วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"ต้องเข้าถึง-ครองใจ" กลยุทธ์สื่อสาร Digital Content

การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภค ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเทคโนโลยีออนไลน์ อีกทั้งจำนวนประชากรใน Social Network


และรูปแบบการติดตามข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะในยามวิกฤติ ที่พบว่า Social Media กลายเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด จึงไม่แปลกนักที่ "ตัวเลข" งบประมาณขององค์กรขนาดใหญ่ ในปี 2012  พุ่งไปที่การสื่อสารผ่าน Digital Media  เพื่อตอบโจทย์ด้านการสื่อสารองค์กรและการตลาดควบคู่กันพจน์ ใจชาญสุขกิจ นักสื่อสารกลยุทธ์แบบบูรณาการและนายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย กล่าวว่า การเติบโตของ Digital Media มีบทบาทต่อกระแสสังคมมากว่า 2 ปี ขณะที่ผู้บริโภคเริ่มปรับตัวจนกระทั่งคุ้นชินกับสื่อดิจิทัล จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่มีบทบาทอย่างมากต่อความคิดและการตัดสินใจ เห็นได้จากข่าวสารที่เกิดจากสื่อดิจิทัล ก่อนเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม หรือที่เรียกว่า Digital Content ต่างๆ ได้ถูกนำมารายงานผ่านในสื่อหลักและเกิดกระแสในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโตของประชากรออนไลน์ที่มีกว่า 30 ล้านคน หรือ 50% ของประเทศไทย
รูปแบบการสื่อสารที่เข้าถึงและครองใจกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะผ่าน Social Media หรือสื่อใดก็ตาม ได้สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น สร้างสรรค์เรื่องราวและประเด็นขององค์กรหรือสินค้า เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางความคิดในด้านต่างๆ กิจกรรมทางสังคม เกิดพฤติกรรมที่เป็นพลังของเครือข่ายผ่านการสื่อสาร  จึงกลายมาเป็นความต้องการที่องค์กรต้องเลือกสรรกลยุทธ์ให้เหมาะกับแบรนด์ เพื่อรับมือกับเทรนด์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เจาะกลยุทธ์สื่อสารดิจิทัล
กลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัลที่องค์กรต้องจับตามอง ประกอบด้วย การให้ความสำคัญต่อคุณค่าขององค์กรเพื่อความผูกพันในระยะยาว เพราะการชื่นชอบแบบฉาบฉวย ดูไม่เป็นประโยชน์กับองค์กร เพราะอาจเกิดการเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา การสื่อความให้เห็นถึงชื่อเสียง ทิศทางความก้าวหน้า การสร้างความมั่นใจที่มีต่อองค์กร ควบคู่ไปกับการสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำเกิดความน่าความสนใจในคอนเทนท์อย่างสม่ำเสมอ
การรู้จัก เข้าใจและเข้าถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในเชิงโครงสร้างและรูปแบบการใช้ชีวิต ที่มีความหลากหลาย ซับซ้อนมากขึ้น ความเป็นตัวตนของตัวเอง การต้องการสร้างการยอมรับ ความอดทนในการรอลดน้อยลง  และ Brand Loyalty น้อยลง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการ "เลือกเนื้อหา วิธีการ และเครื่องมือในการสื่อสารผ่านดิจิทัล คอนเทนท์" ทั้งสิ้น
การสื่อความที่กระตุ้นพฤติกรรมในการสร้างความสัมพันธ์และสื่อสารข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากผู้บริโภครับข้อมูลที่มาจากสิ่งต่างๆ รอบตัว สนใจการเล่าเรื่องที่ได้พบเจอและประสบการณ์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มัก "เชื่อ" กับสิ่งที่วางใจแบบการเป็นเพื่อนคู่คิด ติดตามกระแสความสนใจใหม่ๆ องค์กรจึงต้องให้ความชัดเจนในการเปิดเผยตัวตนให้สังคมได้รับรู้ และปรับวัฒนธรรมให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามา Share ประสบการณ์มากขึ้น 
การให้ความสำคัญการสื่อสารภาพลักษณ์ Brand และสื่อสารการตลาด ปัจจุบันหมดยุคของการต่างคนต่างทำงานในองค์กรเดียวกัน โดยขาดการผสมผสานที่สอดคล้องสิ้นเปลืองทั้งงบประมาณและการขาดเอกภาพของแบรนด์ การให้ข้อมูลที่สะท้อนเอกลักษณ์ ทั้งด้านองค์กร สินค้า บริการ ผู้บริหาร เทคโนโลยี ต้องมีความชัดเจนเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์

เสนอคอนเทนท์ที่แสดงถึงคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ด้วยการบอก หรืออธิบายความโดดเด่นของแต่ละสินค้า หรือบริการด้วยการแสดงให้เห็นคุณค่าที่เหนือกว่าแบรนด์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ การอธิบายแจ้งมูลค่า ได้แก่ การให้ข้อมูล ค่าธรรมเนียม อัตราค่าบริการ และสิทธิประโยชน์ ไม่แอบแฝง เพราะระบบตรวจสอบโดยสังคมสามารถทำได้อย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์  และมีผลต่อความเชื่อมั่นหากปิดบัง หรือไม่เผยแพร่ความจริง

การทำธุรกิจต้องใส่ใจสังคม  สังคมแสวงหาคน "เก่งและดี" จึงต้องมีเรื่องการมีส่วนร่วมกับสังคมเข้ามา แต่ทั้งหมดที่ทำจะต้องไม่หลอกลวงและฝืนตัวเอง เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้เกิดการยอมรับ เชื่อถือในแนวคิด ความตั้งใจดี ขณะเดียวกันต้องดูแลพนักงานขององค์กรให้มีความสุขและส่งต่อความรู้สึกที่ดีไปยังสังคม
           
การบริหารกลยุทธ์สื่อสารองค์กรในปัจจุบันไม่ใช่เรื่อง "ง่าย" แต่เป็น "ความท้าทาย" สำหรับสร้างความเชื่อมโยงทั้งสื่อและการบริหารประเด็น ตลอดจนการควบคุมการสื่อสารทั้งกระบวนการผ่านสื่อทั่วไปและสื่อออนไลน์ ให้เกิดความสอดคล้องและส่งผลดีต่อแบรนด์และองค์กร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สาวงามดับเบิ้ลเอ