์กรให้มีความสุขและส่งต่อความรู้สึกที่ดีไปยังสังคม
การบริหารกลยุทธ์สื่อสารองค์กรในปัจจุบันไม่ใช่เรื่อง "ง่าย" แต่เป็น "ความท้าทาย" สำหรับสร้างความเชื่อมโยงทั้งสื่อและการบริหารประเด็น ตลอดจนการควบคุมการสื่อสารทั้งกระบวนการผ่านสื่อทั่วไปและสื่อออนไลน์ ให้เกิดความสอดคล้องและส่งผลดีต่อแบรนด์และองค์กร
และรูปแบบการติดตามข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะในยามวิกฤติ ที่พบว่า Social Media กลายเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด จึงไม่แปลกนักที่ "ตัวเลข" งบประมาณขององค์กรขนาดใหญ่ ในปี 2012 พุ่งไปที่การสื่อสารผ่าน Digital Media เพื่อตอบโจทย์ด้านการสื่อสารองค์กรและการตลาดควบคู่กันพจน์ ใจชาญสุขกิจ นักสื่อสารกลยุทธ์แบบบูรณาการและนายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย กล่าวว่า การเติบโตของ Digital Media มีบทบาทต่อกระแสสังคมมากว่า 2 ปี ขณะที่ผู้บริโภคเริ่มปรับตัวจนกระทั่งคุ้นชินกับสื่อดิจิทัล จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่มีบทบาทอย่างมากต่อความคิดและการตัดสินใจ เห็นได้จากข่าวสารที่เกิดจากสื่อดิจิทัล ก่อนเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม หรือที่เรียกว่า Digital Content ต่างๆ ได้ถูกนำมารายงานผ่านในสื่อหลักและเกิดกระแสในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโตของประชากรออนไลน์ที่มีกว่า 30 ล้านคน หรือ 50% ของประเทศไทย
รูปแบบการสื่อสารที่เข้าถึงและครองใจกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะผ่าน Social Media หรือสื่อใดก็ตาม ได้สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น สร้างสรรค์เรื่องราวและประเด็นขององค์กรหรือสินค้า เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางความคิดในด้านต่างๆ กิจกรรมทางสังคม เกิดพฤติกรรมที่เป็นพลังของเครือข่ายผ่านการสื่อสาร จึงกลายมาเป็นความต้องการที่องค์กรต้องเลือกสรรกลยุทธ์ให้เหมาะกับแบรนด์ เพื่อรับมือกับเทรนด์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เจาะกลยุทธ์สื่อสารดิจิทัล
กลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัลที่องค์กรต้องจับตามอง ประกอบด้วย การให้ความสำคัญต่อคุณค่าขององค์กรเพื่อความผูกพันในระยะยาว เพราะการชื่นชอบแบบฉาบฉวย ดูไม่เป็นประโยชน์กับองค์กร เพราะอาจเกิดการเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา การสื่อความให้เห็นถึงชื่อเสียง ทิศทางความก้าวหน้า การสร้างความมั่นใจที่มีต่อองค์กร ควบคู่ไปกับการสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำเกิดความน่าความสนใจในคอนเทนท์อย่างสม่ำเสมอ
การรู้จัก เข้าใจและเข้าถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในเชิงโครงสร้างและรูปแบบการใช้ชีวิต ที่มีความหลากหลาย ซับซ้อนมากขึ้น ความเป็นตัวตนของตัวเอง การต้องการสร้างการยอมรับ ความอดทนในการรอลดน้อยลง และ Brand Loyalty น้อยลง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการ "เลือกเนื้อหา วิธีการ และเครื่องมือในการสื่อสารผ่านดิจิทัล คอนเทนท์" ทั้งสิ้น
การสื่อความที่กระตุ้นพฤติกรรมในการสร้างความสัมพันธ์และสื่อสารข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากผู้บริโภครับข้อมูลที่มาจากสิ่งต่างๆ รอบตัว สนใจการเล่าเรื่องที่ได้พบเจอและประสบการณ์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มัก "เชื่อ" กับสิ่งที่วางใจแบบการเป็นเพื่อนคู่คิด ติดตามกระแสความสนใจใหม่ๆ องค์กรจึงต้องให้ความชัดเจนในการเปิดเผยตัวตนให้สังคมได้รับรู้ และปรับวัฒนธรรมให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามา Share ประสบการณ์มากขึ้น
การให้ความสำคัญการสื่อสารภาพลักษณ์ Brand และสื่อสารการตลาด ปัจจุบันหมดยุคของการต่างคนต่างทำงานในองค์กรเดียวกัน โดยขาดการผสมผสานที่สอดคล้องสิ้นเปลืองทั้งงบประมาณและการขาดเอกภาพของแบรนด์ การให้ข้อมูลที่สะท้อนเอกลักษณ์ ทั้งด้านองค์กร สินค้า บริการ ผู้บริหาร เทคโนโลยี ต้องมีความชัดเจนเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์
เสนอคอนเทนท์ที่แสดงถึงคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ด้วยการบอก หรืออธิบายความโดดเด่นของแต่ละสินค้า หรือบริการด้วยการแสดงให้เห็นคุณค่าที่เหนือกว่าแบรนด์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ การอธิบายแจ้งมูลค่า ได้แก่ การให้ข้อมูล ค่าธรรมเนียม อัตราค่าบริการ และสิทธิประโยชน์ ไม่แอบแฝง เพราะระบบตรวจสอบโดยสังคมสามารถทำได้อย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ และมีผลต่อความเชื่อมั่นหากปิดบัง หรือไม่เผยแพร่ความจริง
การทำธุรกิจต้องใส่ใจสังคม สังคมแสวงหาคน "เก่งและดี" จึงต้องมีเรื่องการมีส่วนร่วมกับสังคมเข้ามา แต่ทั้งหมดที่ทำจะต้องไม่หลอกลวงและฝืนตัวเอง เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้เกิดการยอมรับ เชื่อถือในแนวคิด ความตั้งใจดี ขณะเดียวกันต้องดูแลพนักงานขององค์กรให้มีความสุขและส่งต่อความรู้สึกที่ดีไปยังสังคม
การบริหารกลยุทธ์สื่อสารองค์กรในปัจจุบันไม่ใช่เรื่อง "ง่าย" แต่เป็น "ความท้าทาย" สำหรับสร้างความเชื่อมโยงทั้งสื่อและการบริหารประเด็น ตลอดจนการควบคุมการสื่อสารทั้งกระบวนการผ่านสื่อทั่วไปและสื่อออนไลน์ ให้เกิดความสอดคล้องและส่งผลดีต่อแบรนด์และองค์กร
“ไอพีทีวี”แพลตฟอร์มใหม่ VooZ ปลุกสมรภูมิโทรทัศน์เดือด!
ขณะที่คอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ก็ต่างทุ่มทุนขยายช่องเป็นของตนเองผ่านแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียม ที่ผุดขึ้นมาแล้วกว่า 200 ช่อง
นับจากนี้...สมรภูมิธุรกิจโทรทัศน์จะเต็มไปด้วยการแข่งขันที่รุนแรง เมื่อเหล่าผู้ประกอบการต่างลงทุนขยายแพลตฟอร์มใหม่ ที่เรียกว่า “ไอพีทีวี” (IPTV : Internet Protocol Television) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถรับชมรายการโทรทัศน์ที่ต้องการผ่านผู้ให้บริการหรือกล่องรับสัญญาณ ไม่ต้องติดตั้งจานดาวเทียม
เปิดตัวแพลตฟอร์ม VooZ
วิรัตน์ โอวรารินท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี.อาร์.เอ็ม วอยซ์พลัส จำกัด ผู้ให้บริการ VooZ (วูซ) IPTV บอกว่า “ไอพีทีวี” จะเป็นแพลตฟอร์มใหม่ ในการถ่ายทอดข้อมูลภาพและเสียง (Application Platform) ของไทย นอกเหนือจากภาคพื้นดิน (Terrestrial TV) และทีวีดาวเทียม (Satellite TV) ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งบริษัทได้คิดค้นและพัฒนามากว่า 2 ปี โดยทดลองกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกเครือข่ายทั้งของทีโอที, ทรู, 3บีบี โดยลงทุนงบประมาณกว่า 400 ล้านบาทในการซื้อเซิร์ฟเวอร์ รองรับการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จะสามารถใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตั้งแต่ 2 เมกะบิตขึ้นไป วิ่งผ่านกล่องรับสัญญาณที่เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ โดยให้บริการไม่จำกัดสถานที่ ทั้งสาย LAN หรือไวไฟ ขณะเดียวกันยังสามารถใช้ฟีเจอร์และคอนเทนท์ต่างๆ ผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สมาร์ทโฟน แทบเล็ต โดยใช้ยูสเซอร์เดียวกัน นอกเหนือจากการรับชมผ่านจอโทรทัศน์ โดยมีกำหนดใช้จริงในเดือนมี.ค. นี้
ด้วยการส่งสัญญาณผ่านระบบ IPTV ทำให้สามารถเพิ่มช่องรายการได้อย่างไม่จำกัด บริษัทจึงได้วางตำแหน่งทางธุรกิจเป็น “A Billion Channel Service Provider” หรือเจ้าของแพลตฟอร์มเช่นเดียวกับ พีเอสไอ วันสกาย ในกลุ่มทีวีดาวเทียม และทรูวิชั่นส์ กลุ่มทีวีบอกรับสมาชิก
ปัจจุบันถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเปิดตัวแพลตฟอร์มไอพีทีวีในไทย เพราะเมื่อพิจารณาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีกล่องรับสัญญาณที่ปัจจุบันมีความเสถียรมากขึ้น ทำให้ภาพคมชัด ไม่ติดขัด อีกทั้งอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของไทย ที่ขณะนี้มีการติดตั้งกว่า 4 ล้านครัวเรือน หรือ 20% ของครัวเรือนไทย และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 85% ของครัวเรือนไทยแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
ชูจุดเด่นคอนเทนท์
ด้วยธุรกิจสื่อที่หัวใจหลักคือ "คอนเทนท์" บริษัทจึงได้จับมือกับคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ต่างๆ โดยปัจจุบันมีกว่า 200 ช่อง ทั้งภาพยนตร์ เพลง คอนเสิร์ต การ์ตูน การศึกษา สารคดี นอกจากนี้ยังได้สร้างฟีเจอร์ต่างๆ ขึ้นตามประเภทคอนเทนท์ เพื่อสร้างความแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น “Home Cinema” ทำให้สามารถรับชมภาพยนตร์ฟรี 10 เรื่องต่อเดือน เสมือนนำร้านวีดิโอมาไว้ที่บ้าน หรือ “Knowledge and Education” โดยขณะนี้มีหน่วยงานการศึกษา เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งต้องการเปิดช่องเพื่อให้นักศึกษาปริญญาโท สามารถเรียนจากที่บ้านได้ ทั้งยังมีการติดต่อกับสถาบันกวดวิชาต่างๆ เพื่อถ่ายทอดสดการสอนไปยังผู้รับชม โดยผ่านลักษณะเพย์ทีวี
นอกจากนี้ ยังมีเอ็กซ์คลูซีฟ คอนเทนท์ โดยเฉพาะคอนเทนท์กีฬา ซึ่งจับมือกับเจ้าของลิขสิทธิ์กีฬาทั้งอาร์เอส แกรมมี่ และทรูวิชั่นส์ อีกทั้งจับมือกับค่ายเน็กซ์สเต็ป ได้แก่ช่องรายการ สำรวจโลก บุษบาคาเฟ่ เป็นต้น และช่อง OPPA ช่องบันเทิงเกาหลี โดยเป็นตัวกลางระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ชม ที่สามารถเลือกซื้อคอนเทนท์ผ่านบัตรเครดิตได้ และในอนาคตยังสามารถสั่งอาหารทางโทรทัศน์ได้อีกด้วย รวมทั้งจะมีการเพิ่มฟีเจอร์อาหารที่ร่วมกับร้านอาหารที่มีบริการพร้อมส่งอย่างแมคโดนัลด์ เดอะพิซซ่า ด้วยเช่นกัน
ต้นทุนต่ำ เป็นเจ้าของช่องง่าย
วิรัตน์ กล่าวอีกว่าถึงแม้ทีวีดาวเทียมจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง เข้าถึงครัวเรือนไทยแล้วกว่า 50% แต่ด้วยข้อดีของไอพีทีวี จะทำให้ผู้ชมและคอนเทนท์ โปรวายเดอร์เลือกติดตั้งไอพีทีวี เพราะทีวีดาวเทียม ถือเป็นการสื่อสารทางเดียว ขณะที่ไอพีทีวี เป็นการสื่อสารสองทาง ผู้ชมสามารถเลือกชมรายการที่ชื่นชอบได้ทันที อีกทั้งในอนาคตจะพัฒนาเป็นระบบอินเตอร์แอ็คทีฟ กับผู้จัดรายการได้แบบเรียลไทม์ โดยในเฟสที่ 2 จะผลิตกล่องรับสัญญาณที่มีกล้องติดอยู่ด้วย
สำหรับการลงทุนเพื่อเป็นเจ้าช่องรายการบนแพลตฟอร์มฟอร์มไอพีทีวีนั้น คิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ของการลงทุนทีวีดาวเทียม เป็นการเปิดโอกาสให้คอนเทนท์ โปรวายเดอร์อิสระ หรือรายเล็กที่มีศักยภาพ สามารถเป็นเจ้าของช่องเองได้ง่าย นอกจากนี้ด้วยระบบดิจิทัล ทำให้การวัดผลเก็บข้อมูลทำได้แบบเรียลไทม์ วัดผลตอบรับได้ทันที ทำให้คอนเทนท์ โปรวายเดอร์นำไปอ้างอิงมีเดียเอเยนซีได้
ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้สนใจติดตั้งกล่องรับสัญญาณ VooZ ในปีแรก 1 ล้านกล่อง ทั้งการจำหน่ายและให้ยืม โดยจะมีแคมเปญ "ยืมกล่อง VooZ" ฟรีในปีแรก โดยเสียค่ามัดจำ 1,000 บาทและค่าใช้บริการ 900 บาท จากปกติจำหน่ายกล่องละ 8,800 บาท ซึ่งปีนี้ได้เตรียมงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ในการสื่อสารการตลาด
“ก่อนหน้านี้ มีการทำตลาดในสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยเจาะกลุ่มคนไทย ลาว และกัมพูชา ที่อาศัยในสหรัฐ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”
นับจากนี้...สมรภูมิธุรกิจโทรทัศน์จะเต็มไปด้วยการแข่งขันที่รุนแรง เมื่อเหล่าผู้ประกอบการต่างลงทุนขยายแพลตฟอร์มใหม่ ที่เรียกว่า “ไอพีทีวี” (IPTV : Internet Protocol Television) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถรับชมรายการโทรทัศน์ที่ต้องการผ่านผู้ให้บริการหรือกล่องรับสัญญาณ ไม่ต้องติดตั้งจานดาวเทียม
เปิดตัวแพลตฟอร์ม VooZ
วิรัตน์ โอวรารินท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี.อาร์.เอ็ม วอยซ์พลัส จำกัด ผู้ให้บริการ VooZ (วูซ) IPTV บอกว่า “ไอพีทีวี” จะเป็นแพลตฟอร์มใหม่ ในการถ่ายทอดข้อมูลภาพและเสียง (Application Platform) ของไทย นอกเหนือจากภาคพื้นดิน (Terrestrial TV) และทีวีดาวเทียม (Satellite TV) ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งบริษัทได้คิดค้นและพัฒนามากว่า 2 ปี โดยทดลองกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกเครือข่ายทั้งของทีโอที, ทรู, 3บีบี โดยลงทุนงบประมาณกว่า 400 ล้านบาทในการซื้อเซิร์ฟเวอร์ รองรับการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จะสามารถใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตั้งแต่ 2 เมกะบิตขึ้นไป วิ่งผ่านกล่องรับสัญญาณที่เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ โดยให้บริการไม่จำกัดสถานที่ ทั้งสาย LAN หรือไวไฟ ขณะเดียวกันยังสามารถใช้ฟีเจอร์และคอนเทนท์ต่างๆ ผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สมาร์ทโฟน แทบเล็ต โดยใช้ยูสเซอร์เดียวกัน นอกเหนือจากการรับชมผ่านจอโทรทัศน์ โดยมีกำหนดใช้จริงในเดือนมี.ค. นี้
ด้วยการส่งสัญญาณผ่านระบบ IPTV ทำให้สามารถเพิ่มช่องรายการได้อย่างไม่จำกัด บริษัทจึงได้วางตำแหน่งทางธุรกิจเป็น “A Billion Channel Service Provider” หรือเจ้าของแพลตฟอร์มเช่นเดียวกับ พีเอสไอ วันสกาย ในกลุ่มทีวีดาวเทียม และทรูวิชั่นส์ กลุ่มทีวีบอกรับสมาชิก
ปัจจุบันถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเปิดตัวแพลตฟอร์มไอพีทีวีในไทย เพราะเมื่อพิจารณาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีกล่องรับสัญญาณที่ปัจจุบันมีความเสถียรมากขึ้น ทำให้ภาพคมชัด ไม่ติดขัด อีกทั้งอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของไทย ที่ขณะนี้มีการติดตั้งกว่า 4 ล้านครัวเรือน หรือ 20% ของครัวเรือนไทย และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 85% ของครัวเรือนไทยแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
ชูจุดเด่นคอนเทนท์
ด้วยธุรกิจสื่อที่หัวใจหลักคือ "คอนเทนท์" บริษัทจึงได้จับมือกับคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ต่างๆ โดยปัจจุบันมีกว่า 200 ช่อง ทั้งภาพยนตร์ เพลง คอนเสิร์ต การ์ตูน การศึกษา สารคดี นอกจากนี้ยังได้สร้างฟีเจอร์ต่างๆ ขึ้นตามประเภทคอนเทนท์ เพื่อสร้างความแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น “Home Cinema” ทำให้สามารถรับชมภาพยนตร์ฟรี 10 เรื่องต่อเดือน เสมือนนำร้านวีดิโอมาไว้ที่บ้าน หรือ “Knowledge and Education” โดยขณะนี้มีหน่วยงานการศึกษา เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งต้องการเปิดช่องเพื่อให้นักศึกษาปริญญาโท สามารถเรียนจากที่บ้านได้ ทั้งยังมีการติดต่อกับสถาบันกวดวิชาต่างๆ เพื่อถ่ายทอดสดการสอนไปยังผู้รับชม โดยผ่านลักษณะเพย์ทีวี
นอกจากนี้ ยังมีเอ็กซ์คลูซีฟ คอนเทนท์ โดยเฉพาะคอนเทนท์กีฬา ซึ่งจับมือกับเจ้าของลิขสิทธิ์กีฬาทั้งอาร์เอส แกรมมี่ และทรูวิชั่นส์ อีกทั้งจับมือกับค่ายเน็กซ์สเต็ป ได้แก่ช่องรายการ สำรวจโลก บุษบาคาเฟ่ เป็นต้น และช่อง OPPA ช่องบันเทิงเกาหลี โดยเป็นตัวกลางระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ชม ที่สามารถเลือกซื้อคอนเทนท์ผ่านบัตรเครดิตได้ และในอนาคตยังสามารถสั่งอาหารทางโทรทัศน์ได้อีกด้วย รวมทั้งจะมีการเพิ่มฟีเจอร์อาหารที่ร่วมกับร้านอาหารที่มีบริการพร้อมส่งอย่างแมคโดนัลด์ เดอะพิซซ่า ด้วยเช่นกัน
ต้นทุนต่ำ เป็นเจ้าของช่องง่าย
วิรัตน์ กล่าวอีกว่าถึงแม้ทีวีดาวเทียมจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง เข้าถึงครัวเรือนไทยแล้วกว่า 50% แต่ด้วยข้อดีของไอพีทีวี จะทำให้ผู้ชมและคอนเทนท์ โปรวายเดอร์เลือกติดตั้งไอพีทีวี เพราะทีวีดาวเทียม ถือเป็นการสื่อสารทางเดียว ขณะที่ไอพีทีวี เป็นการสื่อสารสองทาง ผู้ชมสามารถเลือกชมรายการที่ชื่นชอบได้ทันที อีกทั้งในอนาคตจะพัฒนาเป็นระบบอินเตอร์แอ็คทีฟ กับผู้จัดรายการได้แบบเรียลไทม์ โดยในเฟสที่ 2 จะผลิตกล่องรับสัญญาณที่มีกล้องติดอยู่ด้วย
สำหรับการลงทุนเพื่อเป็นเจ้าช่องรายการบนแพลตฟอร์มฟอร์มไอพีทีวีนั้น คิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ของการลงทุนทีวีดาวเทียม เป็นการเปิดโอกาสให้คอนเทนท์ โปรวายเดอร์อิสระ หรือรายเล็กที่มีศักยภาพ สามารถเป็นเจ้าของช่องเองได้ง่าย นอกจากนี้ด้วยระบบดิจิทัล ทำให้การวัดผลเก็บข้อมูลทำได้แบบเรียลไทม์ วัดผลตอบรับได้ทันที ทำให้คอนเทนท์ โปรวายเดอร์นำไปอ้างอิงมีเดียเอเยนซีได้
ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้สนใจติดตั้งกล่องรับสัญญาณ VooZ ในปีแรก 1 ล้านกล่อง ทั้งการจำหน่ายและให้ยืม โดยจะมีแคมเปญ "ยืมกล่อง VooZ" ฟรีในปีแรก โดยเสียค่ามัดจำ 1,000 บาทและค่าใช้บริการ 900 บาท จากปกติจำหน่ายกล่องละ 8,800 บาท ซึ่งปีนี้ได้เตรียมงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ในการสื่อสารการตลาด
“ก่อนหน้านี้ มีการทำตลาดในสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยเจาะกลุ่มคนไทย ลาว และกัมพูชา ที่อาศัยในสหรัฐ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”
บทความ แสงวิทย์ เกวลีวงศ์ศธร
"ขีปนาวุธออนไลน์" สงคราม..โลกยุคใหม่ในปัจจุบันของเรา
กว่า 40% ของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่ตรวจพบ "มัลแวร์" ล้วนเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แทบทั้งสิ้น, 2.7 หมื่นล้านยูโรต่อปี
คือ ตัวเลขมูลค่าความเสียหายของอาชญากรรมไซเบอร์ในประเทศอังกฤษ, ชาวเกาหลีใต้กว่า 35 ล้านคน โดนขโมยข้อมูลส่วนตัวระหว่างการใช้งานโซเชียล เน็ตเวิร์ค, คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็น 1 ในเทคโนโลยีที่สุ่มเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล, พบมัลแวร์มากกว่า 70,000 ตัวต่อวันส่งผลให้คนหลายล้านคนตกเป็นเหยื่อภัยร้ายในโลกไซเบอร์โดยไม่รู้ตัว....
แนะรัฐตระหนักภัยออนไลน์
ยูจิน บอกว่า อาชญากรไซเบอร์ เหล่านี้มีหลากหลายประเภท มุ่งเน้นการโจมตีในรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น นักเคลื่อนไหวเจาะระบบ (Hacktivists) เด็กหนุ่มที่ไม่ธรรมดา เจาะข้อมูลทุกอย่างจนสร้างความปั่นป่วนให้ระบบเศรษฐกิจ ล้วงตับข้อมูลระบบสาธารณะจนยากที่จะควบคุม ผู้ก่อการร้ายผ่านโลกไซเบอร์ (Terrorism) ที่มีเป้าหมายโจมตีระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ระบบขนส่ง ระบบไฟฟ้า เป็นต้น
ภัยร้ายข้างต้น เป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลหลายประเทศเริ่มตระหนัก และต้องการปราบอย่างจริงจัง กระทบไปถึงหน่วยงานอย่าง "อินเตอร์โพล" หรือองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ ที่เรียกกันติดปากว่า ตำรวจสากล ยังอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องโดดเข้ามาจัดการ
"ผมกลัวว่า อะไรก็ตามในโลกนี้ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะกลายเป็นเครื่องมือการก่อการร้ายที่เราคาดไม่ถึง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องหันมาพัฒนาระบบป้องกันการก่ออาชญากรรม หรือการก่อการร้ายในรูปแบบนี้ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น"
จับตา 2 ไวรัสสายพันธุ์ร้าย
ในงานสัมมนา " Kaspersky Lab Cyber Conference 2012 : IT Security in the age of Cyber Warfare" ยูจิน พูดถึง "ดูกุ" (Duqu) และ "สตักซ์เน็ต" (Stuxnet) 2 ภัยร้ายออนไลน์สำคัญ ที่กำลังเป็นเครื่องมือก่อการร้ายยุคใหม่ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
"สตักซ์เน็ต" มัลแวร์ที่มีความซับซ้อน ไม่แพร่ตัวเองผ่านอินเทอร์เน็ต แต่จะแพร่ผ่านยูเอสบี ธัมไดร์ฟ เครื่องที่ติดสตักซ์เน็ตสามารถแพร่ตัวมันเองให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ในเครื่อข่ายภายใน (Private network) มีเป้าหมายทำลายล้างระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบหยุดชะงัก หรือเกิดระเบิดได้ เพราะระบบขัดข้อง ว่ากันว่า สตักซ์เน็ต คือ มัลแวร์ที่ถูกนำเอาไปใช้เป็นอาวุธสงคราม และกว่า 60% ของคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่ติดสตักซ์เน็ตอยู่ใน "อิหร่าน"
ขณะที่ "ดูกุ" เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ลึกลับ มีโค้ดการทำงานคล้าย สตักซ์เน็ต มีภารกิจทำลายระบบคอมพิวเตอร์ เช่น โรงงานนิวเคลียร์ในประเทศอิหร่านที่โดนถล่มไปก่อนหน้านี้
ความน่ากลัวของ ดูกุ ทำให้ภาครัฐ และนักลงทุนทั่วโลกพยายามทำลายล้างเจ้าไวรัสตัวนี้ให้ได้ เพราะนักวิเคราะห์ระบบเคยให้ข้อมูลว่า ดูกุ ถูกพัฒนาโดยแฮคเกอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยวางพื้นฐานการโจมตีระบบสำคัญๆ ของ โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน และระบบท่อส่งต่างๆ
ที่ผ่านมา "ยูจิน" พยายามสร้างความตื่นตัวให้รัฐบาลทั่วโลก รวมไปถึงผู้ใช้งานระดับทั่วไปตระหนัก ถึงความน่ากลัวของภัยร้ายออนไลน์เหล่านี้ อย่าคิดว่ามันก็แค่ "ไวรัส" หรือแค่ "มัลแวร์" แต่มันคือหนึ่งในเครื่องมือทำสงครามในโลกยุคใหม่ ที่อาจสร้างความเสียหายแบบประเมินค่ามิได้
เขาจึงเสนอให้ตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า International Cyber Security Agency หรือ ICSA องค์กรอิสระ ที่มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะรัฐบาลต่างๆ โดยเขาระบุว่า ICSA อาจไม่สามารถกำจัดอาชญากรรมไซเบอร์ให้หมดไปได้ หากแต่มันจะช่วยทำสงครามไซเบอร์บรรเทาเบาบางลง ที่สำคัญต้องขึ้นอยู่กับความตระหนักที่พร้อมจะป้องกัน และแก้ไขของรัฐบาลในแต่ละประเทศด้วย
แคสเปอร์สกี้ชี้ไทยตลาดสำคัญ
ยูจิน ในฐานะซีอีโอของ แคสเปอร์สกี้ แลป ระบุด้วยว่า ปีนี้จะเป็นปีแห่งความท้าทายในตลาดซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย แม้ต้องฝ่าฟันกับภัยคุกคามสมัยใหม่ที่ซับซ้อน และเรียงแถวมาให้จัดการอย่างล้นหลาม ภายใต้สภาวะแวดล้อมทางการตลาดที่แข่งขันอย่างเข้มข้น หากแต่บริษัทก็ยังสามารถทำยอดขายได้ในระดับ 612 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 14%
"ปีนี้ บริษัทพร้อมรับมือความท้าทายใหม่ๆ โดยจะเน้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้น พร้อมปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น"
เขา ระบุว่า ต้องการให้องค์กรยังคงเป็นรูปแบบไปรเวท ที่จะช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพและคล่องตัว ตลอดจนให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงระหว่างนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและการเติบโตขององค์กร พร้อมๆ ไปกับการขยายเครือข่ายคู่ค้าระดับโลก โดยอิงจากแนวทางการขายภายในประเทศ และสำหรับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ที่ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ
ขณะที่ "จิมมี่ ฟง" ผู้อำนวยการฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่าย แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกว่า ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น คนไทยส่วนใหญ่ต่างตระหนักถึงอันตรายที่อาจขึ้นเกิดจากภัยคุกคาม และให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวในโลกไซเบอร์ โดยที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ในไทยได้รับการตอบที่ดี ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นในปี 2554 และรายรับที่เติบโตเป็น 2
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
คือ ตัวเลขมูลค่าความเสียหายของอาชญากรรมไซเบอร์ในประเทศอังกฤษ, ชาวเกาหลีใต้กว่า 35 ล้านคน โดนขโมยข้อมูลส่วนตัวระหว่างการใช้งานโซเชียล เน็ตเวิร์ค, คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็น 1 ในเทคโนโลยีที่สุ่มเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล, พบมัลแวร์มากกว่า 70,000 ตัวต่อวันส่งผลให้คนหลายล้านคนตกเป็นเหยื่อภัยร้ายในโลกไซเบอร์โดยไม่รู้ตัว....
แนะรัฐตระหนักภัยออนไลน์
ยูจิน บอกว่า อาชญากรไซเบอร์ เหล่านี้มีหลากหลายประเภท มุ่งเน้นการโจมตีในรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น นักเคลื่อนไหวเจาะระบบ (Hacktivists) เด็กหนุ่มที่ไม่ธรรมดา เจาะข้อมูลทุกอย่างจนสร้างความปั่นป่วนให้ระบบเศรษฐกิจ ล้วงตับข้อมูลระบบสาธารณะจนยากที่จะควบคุม ผู้ก่อการร้ายผ่านโลกไซเบอร์ (Terrorism) ที่มีเป้าหมายโจมตีระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ระบบขนส่ง ระบบไฟฟ้า เป็นต้น
ภัยร้ายข้างต้น เป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลหลายประเทศเริ่มตระหนัก และต้องการปราบอย่างจริงจัง กระทบไปถึงหน่วยงานอย่าง "อินเตอร์โพล" หรือองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ ที่เรียกกันติดปากว่า ตำรวจสากล ยังอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องโดดเข้ามาจัดการ
"ผมกลัวว่า อะไรก็ตามในโลกนี้ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะกลายเป็นเครื่องมือการก่อการร้ายที่เราคาดไม่ถึง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องหันมาพัฒนาระบบป้องกันการก่ออาชญากรรม หรือการก่อการร้ายในรูปแบบนี้ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น"
จับตา 2 ไวรัสสายพันธุ์ร้าย
ในงานสัมมนา " Kaspersky Lab Cyber Conference 2012 : IT Security in the age of Cyber Warfare" ยูจิน พูดถึง "ดูกุ" (Duqu) และ "สตักซ์เน็ต" (Stuxnet) 2 ภัยร้ายออนไลน์สำคัญ ที่กำลังเป็นเครื่องมือก่อการร้ายยุคใหม่ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
"สตักซ์เน็ต" มัลแวร์ที่มีความซับซ้อน ไม่แพร่ตัวเองผ่านอินเทอร์เน็ต แต่จะแพร่ผ่านยูเอสบี ธัมไดร์ฟ เครื่องที่ติดสตักซ์เน็ตสามารถแพร่ตัวมันเองให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ในเครื่อข่ายภายใน (Private network) มีเป้าหมายทำลายล้างระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบหยุดชะงัก หรือเกิดระเบิดได้ เพราะระบบขัดข้อง ว่ากันว่า สตักซ์เน็ต คือ มัลแวร์ที่ถูกนำเอาไปใช้เป็นอาวุธสงคราม และกว่า 60% ของคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่ติดสตักซ์เน็ตอยู่ใน "อิหร่าน"
ขณะที่ "ดูกุ" เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ลึกลับ มีโค้ดการทำงานคล้าย สตักซ์เน็ต มีภารกิจทำลายระบบคอมพิวเตอร์ เช่น โรงงานนิวเคลียร์ในประเทศอิหร่านที่โดนถล่มไปก่อนหน้านี้
ความน่ากลัวของ ดูกุ ทำให้ภาครัฐ และนักลงทุนทั่วโลกพยายามทำลายล้างเจ้าไวรัสตัวนี้ให้ได้ เพราะนักวิเคราะห์ระบบเคยให้ข้อมูลว่า ดูกุ ถูกพัฒนาโดยแฮคเกอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยวางพื้นฐานการโจมตีระบบสำคัญๆ ของ โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน และระบบท่อส่งต่างๆ
ที่ผ่านมา "ยูจิน" พยายามสร้างความตื่นตัวให้รัฐบาลทั่วโลก รวมไปถึงผู้ใช้งานระดับทั่วไปตระหนัก ถึงความน่ากลัวของภัยร้ายออนไลน์เหล่านี้ อย่าคิดว่ามันก็แค่ "ไวรัส" หรือแค่ "มัลแวร์" แต่มันคือหนึ่งในเครื่องมือทำสงครามในโลกยุคใหม่ ที่อาจสร้างความเสียหายแบบประเมินค่ามิได้
เขาจึงเสนอให้ตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า International Cyber Security Agency หรือ ICSA องค์กรอิสระ ที่มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะรัฐบาลต่างๆ โดยเขาระบุว่า ICSA อาจไม่สามารถกำจัดอาชญากรรมไซเบอร์ให้หมดไปได้ หากแต่มันจะช่วยทำสงครามไซเบอร์บรรเทาเบาบางลง ที่สำคัญต้องขึ้นอยู่กับความตระหนักที่พร้อมจะป้องกัน และแก้ไขของรัฐบาลในแต่ละประเทศด้วย
แคสเปอร์สกี้ชี้ไทยตลาดสำคัญ
ยูจิน ในฐานะซีอีโอของ แคสเปอร์สกี้ แลป ระบุด้วยว่า ปีนี้จะเป็นปีแห่งความท้าทายในตลาดซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย แม้ต้องฝ่าฟันกับภัยคุกคามสมัยใหม่ที่ซับซ้อน และเรียงแถวมาให้จัดการอย่างล้นหลาม ภายใต้สภาวะแวดล้อมทางการตลาดที่แข่งขันอย่างเข้มข้น หากแต่บริษัทก็ยังสามารถทำยอดขายได้ในระดับ 612 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 14%
"ปีนี้ บริษัทพร้อมรับมือความท้าทายใหม่ๆ โดยจะเน้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้น พร้อมปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น"
เขา ระบุว่า ต้องการให้องค์กรยังคงเป็นรูปแบบไปรเวท ที่จะช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพและคล่องตัว ตลอดจนให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงระหว่างนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและการเติบโตขององค์กร พร้อมๆ ไปกับการขยายเครือข่ายคู่ค้าระดับโลก โดยอิงจากแนวทางการขายภายในประเทศ และสำหรับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ที่ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ
ขณะที่ "จิมมี่ ฟง" ผู้อำนวยการฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่าย แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกว่า ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น คนไทยส่วนใหญ่ต่างตระหนักถึงอันตรายที่อาจขึ้นเกิดจากภัยคุกคาม และให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวในโลกไซเบอร์ โดยที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ในไทยได้รับการตอบที่ดี ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นในปี 2554 และรายรับที่เติบโตเป็น 2
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
แต่งตัวเว็บไซต์ไม่ให้ตกยุค รับมือดีไวซ์ตระกูล “ไอ”
จึงไม่แปลกที่การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ "โลกอินเทอร์เน็ต" และ “เอชทีเอ็มแอล 5” จะกลายเป็นสีสัน และกำลังก้าวมาแสดงบทบาทอย่างเต็มที่ทุกวินาทีของการทำธุรกิจในเวลานี้
สู่ยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนฯ
“สงวน ธรรมโรจน์สกุล” ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมนักพัฒนา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างช่วงของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ผู้ใช้น่าจะสังเกตเห็นความไม่สมบูรณ์บางอย่างที่บางครั้งเปิดเว็บดูได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ไม่ครบบ้าง ไม่เหมือนเดิมบ้างตามความหลากหลายของดีไวซ์ ซึ่งควบคุมได้ยากมาก
ตระหนักรู้ไม่ถึง 10%
ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมนักพัฒนาคนเดิม แนะว่า การเปลี่ยนแปลงต้องมีอย่างต่อเนื่อง มีดีไวซ์และเบราเซอร์เป็นตัวขับเคลื่อน หากรอให้ผู้ใช้เปลี่ยนให้หมดก่อนแล้วค่อยเริ่มทำตามคงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่แน่ว่าอาจใช้เวลาเป็น 10 ปี
เขาประเมินว่า เวลาที่ตลาดจะเกิดการใช้งานเอชทีเอ็มแอล 5 แบบจริงจัง คือ เมื่อมีผู้ใช้งานเปลี่ยนตัวเองไปใช้เทคโนโลยีและดีไวซ์ใหม่ๆ ที่รองรับมากขึ้น ขณะเดียวกัน ด้านผู้พัฒนาต้องพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องตามพฤติกรรมและดีไวซ์ที่มีอยู่ในตลาด
“ประมาณปี 2557 และ 2558 จะเห็นชัดขึ้น ส่วนตัวเห็นว่าทั้งฝั่งผู้พัฒนาโมบาย และเว็บไซต์ต้องตระหนักรู้ถึงเรื่องนี้ได้แล้ว หากประเมินเฉพาะนักพัฒนาที่เป็นพาร์ทเนอร์กับไมโครซอฟท์ราว 2-3 หมื่นรายซึ่งไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นนักพัฒนาทั้งประเทศ พบว่าการรับรู้มีอยู่น้อยกว่า 10%”
พร้อมระบุว่า สถานการณ์ ณ ขณะนี้ เหมือนไก่กับไข่ที่การใช้งานมีทั้งเทคโนโลยีเวอร์ชั่นเก่าและใหม่ผสมกันไป ถ้าผู้ใช้ซื้อเครื่องใหม่ไปเลยนั้นไม่ค่อยน่าห่วง แต่ที่เป็นอยู่ยังมีเครื่องเก่าที่มีเทคโนโลยีเดิมติดมาด้วย
ปั้นเว็บไทยสู่เวทีสากล
สำหรับการจัดประกวดข้างต้น การสมัครและส่งผลงานเข้าแข่งขันทำได้ระหว่างวันที่ 16 ม.ค.ถึง 30 มี.ค.ปีนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://html5Thailand.com ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเข้าสมัครประกวดแล้ว 386 คน ในเฟซบุ๊คแฟนเพจ “HTML5 Developer Thailand” มีผู้สนใจอยู่กว่า 1,090 คน
เขากล่าวด้วยว่า แม้โครงการจะจบแต่คอมมูนิตี้ที่มียังคงอยู่ วัตถุประสงค์หลักของไมโครซอฟท์ คือ สร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นในหมู่นักพัฒนาไทย ถือเป็นครั้งแรกของการเริ่มต้นให้ใช้เทคโนโลยีเอชทีเอ็มแอล 5 ในไทยอย่างเป็นรูปธรรม เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันในระดับสากล
นอกจากนี้ แผนที่วางไว้ไม่ได้มองไปที่การสร้างเป็นโปรเจคต้นแบบเพราะหากทำแค่นั้นจะเป็นแค่การสร้างการตระหนักรู้ และสร้างทักษะให้เท่านั้น ที่ตั้งใจคือการสนับสนุนให้เกิดการสร้างอีโคซิสเต็มส์ ผลักดันให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทยมากที่สุด หลังโครงการแรกผ่านไปคิดว่าจะมีโครงการอื่นๆ ตามมาอีกแน่ๆ
“มุมของเทคนิคคนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ติดกับของเดิมทั้งๆ ที่มีเทคโนโลยีอื่นที่ดีกว่า เราจึงต้องรอดูผลของการแข่งขันครั้งนี้ก่อน แล้วค่อยเตรียมแผนผลักดันที่เหมาะสมต่อไป” สงวนให้ความเห็น
ไฟล์บังคับจากตระกูล “i”
“อภิศิลป์ ตรุงกานนท์” ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์พันทิปดอทคอม หนึ่งในเว็บไทยที่ตัดสินใจใช้เอชทีเอ็มแอล 5 และหัวเรือใหญ่ผู้จัดทำโปรเจค พันทิป 3 จี เล่าเสริมว่า เอชทีเอ็มแอล 5 ทำให้เว็บไซต์เกิดไดนามิกมากขึ้น ส่วนของพันธ์ทิพย์ดอทคอมเองอยู่ระหว่างทดสอบระบบเวอร์ชั่นเบต้าโดยเปิดให้ใช้แค่เฉพาะทีมงาน มีกำหนดการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือน ก.ค.
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเอชทีเอ็มแอล 5 ยังไม่อาจฆ่าแฟลชได้ การพัฒนาฟีเจอร์บางอย่างยังแทนกันไม่ได้ทั้งหมด แต่มีสัญญาณที่ดี คือ ผู้ให้บริการเว็บเบราเซอร์รายใหญ่ของโลกแทบทุกรายเห็นตรงกันว่าจะมุ่งไปที่เอชทีเอ็มแอล 5 แล้ว
อภิศิลป์ ชี้ว่า การที่จะเปลี่ยนหรือไม่นโยบายของเว็บไซต์จะพิจารณาตามจำนวนผู้ใช้เทคโนโลยี ที่ผ่านมา กับเบราเซอร์ที่มีคนใช้น้อยแล้วจะยังคงเข้ามาอ่านได้ตามปกติ แต่ไม่อาจใช้งานได้สมบูรณ์แบบทุกฟีเจอร์ที่มี
พร้อมกับยกตัวอย่างว่า ผู้ใช้เบราเซอร์ อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอร์ปัจจุบันมี 35% อันดับ 1 คือ เวอร์ชั่น 8 มี 67% เวอร์ชั่น 7 มี 13% ส่วนเวอร์ชั่น 9 ที่รองรับเอชทีเอ็มแอล 5 แล้วมี 13% ดังนั้น จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ขณะนี้การณ์ไว้แล้วแต่ยังใส่มากเกินไปไม่ได้ ถ้าเมื่อใดย้ายมาที่ 9 มากขึ้นเมื่อนั้นก็จะปรับตาม
เขากล่าวอีกว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่เข้ามาผลักดัน คือ จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแทบเล็ตระบบปฏิบัติการไอโอเอสที่มีอยู่จำนวนไม่น้อย สถิติระบุว่าจากผู้เข้าชม 7 แสนคนต่อวัน มีผู้เข้าใช้เว็บไซต์ผ่านโมบาย ดีไวซ์ อยู่ 15% ในจำนวนนี้อุปกรณ์ยอดนิยมอันดับ คือ 1. ไอโฟน 2. ไอแพด 3. กาแล็กซี เอสทู เกิดเป็นไฟล์บังคับที่ไม่สามารถใช้แฟลชได้
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/
สู่ยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนฯ
“สงวน ธรรมโรจน์สกุล” ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมนักพัฒนา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างช่วงของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ผู้ใช้น่าจะสังเกตเห็นความไม่สมบูรณ์บางอย่างที่บางครั้งเปิดเว็บดูได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ไม่ครบบ้าง ไม่เหมือนเดิมบ้างตามความหลากหลายของดีไวซ์ ซึ่งควบคุมได้ยากมาก
ตระหนักรู้ไม่ถึง 10%
ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมนักพัฒนาคนเดิม แนะว่า การเปลี่ยนแปลงต้องมีอย่างต่อเนื่อง มีดีไวซ์และเบราเซอร์เป็นตัวขับเคลื่อน หากรอให้ผู้ใช้เปลี่ยนให้หมดก่อนแล้วค่อยเริ่มทำตามคงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่แน่ว่าอาจใช้เวลาเป็น 10 ปี
เขาประเมินว่า เวลาที่ตลาดจะเกิดการใช้งานเอชทีเอ็มแอล 5 แบบจริงจัง คือ เมื่อมีผู้ใช้งานเปลี่ยนตัวเองไปใช้เทคโนโลยีและดีไวซ์ใหม่ๆ ที่รองรับมากขึ้น ขณะเดียวกัน ด้านผู้พัฒนาต้องพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องตามพฤติกรรมและดีไวซ์ที่มีอยู่ในตลาด
“ประมาณปี 2557 และ 2558 จะเห็นชัดขึ้น ส่วนตัวเห็นว่าทั้งฝั่งผู้พัฒนาโมบาย และเว็บไซต์ต้องตระหนักรู้ถึงเรื่องนี้ได้แล้ว หากประเมินเฉพาะนักพัฒนาที่เป็นพาร์ทเนอร์กับไมโครซอฟท์ราว 2-3 หมื่นรายซึ่งไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นนักพัฒนาทั้งประเทศ พบว่าการรับรู้มีอยู่น้อยกว่า 10%”
พร้อมระบุว่า สถานการณ์ ณ ขณะนี้ เหมือนไก่กับไข่ที่การใช้งานมีทั้งเทคโนโลยีเวอร์ชั่นเก่าและใหม่ผสมกันไป ถ้าผู้ใช้ซื้อเครื่องใหม่ไปเลยนั้นไม่ค่อยน่าห่วง แต่ที่เป็นอยู่ยังมีเครื่องเก่าที่มีเทคโนโลยีเดิมติดมาด้วย
ปั้นเว็บไทยสู่เวทีสากล
สำหรับการจัดประกวดข้างต้น การสมัครและส่งผลงานเข้าแข่งขันทำได้ระหว่างวันที่ 16 ม.ค.ถึง 30 มี.ค.ปีนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://html5Thailand.com ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเข้าสมัครประกวดแล้ว 386 คน ในเฟซบุ๊คแฟนเพจ “HTML5 Developer Thailand” มีผู้สนใจอยู่กว่า 1,090 คน
เขากล่าวด้วยว่า แม้โครงการจะจบแต่คอมมูนิตี้ที่มียังคงอยู่ วัตถุประสงค์หลักของไมโครซอฟท์ คือ สร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นในหมู่นักพัฒนาไทย ถือเป็นครั้งแรกของการเริ่มต้นให้ใช้เทคโนโลยีเอชทีเอ็มแอล 5 ในไทยอย่างเป็นรูปธรรม เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันในระดับสากล
นอกจากนี้ แผนที่วางไว้ไม่ได้มองไปที่การสร้างเป็นโปรเจคต้นแบบเพราะหากทำแค่นั้นจะเป็นแค่การสร้างการตระหนักรู้ และสร้างทักษะให้เท่านั้น ที่ตั้งใจคือการสนับสนุนให้เกิดการสร้างอีโคซิสเต็มส์ ผลักดันให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทยมากที่สุด หลังโครงการแรกผ่านไปคิดว่าจะมีโครงการอื่นๆ ตามมาอีกแน่ๆ
“มุมของเทคนิคคนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ติดกับของเดิมทั้งๆ ที่มีเทคโนโลยีอื่นที่ดีกว่า เราจึงต้องรอดูผลของการแข่งขันครั้งนี้ก่อน แล้วค่อยเตรียมแผนผลักดันที่เหมาะสมต่อไป” สงวนให้ความเห็น
ไฟล์บังคับจากตระกูล “i”
“อภิศิลป์ ตรุงกานนท์” ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์พันทิปดอทคอม หนึ่งในเว็บไทยที่ตัดสินใจใช้เอชทีเอ็มแอล 5 และหัวเรือใหญ่ผู้จัดทำโปรเจค พันทิป 3 จี เล่าเสริมว่า เอชทีเอ็มแอล 5 ทำให้เว็บไซต์เกิดไดนามิกมากขึ้น ส่วนของพันธ์ทิพย์ดอทคอมเองอยู่ระหว่างทดสอบระบบเวอร์ชั่นเบต้าโดยเปิดให้ใช้แค่เฉพาะทีมงาน มีกำหนดการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือน ก.ค.
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเอชทีเอ็มแอล 5 ยังไม่อาจฆ่าแฟลชได้ การพัฒนาฟีเจอร์บางอย่างยังแทนกันไม่ได้ทั้งหมด แต่มีสัญญาณที่ดี คือ ผู้ให้บริการเว็บเบราเซอร์รายใหญ่ของโลกแทบทุกรายเห็นตรงกันว่าจะมุ่งไปที่เอชทีเอ็มแอล 5 แล้ว
อภิศิลป์ ชี้ว่า การที่จะเปลี่ยนหรือไม่นโยบายของเว็บไซต์จะพิจารณาตามจำนวนผู้ใช้เทคโนโลยี ที่ผ่านมา กับเบราเซอร์ที่มีคนใช้น้อยแล้วจะยังคงเข้ามาอ่านได้ตามปกติ แต่ไม่อาจใช้งานได้สมบูรณ์แบบทุกฟีเจอร์ที่มี
พร้อมกับยกตัวอย่างว่า ผู้ใช้เบราเซอร์ อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอร์ปัจจุบันมี 35% อันดับ 1 คือ เวอร์ชั่น 8 มี 67% เวอร์ชั่น 7 มี 13% ส่วนเวอร์ชั่น 9 ที่รองรับเอชทีเอ็มแอล 5 แล้วมี 13% ดังนั้น จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ขณะนี้การณ์ไว้แล้วแต่ยังใส่มากเกินไปไม่ได้ ถ้าเมื่อใดย้ายมาที่ 9 มากขึ้นเมื่อนั้นก็จะปรับตาม
เขากล่าวอีกว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่เข้ามาผลักดัน คือ จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแทบเล็ตระบบปฏิบัติการไอโอเอสที่มีอยู่จำนวนไม่น้อย สถิติระบุว่าจากผู้เข้าชม 7 แสนคนต่อวัน มีผู้เข้าใช้เว็บไซต์ผ่านโมบาย ดีไวซ์ อยู่ 15% ในจำนวนนี้อุปกรณ์ยอดนิยมอันดับ คือ 1. ไอโฟน 2. ไอแพด 3. กาแล็กซี เอสทู เกิดเป็นไฟล์บังคับที่ไม่สามารถใช้แฟลชได้
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/
วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
MS เผยโฉมโลโก้ของ Windows 8 แล้วมาดูกัน
ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ก็ยกเครื่องโลโกใหม่ให้กับระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดอย่าง Windows 8 โดยจะเลิกใช้โลโก้ทีมีลักษณะคล้ายธงรูปหน้าต่างสี่ช่องหลากสีสันปลิวไสวที่ใช้มานานนับ 20 ปีด้วยโลโก้ที่เรียบง่ายมากๆ มีแค่หน้าต่างช่องกระจกสี่เหลี่ยมที่มีมุมมองแบบ perspective ซึ่งสีสันของโลโกไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็นสีฟ้าสีเดียว แต่จะปรับเปลี่ยนสีให้เข้ากับภาพธีมที่ผู้ใช้กำหนด
นอกจาก Windows 8 จะมีการยกเครื่องอินเตอร์เฟซใหม่ด้วย Metro UI แล้ว โลโก้ของมันยังถือเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของ Windows ที่เลิกใช้โลโกแบบเดิมที่ลักษณะคล้ายธงรูปหน้าต่างหลากสีกำลังปลิวสไว โดยโลโก้ใหม่นี้เข้าใจว่า การออกแบบน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากอินเตอร์เฟซ Metro ด้วย ซึ่งแทนไอคอนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ของ Metro UI ด้วยช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมที่ดูเรียบง่าย และล้อไปกับอินเตอร์เฟซใหม่ โดยเป็นผลงานการออกแบบของเอเจนซี่ Pentagram
แม้โลโก้ใหม่ของ Windows 8 จะใช้สีฟ้า แต่ในการใช้งานบนระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่นี้ สีของโลโก้จะเปลียนไปตามข้อกำหนดของผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวอ้างว่าโลโก Windows 8 ดูเรียบง่ายคล้ายโลโก้ของ Windows 1 (รูปข้างบนนี้) ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นธงรูปหน้าต่างหลากสีปลิวไสว (แทนการเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง) ที่ใช้กับ Windows 3.1 ในปี 1992 ซึ่ง Pentagram เผยถึงไอเดียการออกแบบโลโก้ Windows 8 ว่า โลโก้เดิมไม่ make sene ชื่อของผลิตภัณฑ์คือ Windows แต่ทำไมใช้รูป"ธง"? แล้วคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ล่ะครับ คิดเห็นอย่างไรกับโลโก้ Windows 8 ชอบกันไหมครับ
ที่มา http://www.arip.co.th/
นอกจาก Windows 8 จะมีการยกเครื่องอินเตอร์เฟซใหม่ด้วย Metro UI แล้ว โลโก้ของมันยังถือเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของ Windows ที่เลิกใช้โลโกแบบเดิมที่ลักษณะคล้ายธงรูปหน้าต่างหลากสีกำลังปลิวสไว โดยโลโก้ใหม่นี้เข้าใจว่า การออกแบบน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากอินเตอร์เฟซ Metro ด้วย ซึ่งแทนไอคอนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ของ Metro UI ด้วยช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมที่ดูเรียบง่าย และล้อไปกับอินเตอร์เฟซใหม่ โดยเป็นผลงานการออกแบบของเอเจนซี่ Pentagram
แม้โลโก้ใหม่ของ Windows 8 จะใช้สีฟ้า แต่ในการใช้งานบนระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่นี้ สีของโลโก้จะเปลียนไปตามข้อกำหนดของผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวอ้างว่าโลโก Windows 8 ดูเรียบง่ายคล้ายโลโก้ของ Windows 1 (รูปข้างบนนี้) ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นธงรูปหน้าต่างหลากสีปลิวไสว (แทนการเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง) ที่ใช้กับ Windows 3.1 ในปี 1992 ซึ่ง Pentagram เผยถึงไอเดียการออกแบบโลโก้ Windows 8 ว่า โลโก้เดิมไม่ make sene ชื่อของผลิตภัณฑ์คือ Windows แต่ทำไมใช้รูป"ธง"? แล้วคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ล่ะครับ คิดเห็นอย่างไรกับโลโก้ Windows 8 ชอบกันไหมครับ
ที่มา http://www.arip.co.th/
วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
จ้าวเวหาเครื่องบินบังคับวิทยุ เตรียมพร้อมลงสนามแข่ง ชิงความเป็นตัวแทนภาคเข้าสู่ระดับประเทศ
เครื่องบินบังคับวิทยุแบบปีกหมุนหรือจ้าวเวหาปีกหมุน เป็นหนึ่งในผลงานประดิษฐ์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าชมงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2555 ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการแข่งขันขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่าการแข่งขันเครื่องบินบังคับวิทยุแบบปีกหมุนเป็นกิจกรรมที่ วช. ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และสถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัดทำโครงการอบรมภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ : การพัฒนาเครื่องบินบังคับวิทยุแบบปีกหมุน เพื่อส่งเสริมการประดิษฐ์และออกแบบเครื่องบินจำลอง ที่สามารถเคลื่อนไหวและควบคุมได้ด้วยวิทยุบังคับ
การออกแบบโครงสร้างเครื่องบินใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น วัสดุเหลือใช้ประเภทโฟม ซึ่งผู้ประดิษฐ์สามารถแสดงความคิดและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ได้ด้วยตัวเองโดยเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การถ่ายภาพทางอากาศเพื่อใช้ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตร การช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น
นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวเพิ่มเติมว่ากฎกติกาในการแข่งขันระบุให้ผู้เข้าแข่งขันใช้เครื่องบินที่มีปีกหมุนหรือใบพัด 2 ชั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 340 มิลลิเมตร ใช้มอเตอร์ขนาด 180 สามารถปรับแต่งและพัฒนารูปแบบของเครื่องบินบังคับให้ต่างจากต้นแบบที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรมเพื่อให้มีความสวยงามและมีสมรรถภาพในการบิน
สนามการแข่งขันเป็นสนามในร่ม ในแต่ละรอบจะแข่งขันครั้งละ 2 ทีม ปฏิบัติภารกิจภายในเวลา 2 นาที เริ่มจากบังคับเครื่องบินขึ้นจากจุดเริ่มต้น บินผ่านอุปสรรค เก็บสัมภาระ วางสัมภาระในจุดที่กำหนด และลงจอดบนลานจอด ซึ่งในแต่ละจุดจะมีอุปสรรคซึ่งมีคะแนนที่แตกต่างกัน โดยผู้มีคะแนนสูงสุดและทำเวลาน้อยสุดจะเป็นผู้ชนะ หากมีคะแนนเท่ากันจะตัดสินให้ผู้ที่ใช้เวลาน้อยกว่าเป็นผู้ชนะ
ในการแข่งขันจ้าวเวหาแบบปีกหมุนครั้งนี้ ทีมเพื่อนบินโคราช 2 ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา คว้ารางวัลชนะเลิศจากผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 55 ทีม ได้รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาทพร้อมถ้วยรางวัลและทีมอื่นๆ ได้รับรางวัลรองลงมาตามลำดับ
และในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ วช. มีกำหนดจัดการแข่งขันเครื่องบินบังคับวิทยุแบบปีกหมุนในระดับภูมิภาคสำหรับนักเรียน นักศึกษาเพื่อคัดเลือกผู้เข้ารอบ 16 ทีม จากทุกภูมิภาคเข้าแข่งขันชิงถ้วยรางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นภูมิภาคแรก
เยาวชนผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ วช. หมายเลขโทรศัพท์ 0 2579 2288
สิ่งประดิษฐ์จากสองนักศึกษา มทร.ธัญบุรี (ห้ามโทร.ก่อนได้รับอนุญาต)
ขบวนการค้ายาเสพติดและเครือข่ายการค้ายาเสพติดในเรือนจำที่ตำรวจสามารถจับกุมได้ ในปัจจุบัน เครื่องมือสำคัญที่คนร้ายนำมาใช้ในการปฏิบัติการคือ โทรศัพท์มือถือ โดยผู้ค้าที่เป็นผู้ต้องขัง จะโทรศัพท์มือมือสั่งการเกี่ยวกับการซื้อขายกับผู้อยู่ข้างนอกในเรือนจำ การแก้ปัญหาและเป็นการตัดขาดระหว่างเครือข่ายการค้าขายยาเสพติดวิธีหนึ่งก็คือการตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ
จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ นายธัชรินทร์ เมืองสูน และนายวีระวัฒน์ ทองเนตร สองนักศึกษา จากภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องมือตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ และพัฒนาเพื่อหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ดังกล่าวต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้สัญญาณโทรศัพท์มือมือค้าขายยาเสพติดในเรือนจำแล้ว การตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือยังสามารถนำไปใช้ได้กับสถานที่ ที่ห้ามใช้โทรศัพท์ เช่น โรงหนัง หรือระหว่างการประชุมและพื้นที่เสี่ยงภัย ที่อาจจะอาศัยการกดชนวนระเบิดจากโทรศัพท์มือถือซึ่งก็พบเห็นอยู่บ่อยครั้งในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นต้น
เครื่องมือตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ที่คิดค้นขึ้นนี้ จะทำการสร้างความถี่พาห์ ที่มีความถี่ครอบคลุมตลอดทั้งย่านความถี่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM 900 ที่รับ-ส่ง กับสถานีฐาน(Base Station) ทำให้โทรศัพท์ไม่สามารถแยกข้อมูลระหว่างระบบ GSM 900 กับเครื่องป้องกันสัญญาณโทรศัพท์ได้ ส่งผลให้โทรศัพท์ไม่สามารถทำงานได้
นอกจากนั้น นายเชฏฐพร โอพั่ง และนายวิชัย เพชรคงทอง นักศึกษาจากภาควิชาเดียวกัน ได้พัฒนาเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถตัดสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้เพิ่มขึ้นคือนอกจากจะสามารถตัดสัญญาณในย่าน 900 MHz แล้วยังสามารถตัดสัญญาณ ในย่าน 1800 MHz ได้อีกด้วย
นักศึกษาเจ้าของผลงานยังได้เล่าถึงหลักการทำงานที่สำคัญคร่าวๆให้เราฟังอีกว่า ในการทำงานของเครื่อง จะประกอบด้วยวงจรกำเนิดความถี่ควบคุมด้วยแรงดัน และวงจรกำเนิดสัญญาณ ลาดเอียงชนิดกระแสคงที่ โดยที่วงจร VCO จะกำเนิดสัญญาณที่มีความถี่ตั้งแต่ 925-960 MHz และ 1785-1900 MHz และ 1785-1900 MHz เพราะเป็นความถี่ที่ติดต่อระหว่างสถานีกับตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วมา Mixer กับสัญญาณรบกวนแล้วส่งเข้าสู่ภาคขยายสัญญาณแล้วส่งสัญญาณออกสู่สายอากาศเป็นลำดับต่อไป
อย่างไรก็ตาม อาจารย์พงษ์ศักดิ์ อำภา อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มนี้ยังบอกเราอีกด้วยว่า นักศึกษายังจะมุ่งหน้าพัฒนา เครื่องมือตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถตัดสัญญาณได้ครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับประชาชนและสังคมต่อไป
มณีรัตน์ ปัญญพงษ์ กองประชาสัมพันธ์ราชมงคลธัญบุรี // รายงาน
นักพัฒนาเกมเวียดนามขอสร้างชื่อระดับโลก น่าทึ่งมาก
มาถึง พ.ศ.นี้ คอวีดิโอเกมมีบทบาทใหม่ให้เล่น นั่นคือ กองกำลังคอมมิวนิสต์ของโฮจิมินห์ ที่สามารถปลดแอกจากฝรั่งเศสได้สำเร็จ
เกม "7554" พัฒนาโดย อีโมบิ เกมส์ บริษัทผลิตเกมในกรุงฮานอย เวียดนาม อ้างอิงเนื้อหาจากการสู้รบที่โด่งดังที่สุดของเวียดนาม อันได้แก่ ยุทธการเดียนเบียนฟู ที่เวียดนามมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2497
ชาวเวียดนามเป็นคอเกมตัวยง เกมดังๆ อย่าง “คอลล์ ออฟ ดิวตี้” ของ แอคติวิชั่น บลิซซาร์ด อิงค์ เป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในกรุงฮานอยและโฮจิมินห์ซิตี้ จนผู้นำคอมมิวนิสต์วิตกว่าการเล่นเกมมากเกินไป จะทำให้วัยรุ่นมีผลการเรียนตกต่ำ จึงประกาศให้ร้านเกมริมถนนเปิดได้ไม่เกิน 4 ทุ่ม
เหวียน จวน ฮุย นักพัฒนาเกมของ อีโมบิ พร้อมด้วยทีมงานของเขา ตัดสินใจหาประโยชน์จากความนิยมเล่นเกม โดยใช้เวลา 2 ปี กับเงินประมาณ 850,000 ดอลลาร์ พัฒนาเกม 7554ด้วยความหวังว่าจะสร้างชื่อเสียงในอุตสาหกรรมวีดิโอเกมโลก ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 65,000 ล้านดอลลาร์ ในแต่ละปี
นักวิเคราะห์ กล่าวว่า งบประมาณของ อีโมบิ เทียบกับค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างต่ำในเวียดนาม บ่งบอกว่า บริษัทตั้งใจผลิตเกมคุณภาพสูง
หากดูเผินๆ เกมนี้อาจไม่โดดเด่นในหมู่ผู้เล่นวงกว้าง แต่ ฮุย วัย 32 ปี กล่าวว่า พวกเขาภาคภูมิใจกับยุทธการเดียนเบียนฟู และต้องการให้คนทั่วโลกรับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ชาวเวียดนาม
นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ความนิยมดาวน์โหลดเกมแทนการซื้อในร้าน ทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นที่เกมอย่าง 7554 จะได้รับความนิยมอย่างไม่คาดหมาย และเกมที่สามารถดาวน์โหลดใส่คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แท่นบังคับราคาแพง
ดูตัวอย่างจาก โรวิโอ เอนเตอร์เทนเมนต์ บริษัทพัฒนาเกมรายเล็กในฟินแลนด์ ซึ่งสร้างเกม "แองกรีเบิร์ด" สำหรับโทรศัพท์ไอโฟน ของ แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ เมื่อปี 2552 ปัจจุบัน เกมนี้กลายเป็นขุมทรัพย์ที่กวาดรายได้จากทั่วโลก และ โรวิโอ ก็ไม่ใช่บริษัทโนเนมอีกต่อไป
ไบรอัน บลู ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ การ์ทเนอร์ อิงค์ บริษัทที่ปรึกษาเทคโนโลยีชื่อดัง กล่าวว่า เกมก็เหมือนกับภาพยนตร์ ในแง่ที่สามารถกระจายตัวไปได้ทั่ว บริษัทพัฒนาเกมรายเล็กสามารถผลิตเกม และเปลี่ยนแปลงตลาดได้
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ อุตสาหกรรมนี้ยังอยู่ใต้อิทธิพลของ แอคติวิชั่น อิเล็กทรอนิกส์ อาร์ต อิงค์ และบริษัทอื่นๆ อีกไม่กี่ราย และของเถื่อนก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง โดยเฉพาะในเวียดนาม ซึ่งมีเกมเถื่อนวางขายอย่างเปิดเผยตามท้องถนน
ในสายตาของ ฮุย เกม 7554 เป็นหนทางให้ อีโมบิ สร้างชื่อเสียงให้ตัวเองมากกว่า
ฮุย และทีมงาน สร้างฉากหลังของเวียดนามในยุคสงครามแบบสมจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขอความช่วยเหลือจาก ไซต์เมนต์ แห่งเยอรมนี ในการสร้างตัวละครที่ดูน่าเชื่อถือ โดยบริษัทนี้เป็นผู้พัฒนาและจำหน่ายซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) สำหรับนักพัฒนาวีดิโอเกม
เกม 7554 ออกวางจำหน่ายในเดือนนี้ ในราคา 12 ดอลลาร์
ผู้เล่นเกมจะเป็นนักรบกองโจรที่ต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีเทคโนโลยีเหนือกว่า แบบเดียวกับที่กองกำลังเวียดนามเผชิญเมื่อเกือบ 60 ปีก่อน ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ และนายพลโวเหงียนเกี๊ยบ
กองกำลังเวียดนามขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์และการสนับสนุนทางอากาศ แต่กลับสามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสได้ ที่สมรภูมิเดียนเบียนฟู โดยลอบเข้าไปตามค่ายของฝรั่งเศส และสังหารศัตรูด้วยมีดหรือปืน
ฮุย กล่าวว่า เขาไม่ได้กังวลว่าพล็อตเรื่องอาจไกลตัวนักเล่มเกมตะวันตก สิ่งสำคัญที่สุด คือ เกมนี้ต้องอาศัยความไว และความลื่นไหลของตัวละครที่ตอบสนองคำสั่งของผู้เล่น
"พวกเราในเวียดนามไม่ได้คุ้นเคยกับสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ยังสนุกสนานกับเกม คอลล์ ออฟ ดิวตี้ ได้ ทุกคนสามารถสนุกได้กับทุกเกม ตราบใดที่ให้ความเพลิดเพลินและมีรางวัลตอบแทน" ฮุยกล่าว
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
เกม "7554" พัฒนาโดย อีโมบิ เกมส์ บริษัทผลิตเกมในกรุงฮานอย เวียดนาม อ้างอิงเนื้อหาจากการสู้รบที่โด่งดังที่สุดของเวียดนาม อันได้แก่ ยุทธการเดียนเบียนฟู ที่เวียดนามมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2497
ชาวเวียดนามเป็นคอเกมตัวยง เกมดังๆ อย่าง “คอลล์ ออฟ ดิวตี้” ของ แอคติวิชั่น บลิซซาร์ด อิงค์ เป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในกรุงฮานอยและโฮจิมินห์ซิตี้ จนผู้นำคอมมิวนิสต์วิตกว่าการเล่นเกมมากเกินไป จะทำให้วัยรุ่นมีผลการเรียนตกต่ำ จึงประกาศให้ร้านเกมริมถนนเปิดได้ไม่เกิน 4 ทุ่ม
เหวียน จวน ฮุย นักพัฒนาเกมของ อีโมบิ พร้อมด้วยทีมงานของเขา ตัดสินใจหาประโยชน์จากความนิยมเล่นเกม โดยใช้เวลา 2 ปี กับเงินประมาณ 850,000 ดอลลาร์ พัฒนาเกม 7554ด้วยความหวังว่าจะสร้างชื่อเสียงในอุตสาหกรรมวีดิโอเกมโลก ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 65,000 ล้านดอลลาร์ ในแต่ละปี
นักวิเคราะห์ กล่าวว่า งบประมาณของ อีโมบิ เทียบกับค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างต่ำในเวียดนาม บ่งบอกว่า บริษัทตั้งใจผลิตเกมคุณภาพสูง
หากดูเผินๆ เกมนี้อาจไม่โดดเด่นในหมู่ผู้เล่นวงกว้าง แต่ ฮุย วัย 32 ปี กล่าวว่า พวกเขาภาคภูมิใจกับยุทธการเดียนเบียนฟู และต้องการให้คนทั่วโลกรับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ชาวเวียดนาม
นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ความนิยมดาวน์โหลดเกมแทนการซื้อในร้าน ทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นที่เกมอย่าง 7554 จะได้รับความนิยมอย่างไม่คาดหมาย และเกมที่สามารถดาวน์โหลดใส่คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แท่นบังคับราคาแพง
ดูตัวอย่างจาก โรวิโอ เอนเตอร์เทนเมนต์ บริษัทพัฒนาเกมรายเล็กในฟินแลนด์ ซึ่งสร้างเกม "แองกรีเบิร์ด" สำหรับโทรศัพท์ไอโฟน ของ แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ เมื่อปี 2552 ปัจจุบัน เกมนี้กลายเป็นขุมทรัพย์ที่กวาดรายได้จากทั่วโลก และ โรวิโอ ก็ไม่ใช่บริษัทโนเนมอีกต่อไป
ไบรอัน บลู ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ การ์ทเนอร์ อิงค์ บริษัทที่ปรึกษาเทคโนโลยีชื่อดัง กล่าวว่า เกมก็เหมือนกับภาพยนตร์ ในแง่ที่สามารถกระจายตัวไปได้ทั่ว บริษัทพัฒนาเกมรายเล็กสามารถผลิตเกม และเปลี่ยนแปลงตลาดได้
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ อุตสาหกรรมนี้ยังอยู่ใต้อิทธิพลของ แอคติวิชั่น อิเล็กทรอนิกส์ อาร์ต อิงค์ และบริษัทอื่นๆ อีกไม่กี่ราย และของเถื่อนก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง โดยเฉพาะในเวียดนาม ซึ่งมีเกมเถื่อนวางขายอย่างเปิดเผยตามท้องถนน
ในสายตาของ ฮุย เกม 7554 เป็นหนทางให้ อีโมบิ สร้างชื่อเสียงให้ตัวเองมากกว่า
ฮุย และทีมงาน สร้างฉากหลังของเวียดนามในยุคสงครามแบบสมจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขอความช่วยเหลือจาก ไซต์เมนต์ แห่งเยอรมนี ในการสร้างตัวละครที่ดูน่าเชื่อถือ โดยบริษัทนี้เป็นผู้พัฒนาและจำหน่ายซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) สำหรับนักพัฒนาวีดิโอเกม
เกม 7554 ออกวางจำหน่ายในเดือนนี้ ในราคา 12 ดอลลาร์
ผู้เล่นเกมจะเป็นนักรบกองโจรที่ต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีเทคโนโลยีเหนือกว่า แบบเดียวกับที่กองกำลังเวียดนามเผชิญเมื่อเกือบ 60 ปีก่อน ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ และนายพลโวเหงียนเกี๊ยบ
กองกำลังเวียดนามขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์และการสนับสนุนทางอากาศ แต่กลับสามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสได้ ที่สมรภูมิเดียนเบียนฟู โดยลอบเข้าไปตามค่ายของฝรั่งเศส และสังหารศัตรูด้วยมีดหรือปืน
ฮุย กล่าวว่า เขาไม่ได้กังวลว่าพล็อตเรื่องอาจไกลตัวนักเล่มเกมตะวันตก สิ่งสำคัญที่สุด คือ เกมนี้ต้องอาศัยความไว และความลื่นไหลของตัวละครที่ตอบสนองคำสั่งของผู้เล่น
"พวกเราในเวียดนามไม่ได้คุ้นเคยกับสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ยังสนุกสนานกับเกม คอลล์ ออฟ ดิวตี้ ได้ ทุกคนสามารถสนุกได้กับทุกเกม ตราบใดที่ให้ความเพลิดเพลินและมีรางวัลตอบแทน" ฮุยกล่าว
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
iPad หน้าจอ 7 นิ้วลุ้นโผล่ปลายปีนี้ครับ
หลังจากทีเมื่อวานนี้่มีภาพหลุดของฝาหลัง iPad 3 ออกมาว่อนเน็ตปลุกกระแสก่อนการเปิดตัวที่คาดว่าจะเป็นสัปดาห์แรกของเดือน มีนาคมศกนี้ ล่าสุดมีรายงานจากนักวิเคราะห์บริษัท Technology Business Research ออกมาฟันธง(อีกแล้ว)ว่า Apple จะมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์อย่าง iPad ทีมีขนาดหน้าจอ 7 นิ้วในช่วงปลายปีนี้อย่างแน่นอน โดยนอกจากจะมีขนาดเล็กกว่ารุ่นปกติแล้ว มันยังมาพร้อมกับฟังก์ชัน Siri และเคสที่มีคีย์บอร์ดไร้สายด้วย
แหล่งข่าวยังแสดงความคิดเห็นที่มีต่อข่าวลือของ iPad 3 โดยระบุว่า ไม่น่าจะใช้โพรเซสเซอร์ควอดคอร์ เนื่องจากมีความต้องการพลังงานจากแบตเตอรี่ ค่อนข้างมาก แต่เชื่อว่า แอปเปิ้ลน่าจะแนะนำโพรเซสเซอร์ A6 ของชิปดูอัลคอร์ที่ทำงานเร็วกว่ารุ่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พวกเขาเชื่อว่า iPad รุ่นใหม่จะชูจุดเด่นเรื่องจอละเอียดสูง เช่นเดียวกับที่เป็นจุดขายสำหรับเรติน่าดิสเพลย์บนไอโฟน และมากับ Siri ในขณะเดียวกัน ยังมีการคาดการณ์ด้วยว่า iPad 2 รุ่น 16GB และเชื่อมต่อด้วย Wi-Fi เพียงอย่างเดียวจะมีราคาเหลือ 400 เหรียญฯ หรือประมาณ 12,000 บาท
แม้ก่อนหน้าที่สตีฟจอบส์จะเสียชีวิตเขาจะปฏิเสธ"แท็บเล็ต"ทีมี ขนาดหน้าจอ 7 นิ้วอย่างชัดเจน (วลีเด็ดของเขาคือ ถ้าจะขาย iPad 7 นิ้ว คงต้องแถมกระดาษทรายไปด้วย เพราะต้องตะไบนิ้วให้เล็กลงจึงจะใช้ได้...) แต่นักวิเคราะห์ยังคงยืนยันว่า iPad รุ่นทีมีหน้าจอขนาดเล็กกว่าปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในแผนการผลิต แถมยังเชื่ออีกด้วยว่า Apple กำลังผลิต iPad ที่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว และจะเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้ พร้อมทั้งแนะนำอุปกรณ์เสริมการใช้งานอย่างเคสคีย์บอร์ดไร้สายสำหรับ iPad รุ่นนี้ด้วย (คล้่ายกับการเปิดตัว iPad 2 ที่มี Smart Cover ออกมาพร้อมกัน) ทั้งหมดนี้ คุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip คงอยากเชื่อเหมือนผมในประเด็นหนึ่งนั่นก็คือ iPad 2 จะลดราคาลงมาอยู่ที่ 12,000 บาท หลังเปิดตัว iPad 3 :P
ที่มา arip.co.th
แหล่งข่าวยังแสดงความคิดเห็นที่มีต่อข่าวลือของ iPad 3 โดยระบุว่า ไม่น่าจะใช้โพรเซสเซอร์ควอดคอร์ เนื่องจากมีความต้องการพลังงานจากแบตเตอรี่ ค่อนข้างมาก แต่เชื่อว่า แอปเปิ้ลน่าจะแนะนำโพรเซสเซอร์ A6 ของชิปดูอัลคอร์ที่ทำงานเร็วกว่ารุ่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พวกเขาเชื่อว่า iPad รุ่นใหม่จะชูจุดเด่นเรื่องจอละเอียดสูง เช่นเดียวกับที่เป็นจุดขายสำหรับเรติน่าดิสเพลย์บนไอโฟน และมากับ Siri ในขณะเดียวกัน ยังมีการคาดการณ์ด้วยว่า iPad 2 รุ่น 16GB และเชื่อมต่อด้วย Wi-Fi เพียงอย่างเดียวจะมีราคาเหลือ 400 เหรียญฯ หรือประมาณ 12,000 บาท
แม้ก่อนหน้าที่สตีฟจอบส์จะเสียชีวิตเขาจะปฏิเสธ"แท็บเล็ต"ทีมี ขนาดหน้าจอ 7 นิ้วอย่างชัดเจน (วลีเด็ดของเขาคือ ถ้าจะขาย iPad 7 นิ้ว คงต้องแถมกระดาษทรายไปด้วย เพราะต้องตะไบนิ้วให้เล็กลงจึงจะใช้ได้...) แต่นักวิเคราะห์ยังคงยืนยันว่า iPad รุ่นทีมีหน้าจอขนาดเล็กกว่าปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในแผนการผลิต แถมยังเชื่ออีกด้วยว่า Apple กำลังผลิต iPad ที่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว และจะเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้ พร้อมทั้งแนะนำอุปกรณ์เสริมการใช้งานอย่างเคสคีย์บอร์ดไร้สายสำหรับ iPad รุ่นนี้ด้วย (คล้่ายกับการเปิดตัว iPad 2 ที่มี Smart Cover ออกมาพร้อมกัน) ทั้งหมดนี้ คุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip คงอยากเชื่อเหมือนผมในประเด็นหนึ่งนั่นก็คือ iPad 2 จะลดราคาลงมาอยู่ที่ 12,000 บาท หลังเปิดตัว iPad 3 :P
ที่มา arip.co.th
Google จ่อให้บริการ Cloud ชน Dropbox ลองอ่านดู
ปัจจุบันผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกังวลว่า สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ๊คจะมาพร้อมกับสตอเรจ (storage) ที่น้อยเกินไป เนื่องจากโลกคอมพิวเตอร์กำลังมุ่งสู่ยุคที่ผู้บริโภคสามารถจัดเก็บข้อมูลไว้ บน"คลาวด์" (cloud storage) แล้ว โดยรายงานจากแหล่งข่าววงในระบุว่า Google กำลังเตรียมเปิดให้บริการสตอเรจ"คลาวด์"ที่มีชื่อว่า Drive ในเร็วๆ นี้
หากข้อมูลจากแหล่งข่าววงในของ Google ที่เปิดเผยกับ WSJ เป็นเรื่องจริง Google กำลังพุ่งเป้าไปยัง Dropbox เว็บไซต์คลาวด์สตอเรจยอดนิยม โดยทางบริษัทจะเปิดให้บริการ"คลาวด์สตอเรจ" หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีค่าบริการถูกกว่า (ตัดราคา) ของ Dropbox เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดสำหรับบริการนี้ ซึ่งปัจจุบัน Google ได้ให้บริการสตอเรจคลาวด์ฟรี 1GB สำหรับผู้ใช้ Google Docs ในขณะที่ Dropbox จะให้พื้นที่ 2GB ฟรีกับสมาชิก ซึ่งคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ทีเป็นสมาชิก Dropbox อาจจะเปลี่ยนใจเมื่อ Google Drive เปิดให้บริการ
สำหรับ "Drive" บริการคลาวด์สตอเรจของ Google จะคล้ายกับ iCloud ที่ให้บริการกับอุปกรณ์ต่างๆ ของ Apple และ SkyDrive ที่ให้บริการกับแพลตฟอร์มของ Microsoft ทั้งนี้ผู้เชึ่ยวชาญคาดว่า การเดินเกมรุกด้วยการให้บริการคลาวด์สตอเรจครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของ Dropbox แล้ว มันยังเป็นการสนับสนุน Chromebook (เน็ตบุ๊ค Chrom OS) ของทางบริษัทที่ทำงานร่วมกับคลาวด์สตอเรจอีกด้วย ในส่วนของคาบริการคลาวด์สตอเรจที่ Google ให้กับ Google Docs จะอยู่ที่ 5 เหรียญฯ (ประมาณ 150 บาท) ต่อ 20GB และ 20 เหรียญฯ (ประมาณ 600 บาท) ต่อ 80GB ต่อปี ซึ่ง Drive จะมีระบบจัดการไฟล์ที่ฉลาดกว่า ในขณะที่ค่าบริการน่าจะต่ำกว่า Dropbox
ที่มา arip.co.th
หากข้อมูลจากแหล่งข่าววงในของ Google ที่เปิดเผยกับ WSJ เป็นเรื่องจริง Google กำลังพุ่งเป้าไปยัง Dropbox เว็บไซต์คลาวด์สตอเรจยอดนิยม โดยทางบริษัทจะเปิดให้บริการ"คลาวด์สตอเรจ" หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีค่าบริการถูกกว่า (ตัดราคา) ของ Dropbox เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดสำหรับบริการนี้ ซึ่งปัจจุบัน Google ได้ให้บริการสตอเรจคลาวด์ฟรี 1GB สำหรับผู้ใช้ Google Docs ในขณะที่ Dropbox จะให้พื้นที่ 2GB ฟรีกับสมาชิก ซึ่งคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ทีเป็นสมาชิก Dropbox อาจจะเปลี่ยนใจเมื่อ Google Drive เปิดให้บริการ
สำหรับ "Drive" บริการคลาวด์สตอเรจของ Google จะคล้ายกับ iCloud ที่ให้บริการกับอุปกรณ์ต่างๆ ของ Apple และ SkyDrive ที่ให้บริการกับแพลตฟอร์มของ Microsoft ทั้งนี้ผู้เชึ่ยวชาญคาดว่า การเดินเกมรุกด้วยการให้บริการคลาวด์สตอเรจครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของ Dropbox แล้ว มันยังเป็นการสนับสนุน Chromebook (เน็ตบุ๊ค Chrom OS) ของทางบริษัทที่ทำงานร่วมกับคลาวด์สตอเรจอีกด้วย ในส่วนของคาบริการคลาวด์สตอเรจที่ Google ให้กับ Google Docs จะอยู่ที่ 5 เหรียญฯ (ประมาณ 150 บาท) ต่อ 20GB และ 20 เหรียญฯ (ประมาณ 600 บาท) ต่อ 80GB ต่อปี ซึ่ง Drive จะมีระบบจัดการไฟล์ที่ฉลาดกว่า ในขณะที่ค่าบริการน่าจะต่ำกว่า Dropbox
ที่มา arip.co.th
วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ไอที Kinect สำหรับ Windows PC มาแล้ว!!!
ข่าวล่าสุด ไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปิดเกมรุกสำหรับ Kinect for Windows อีกครั้ง โดยทางบริษัทกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ได้รับการออกแบบให้ช่วยเพิมประสิทธิภาพของการทำงานภายในธุรกิจองค์กรต่างๆ ได้ ในขณะดียวกันยังเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ตลอดจนเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมต่างๆ อีกด้วย สำหรับการข้ามฝ่ายร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้ของไมโครซอฟท์ ช่วยให้บริษัทสามารถเปิดตลาดใหม่ได้
ในส่วนของความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้ยังหมายถึงการที่ธุรกิจใดๆ ก็ตาม สามารถเข้าร่วมกับบริษัทต่างๆ ที่ตอนนี้มีอยู่มากกว่า 300 รายที่กำลังพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับการใช้ Kinect for Windows ตัวอย่างเช่น ยูไนเต็ด เฮลท์กรุ๊ป, อเมริกัน เอ็กซ์เพลส, แมทเทล, เทเลโฟนิคา และโตโยตา ทั้งนี้การสนับสนุนให้ธุรกิจต่างๆ ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ทางไมโครซอฟท์ และเทคสตารส์กำลังทำแคมเปญจ์การตลาดที่เรียกว่า Kinect Accelerator สำหรับผู้ประกอบการ วิศวกร และนวตกรให้ได้มีโอกาสพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย Kinect
"การหยิบยื่นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาสำหรับแอพพลิเคชันบนวินโดวส์ให้กับผู้ประกอบการ เราหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักธุรกิจที่มีไอเดียทั่วโลกได้พัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไปด้วย Kinect โดยใช้คุณสมบัติของอินเตอร์เฟซที่สามารถอินพุทด้วยท่าทางต่างๆ (gesture) และเสียงในการโต้ตอบกับพีซีที่รันวินโดวส์กับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากการอยู่ในห้องนั่งเล่น อย่างเช่น การนำไปใช้ทางด้านการศึกษา โรงงานผลิต สุขภาพ และค้าปลีกต่างๆ" เครก อิสเลอร์ ผู้จัดการทั่วไปส่วนธุรกิจไคเนคส์ฟอร์วินโดวส์ กล่าว
สำหรับใบอนุญาตประกอบการค้า Kinect for Windows และฮาร์ดแวร์ที่สามารถซื้อหาได้นั้นจะมีอยู่ใน 12 ประเทศ ซึ่งได้แก่ สหราชอณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศษ เยอรมัน ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก นิวซีแลนด์ สเปน และสหรัฐฯ นักพัฒนาที่สนใจทำธุรกิจที่ไอเดียผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมโปรแกรมการตลาด Kinect Accelerator โดยแต่ละรายจะได้รับเครื่องมือคิดเป็นมูลค่า 20,000 เหรียญฯ (ประมาณ 600,000 บาท) ซึ่งประกอบด้วย ชุดคิทพัฒนาสำหรัเอ็กซ์บ๊อกซ์, Windows Kinect SDK (Software Developer Kit), พื้นที่สำหรับสำนักงาน และคำแนะนำต่างๆ จากไมโครซอฟท์ ข้อมูลเพิ่มเติมโดยละเอียดจะอยู่ในเว็บไซต์ Microsoft BizSpark
ที่มา arip.co.th
ในส่วนของความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้ยังหมายถึงการที่ธุรกิจใดๆ ก็ตาม สามารถเข้าร่วมกับบริษัทต่างๆ ที่ตอนนี้มีอยู่มากกว่า 300 รายที่กำลังพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับการใช้ Kinect for Windows ตัวอย่างเช่น ยูไนเต็ด เฮลท์กรุ๊ป, อเมริกัน เอ็กซ์เพลส, แมทเทล, เทเลโฟนิคา และโตโยตา ทั้งนี้การสนับสนุนให้ธุรกิจต่างๆ ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ทางไมโครซอฟท์ และเทคสตารส์กำลังทำแคมเปญจ์การตลาดที่เรียกว่า Kinect Accelerator สำหรับผู้ประกอบการ วิศวกร และนวตกรให้ได้มีโอกาสพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย Kinect
"การหยิบยื่นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาสำหรับแอพพลิเคชันบนวินโดวส์ให้กับผู้ประกอบการ เราหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักธุรกิจที่มีไอเดียทั่วโลกได้พัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไปด้วย Kinect โดยใช้คุณสมบัติของอินเตอร์เฟซที่สามารถอินพุทด้วยท่าทางต่างๆ (gesture) และเสียงในการโต้ตอบกับพีซีที่รันวินโดวส์กับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากการอยู่ในห้องนั่งเล่น อย่างเช่น การนำไปใช้ทางด้านการศึกษา โรงงานผลิต สุขภาพ และค้าปลีกต่างๆ" เครก อิสเลอร์ ผู้จัดการทั่วไปส่วนธุรกิจไคเนคส์ฟอร์วินโดวส์ กล่าว
สำหรับใบอนุญาตประกอบการค้า Kinect for Windows และฮาร์ดแวร์ที่สามารถซื้อหาได้นั้นจะมีอยู่ใน 12 ประเทศ ซึ่งได้แก่ สหราชอณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศษ เยอรมัน ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก นิวซีแลนด์ สเปน และสหรัฐฯ นักพัฒนาที่สนใจทำธุรกิจที่ไอเดียผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมโปรแกรมการตลาด Kinect Accelerator โดยแต่ละรายจะได้รับเครื่องมือคิดเป็นมูลค่า 20,000 เหรียญฯ (ประมาณ 600,000 บาท) ซึ่งประกอบด้วย ชุดคิทพัฒนาสำหรัเอ็กซ์บ๊อกซ์, Windows Kinect SDK (Software Developer Kit), พื้นที่สำหรับสำนักงาน และคำแนะนำต่างๆ จากไมโครซอฟท์ ข้อมูลเพิ่มเติมโดยละเอียดจะอยู่ในเว็บไซต์ Microsoft BizSpark
ที่มา arip.co.th
เฟซบุ๊ค คอมเมิร์ซ เทรนด์ใหม่ปี 2555
ในที่สุด การทำการค้าขายบน เฟซบุ๊ค ก็ถือกำเนิดเป็นเรื่องเป็นราวแล้วนะครับ ปัจจุบันร้านค้าต่างๆ เริ่มทยอยทำแท็บพิเศษ เอฟบีเอ็มแอล
ขึ้นมาที่หน้าเฟซบุ๊ค แล้วก็ใส่เครื่องมือในการซื้อขาย การตารางสินค้า หรือไม่ก็ระบบการจองที่พักหรือทัวร์กันบนหน้าเฟซบุ๊คของตัวเองอย่างคึกคัก
ทีนี้คำถามคือว่าแล้วมันจะขายได้หรือ
คำตอบคือขายได้ครับ เพราะจริงๆ แล้วคนที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเฟซบุ๊คของเรานั้น จะว่าไปก็เป็นคนที่เกี่ยวเนื่องและใช้บริการสินค้าของเราอยู่แล้วส่วนหนึ่ง ทีนี้หากจะมีส่วนที่อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าและบริการเลยทีเดียวก็น่าจะสะดวกดีไม่น้อย
ผมยกตัวอย่าง นกแอร์ แล้วกันครับ สายการบินนี้มีบริการให้คนที่อยากจะจองตั๋วเครื่องบิน ได้ซื้อและจองตั๋วกันที่หน้าแฟนเพจของตัวเองแล้วเช่นกัน เหมือนสายการบินใหญ่ๆ ในต่างประเทศ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็อาจจะมีบริการแชร์หรือไลค์เข้าไปเกี่ยวอีกนิดหน่อยก็น่าจะดี เช่น ถ้าซื้อตั๋วแล้วมีเพื่อนมากดถูกใจให้เราก็ได้รับส่วนลด หรือจัดเป็นกิจกรรมแคมเปญ "ไลค์ โชว์ แชร์" ถ้าจองเที่ยวบินไหน ไปเที่ยวแล้วกลับมาโพสต์รูปภาพเชิญชวนให้เพื่อนๆ ไปเที่ยวกันต่อ ก็น่าสนใจดีไม่น้อย เพราะจะเป็นการทำ โซเชียล คอมเมิร์ซ ไปในตัวเลย
ตัวอย่างที่ผมยกไปเบื้องต้น เป็นไอเดียแนะแนวให้คุณผู้อ่านที่ทำธุรกิจหรือบริการแตกต่างกันไป นำไปประยุกต์ได้นะครับ หลักการของ โซเชียล คอมเมิร์ซ ผมจะเน้นไปที่ เฟซบุ๊ค คอมเมิร์ซ ก่อนสำหรับบทความนี้ ก็ลองปรับไปใช้กันดูครับ
หลักการ คือ ใช้ร่วมกัน แชร์ แล้วโชว์ ถ้ามี 3 อย่างนี้ก็จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อแบบเหมากลุ่ม หลังจากนั้น ก็หาทางให้ผู้ใช้แชร์กิจกรรม ซึ่งวิธีการแชร์กิจกรรมไม่มีอะไรมาก หาประเด็นให้ผู้ใช้ได้เล่นได้โชว์ออฟกันก็เท่านั้นเองครับ
จำนวนผู้ใช้กว่า 12 ล้านคนที่ใช้ เฟซบุ๊ค รวมๆ กันในเมืองไทยตอนนี้ ก็เริ่มมีผลลัพธ์ไปในการค้าขายได้แล้วนะครับคุณผู้อ่าน อย่างไรก็ดี ผมยังคงแนะนำให้ทำการค้าขายเป็นเรื่องลำดับที่ 2 แต่ให้เน้นการสร้างแบรนด์ สร้างความผูกพันกับฐานแฟนเพจ เป็นความสำคัญอันดับ 1 นะครับ ไม่อย่างนั้นแล้วรับรองได้ว่าแฟนหายเรียบแน่นอน
การทำ โซเชียล คอมเมิร์ซ บนเฟซบุ๊ค ยังใหม่มากในเมืองไทย แต่ก็มีผลในการสร้างยอดขายหลากหลาย คุณผู้อ่านลองสำรวจตัวเองว่าเราทำธุรกิจอะไร ซื้อมาขายไป สินค้าบริการ หรืออะไรก็ลองหาทางปรับประยุกต์กันไป ใช้ได้หมดละครับ เพราะตอนนี้ยอดใช้จ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ตมีนัยสำคัญที่น่าจับตามองกันมากๆ
ธนาคารทั้งหลายเริ่มตื่นตัวกับการสร้างบริการตัดบัตรเครดิต หรือแม้แต่เดบิตก็ได้ ล่าสุดผมเห็นบางธนาคารใช้ระบบหมายเลขบัตรเครดิตจำลองเอาไปผูกกับบัญชีธนาคารก็มีแล้ว ดังนั้น ต่อไปใครๆ ก็ซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทั้งนั้นละครับ
ทิ้งท้ายกันที่แฟนคอลัมน์ที่ส่งอีเมลจะมาฟังผมกระชับวงล้อมนั่งเล่าเรื่อง โซเชียล เน็ตเวิร์ค วันก่อน ผมขออภัยจริงๆ ครับที่เต็มไปแล้ว แต่ครั้งหน้าผมจะเล่าเรื่อง โซเชียล คอมเมิร์ซ ให้ฟังขยายความต่อจากบทความตอนนี้ละครับ ใครสนใจก็จับจองที่นั่งเสวนาสภากาแฟกันได้ ผมรับครั้งละ 10 ท่านเท่านั้นเอง ใครสะดวกจะติดขนมนมเนยมานั่งพูดคุยกันก็ได้ตามความสะดวกเช่นเดิมครับ อีเมลกันเข้ามานะครับที่ ap@indexcreativeonline.com ครับ เรื่องสถานที่เดี๋ยวผมจัดการให้เองครับ แล้วเจอกันครับ
ขึ้นมาที่หน้าเฟซบุ๊ค แล้วก็ใส่เครื่องมือในการซื้อขาย การตารางสินค้า หรือไม่ก็ระบบการจองที่พักหรือทัวร์กันบนหน้าเฟซบุ๊คของตัวเองอย่างคึกคัก
ทีนี้คำถามคือว่าแล้วมันจะขายได้หรือ
คำตอบคือขายได้ครับ เพราะจริงๆ แล้วคนที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเฟซบุ๊คของเรานั้น จะว่าไปก็เป็นคนที่เกี่ยวเนื่องและใช้บริการสินค้าของเราอยู่แล้วส่วนหนึ่ง ทีนี้หากจะมีส่วนที่อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าและบริการเลยทีเดียวก็น่าจะสะดวกดีไม่น้อย
ผมยกตัวอย่าง นกแอร์ แล้วกันครับ สายการบินนี้มีบริการให้คนที่อยากจะจองตั๋วเครื่องบิน ได้ซื้อและจองตั๋วกันที่หน้าแฟนเพจของตัวเองแล้วเช่นกัน เหมือนสายการบินใหญ่ๆ ในต่างประเทศ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็อาจจะมีบริการแชร์หรือไลค์เข้าไปเกี่ยวอีกนิดหน่อยก็น่าจะดี เช่น ถ้าซื้อตั๋วแล้วมีเพื่อนมากดถูกใจให้เราก็ได้รับส่วนลด หรือจัดเป็นกิจกรรมแคมเปญ "ไลค์ โชว์ แชร์" ถ้าจองเที่ยวบินไหน ไปเที่ยวแล้วกลับมาโพสต์รูปภาพเชิญชวนให้เพื่อนๆ ไปเที่ยวกันต่อ ก็น่าสนใจดีไม่น้อย เพราะจะเป็นการทำ โซเชียล คอมเมิร์ซ ไปในตัวเลย
ตัวอย่างที่ผมยกไปเบื้องต้น เป็นไอเดียแนะแนวให้คุณผู้อ่านที่ทำธุรกิจหรือบริการแตกต่างกันไป นำไปประยุกต์ได้นะครับ หลักการของ โซเชียล คอมเมิร์ซ ผมจะเน้นไปที่ เฟซบุ๊ค คอมเมิร์ซ ก่อนสำหรับบทความนี้ ก็ลองปรับไปใช้กันดูครับ
หลักการ คือ ใช้ร่วมกัน แชร์ แล้วโชว์ ถ้ามี 3 อย่างนี้ก็จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อแบบเหมากลุ่ม หลังจากนั้น ก็หาทางให้ผู้ใช้แชร์กิจกรรม ซึ่งวิธีการแชร์กิจกรรมไม่มีอะไรมาก หาประเด็นให้ผู้ใช้ได้เล่นได้โชว์ออฟกันก็เท่านั้นเองครับ
จำนวนผู้ใช้กว่า 12 ล้านคนที่ใช้ เฟซบุ๊ค รวมๆ กันในเมืองไทยตอนนี้ ก็เริ่มมีผลลัพธ์ไปในการค้าขายได้แล้วนะครับคุณผู้อ่าน อย่างไรก็ดี ผมยังคงแนะนำให้ทำการค้าขายเป็นเรื่องลำดับที่ 2 แต่ให้เน้นการสร้างแบรนด์ สร้างความผูกพันกับฐานแฟนเพจ เป็นความสำคัญอันดับ 1 นะครับ ไม่อย่างนั้นแล้วรับรองได้ว่าแฟนหายเรียบแน่นอน
การทำ โซเชียล คอมเมิร์ซ บนเฟซบุ๊ค ยังใหม่มากในเมืองไทย แต่ก็มีผลในการสร้างยอดขายหลากหลาย คุณผู้อ่านลองสำรวจตัวเองว่าเราทำธุรกิจอะไร ซื้อมาขายไป สินค้าบริการ หรืออะไรก็ลองหาทางปรับประยุกต์กันไป ใช้ได้หมดละครับ เพราะตอนนี้ยอดใช้จ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ตมีนัยสำคัญที่น่าจับตามองกันมากๆ
ธนาคารทั้งหลายเริ่มตื่นตัวกับการสร้างบริการตัดบัตรเครดิต หรือแม้แต่เดบิตก็ได้ ล่าสุดผมเห็นบางธนาคารใช้ระบบหมายเลขบัตรเครดิตจำลองเอาไปผูกกับบัญชีธนาคารก็มีแล้ว ดังนั้น ต่อไปใครๆ ก็ซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทั้งนั้นละครับ
ทิ้งท้ายกันที่แฟนคอลัมน์ที่ส่งอีเมลจะมาฟังผมกระชับวงล้อมนั่งเล่าเรื่อง โซเชียล เน็ตเวิร์ค วันก่อน ผมขออภัยจริงๆ ครับที่เต็มไปแล้ว แต่ครั้งหน้าผมจะเล่าเรื่อง โซเชียล คอมเมิร์ซ ให้ฟังขยายความต่อจากบทความตอนนี้ละครับ ใครสนใจก็จับจองที่นั่งเสวนาสภากาแฟกันได้ ผมรับครั้งละ 10 ท่านเท่านั้นเอง ใครสะดวกจะติดขนมนมเนยมานั่งพูดคุยกันก็ได้ตามความสะดวกเช่นเดิมครับ อีเมลกันเข้ามานะครับที่ ap@indexcreativeonline.com ครับ เรื่องสถานที่เดี๋ยวผมจัดการให้เองครับ แล้วเจอกันครับ
โดย : อดิลฟิตรี ประพฤติสุจริต
ที่มา bangkokbiznews.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)