กว่า 40% ของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่ตรวจพบ "มัลแวร์" ล้วนเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แทบทั้งสิ้น, 2.7 หมื่นล้านยูโรต่อปี
คือ ตัวเลขมูลค่าความเสียหายของอาชญากรรมไซเบอร์ในประเทศอังกฤษ, ชาวเกาหลีใต้กว่า 35 ล้านคน โดนขโมยข้อมูลส่วนตัวระหว่างการใช้งานโซเชียล เน็ตเวิร์ค, คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็น 1 ในเทคโนโลยีที่สุ่มเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล, พบมัลแวร์มากกว่า 70,000 ตัวต่อวันส่งผลให้คนหลายล้านคนตกเป็นเหยื่อภัยร้ายในโลกไซเบอร์โดยไม่รู้ตัว....
แนะรัฐตระหนักภัยออนไลน์
ยูจิน บอกว่า อาชญากรไซเบอร์ เหล่านี้มีหลากหลายประเภท มุ่งเน้นการโจมตีในรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น นักเคลื่อนไหวเจาะระบบ (Hacktivists) เด็กหนุ่มที่ไม่ธรรมดา เจาะข้อมูลทุกอย่างจนสร้างความปั่นป่วนให้ระบบเศรษฐกิจ ล้วงตับข้อมูลระบบสาธารณะจนยากที่จะควบคุม ผู้ก่อการร้ายผ่านโลกไซเบอร์ (Terrorism) ที่มีเป้าหมายโจมตีระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ระบบขนส่ง ระบบไฟฟ้า เป็นต้น
ภัยร้ายข้างต้น เป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลหลายประเทศเริ่มตระหนัก และต้องการปราบอย่างจริงจัง กระทบไปถึงหน่วยงานอย่าง "อินเตอร์โพล" หรือองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ ที่เรียกกันติดปากว่า ตำรวจสากล ยังอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องโดดเข้ามาจัดการ
"ผมกลัวว่า อะไรก็ตามในโลกนี้ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะกลายเป็นเครื่องมือการก่อการร้ายที่เราคาดไม่ถึง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องหันมาพัฒนาระบบป้องกันการก่ออาชญากรรม หรือการก่อการร้ายในรูปแบบนี้ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น"
จับตา 2 ไวรัสสายพันธุ์ร้าย
ในงานสัมมนา " Kaspersky Lab Cyber Conference 2012 : IT Security in the age of Cyber Warfare" ยูจิน พูดถึง "ดูกุ" (Duqu) และ "สตักซ์เน็ต" (Stuxnet) 2 ภัยร้ายออนไลน์สำคัญ ที่กำลังเป็นเครื่องมือก่อการร้ายยุคใหม่ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
"สตักซ์เน็ต" มัลแวร์ที่มีความซับซ้อน ไม่แพร่ตัวเองผ่านอินเทอร์เน็ต แต่จะแพร่ผ่านยูเอสบี ธัมไดร์ฟ เครื่องที่ติดสตักซ์เน็ตสามารถแพร่ตัวมันเองให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ในเครื่อข่ายภายใน (Private network) มีเป้าหมายทำลายล้างระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบหยุดชะงัก หรือเกิดระเบิดได้ เพราะระบบขัดข้อง ว่ากันว่า สตักซ์เน็ต คือ มัลแวร์ที่ถูกนำเอาไปใช้เป็นอาวุธสงคราม และกว่า 60% ของคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่ติดสตักซ์เน็ตอยู่ใน "อิหร่าน"
ขณะที่ "ดูกุ" เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ลึกลับ มีโค้ดการทำงานคล้าย สตักซ์เน็ต มีภารกิจทำลายระบบคอมพิวเตอร์ เช่น โรงงานนิวเคลียร์ในประเทศอิหร่านที่โดนถล่มไปก่อนหน้านี้
ความน่ากลัวของ ดูกุ ทำให้ภาครัฐ และนักลงทุนทั่วโลกพยายามทำลายล้างเจ้าไวรัสตัวนี้ให้ได้ เพราะนักวิเคราะห์ระบบเคยให้ข้อมูลว่า ดูกุ ถูกพัฒนาโดยแฮคเกอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยวางพื้นฐานการโจมตีระบบสำคัญๆ ของ โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน และระบบท่อส่งต่างๆ
ที่ผ่านมา "ยูจิน" พยายามสร้างความตื่นตัวให้รัฐบาลทั่วโลก รวมไปถึงผู้ใช้งานระดับทั่วไปตระหนัก ถึงความน่ากลัวของภัยร้ายออนไลน์เหล่านี้ อย่าคิดว่ามันก็แค่ "ไวรัส" หรือแค่ "มัลแวร์" แต่มันคือหนึ่งในเครื่องมือทำสงครามในโลกยุคใหม่ ที่อาจสร้างความเสียหายแบบประเมินค่ามิได้
เขาจึงเสนอให้ตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า International Cyber Security Agency หรือ ICSA องค์กรอิสระ ที่มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะรัฐบาลต่างๆ โดยเขาระบุว่า ICSA อาจไม่สามารถกำจัดอาชญากรรมไซเบอร์ให้หมดไปได้ หากแต่มันจะช่วยทำสงครามไซเบอร์บรรเทาเบาบางลง ที่สำคัญต้องขึ้นอยู่กับความตระหนักที่พร้อมจะป้องกัน และแก้ไขของรัฐบาลในแต่ละประเทศด้วย
แคสเปอร์สกี้ชี้ไทยตลาดสำคัญ
ยูจิน ในฐานะซีอีโอของ แคสเปอร์สกี้ แลป ระบุด้วยว่า ปีนี้จะเป็นปีแห่งความท้าทายในตลาดซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย แม้ต้องฝ่าฟันกับภัยคุกคามสมัยใหม่ที่ซับซ้อน และเรียงแถวมาให้จัดการอย่างล้นหลาม ภายใต้สภาวะแวดล้อมทางการตลาดที่แข่งขันอย่างเข้มข้น หากแต่บริษัทก็ยังสามารถทำยอดขายได้ในระดับ 612 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 14%
"ปีนี้ บริษัทพร้อมรับมือความท้าทายใหม่ๆ โดยจะเน้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้น พร้อมปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น"
เขา ระบุว่า ต้องการให้องค์กรยังคงเป็นรูปแบบไปรเวท ที่จะช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพและคล่องตัว ตลอดจนให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงระหว่างนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและการเติบโตขององค์กร พร้อมๆ ไปกับการขยายเครือข่ายคู่ค้าระดับโลก โดยอิงจากแนวทางการขายภายในประเทศ และสำหรับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ที่ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ
ขณะที่ "จิมมี่ ฟง" ผู้อำนวยการฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่าย แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกว่า ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น คนไทยส่วนใหญ่ต่างตระหนักถึงอันตรายที่อาจขึ้นเกิดจากภัยคุกคาม และให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวในโลกไซเบอร์ โดยที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ในไทยได้รับการตอบที่ดี ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นในปี 2554 และรายรับที่เติบโตเป็น 2
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น