วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"ต้องเข้าถึง-ครองใจ" กลยุทธ์สื่อสาร Digital Content

การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภค ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเทคโนโลยีออนไลน์ อีกทั้งจำนวนประชากรใน Social Network


และรูปแบบการติดตามข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะในยามวิกฤติ ที่พบว่า Social Media กลายเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด จึงไม่แปลกนักที่ "ตัวเลข" งบประมาณขององค์กรขนาดใหญ่ ในปี 2012  พุ่งไปที่การสื่อสารผ่าน Digital Media  เพื่อตอบโจทย์ด้านการสื่อสารองค์กรและการตลาดควบคู่กันพจน์ ใจชาญสุขกิจ นักสื่อสารกลยุทธ์แบบบูรณาการและนายกสมาคมประชาสัมพันธ์ไทย กล่าวว่า การเติบโตของ Digital Media มีบทบาทต่อกระแสสังคมมากว่า 2 ปี ขณะที่ผู้บริโภคเริ่มปรับตัวจนกระทั่งคุ้นชินกับสื่อดิจิทัล จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่มีบทบาทอย่างมากต่อความคิดและการตัดสินใจ เห็นได้จากข่าวสารที่เกิดจากสื่อดิจิทัล ก่อนเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม หรือที่เรียกว่า Digital Content ต่างๆ ได้ถูกนำมารายงานผ่านในสื่อหลักและเกิดกระแสในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเติบโตของประชากรออนไลน์ที่มีกว่า 30 ล้านคน หรือ 50% ของประเทศไทย
รูปแบบการสื่อสารที่เข้าถึงและครองใจกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะผ่าน Social Media หรือสื่อใดก็ตาม ได้สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น สร้างสรรค์เรื่องราวและประเด็นขององค์กรหรือสินค้า เพื่อให้เกิดการต่อยอดทางความคิดในด้านต่างๆ กิจกรรมทางสังคม เกิดพฤติกรรมที่เป็นพลังของเครือข่ายผ่านการสื่อสาร  จึงกลายมาเป็นความต้องการที่องค์กรต้องเลือกสรรกลยุทธ์ให้เหมาะกับแบรนด์ เพื่อรับมือกับเทรนด์และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
เจาะกลยุทธ์สื่อสารดิจิทัล
กลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัลที่องค์กรต้องจับตามอง ประกอบด้วย การให้ความสำคัญต่อคุณค่าขององค์กรเพื่อความผูกพันในระยะยาว เพราะการชื่นชอบแบบฉาบฉวย ดูไม่เป็นประโยชน์กับองค์กร เพราะอาจเกิดการเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา การสื่อความให้เห็นถึงชื่อเสียง ทิศทางความก้าวหน้า การสร้างความมั่นใจที่มีต่อองค์กร ควบคู่ไปกับการสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำเกิดความน่าความสนใจในคอนเทนท์อย่างสม่ำเสมอ
การรู้จัก เข้าใจและเข้าถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในเชิงโครงสร้างและรูปแบบการใช้ชีวิต ที่มีความหลากหลาย ซับซ้อนมากขึ้น ความเป็นตัวตนของตัวเอง การต้องการสร้างการยอมรับ ความอดทนในการรอลดน้อยลง  และ Brand Loyalty น้อยลง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการ "เลือกเนื้อหา วิธีการ และเครื่องมือในการสื่อสารผ่านดิจิทัล คอนเทนท์" ทั้งสิ้น
การสื่อความที่กระตุ้นพฤติกรรมในการสร้างความสัมพันธ์และสื่อสารข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากผู้บริโภครับข้อมูลที่มาจากสิ่งต่างๆ รอบตัว สนใจการเล่าเรื่องที่ได้พบเจอและประสบการณ์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มัก "เชื่อ" กับสิ่งที่วางใจแบบการเป็นเพื่อนคู่คิด ติดตามกระแสความสนใจใหม่ๆ องค์กรจึงต้องให้ความชัดเจนในการเปิดเผยตัวตนให้สังคมได้รับรู้ และปรับวัฒนธรรมให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามา Share ประสบการณ์มากขึ้น 
การให้ความสำคัญการสื่อสารภาพลักษณ์ Brand และสื่อสารการตลาด ปัจจุบันหมดยุคของการต่างคนต่างทำงานในองค์กรเดียวกัน โดยขาดการผสมผสานที่สอดคล้องสิ้นเปลืองทั้งงบประมาณและการขาดเอกภาพของแบรนด์ การให้ข้อมูลที่สะท้อนเอกลักษณ์ ทั้งด้านองค์กร สินค้า บริการ ผู้บริหาร เทคโนโลยี ต้องมีความชัดเจนเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์

เสนอคอนเทนท์ที่แสดงถึงคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ด้วยการบอก หรืออธิบายความโดดเด่นของแต่ละสินค้า หรือบริการด้วยการแสดงให้เห็นคุณค่าที่เหนือกว่าแบรนด์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ การอธิบายแจ้งมูลค่า ได้แก่ การให้ข้อมูล ค่าธรรมเนียม อัตราค่าบริการ และสิทธิประโยชน์ ไม่แอบแฝง เพราะระบบตรวจสอบโดยสังคมสามารถทำได้อย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์  และมีผลต่อความเชื่อมั่นหากปิดบัง หรือไม่เผยแพร่ความจริง

การทำธุรกิจต้องใส่ใจสังคม  สังคมแสวงหาคน "เก่งและดี" จึงต้องมีเรื่องการมีส่วนร่วมกับสังคมเข้ามา แต่ทั้งหมดที่ทำจะต้องไม่หลอกลวงและฝืนตัวเอง เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้เกิดการยอมรับ เชื่อถือในแนวคิด ความตั้งใจดี ขณะเดียวกันต้องดูแลพนักงานขององค์กรให้มีความสุขและส่งต่อความรู้สึกที่ดีไปยังสังคม
           
การบริหารกลยุทธ์สื่อสารองค์กรในปัจจุบันไม่ใช่เรื่อง "ง่าย" แต่เป็น "ความท้าทาย" สำหรับสร้างความเชื่อมโยงทั้งสื่อและการบริหารประเด็น ตลอดจนการควบคุมการสื่อสารทั้งกระบวนการผ่านสื่อทั่วไปและสื่อออนไลน์ ให้เกิดความสอดคล้องและส่งผลดีต่อแบรนด์และองค์กร



“ไอพีทีวี”แพลตฟอร์มใหม่ VooZ ปลุกสมรภูมิโทรทัศน์เดือด!

ขณะที่คอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ก็ต่างทุ่มทุนขยายช่องเป็นของตนเองผ่านแพลตฟอร์มทีวีดาวเทียม ที่ผุดขึ้นมาแล้วกว่า 200 ช่อง

นับจากนี้...สมรภูมิธุรกิจโทรทัศน์จะเต็มไปด้วยการแข่งขันที่รุนแรง เมื่อเหล่าผู้ประกอบการต่างลงทุนขยายแพลตฟอร์มใหม่ ที่เรียกว่า “ไอพีทีวี” (IPTV : Internet Protocol Television) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถรับชมรายการโทรทัศน์ที่ต้องการผ่านผู้ให้บริการหรือกล่องรับสัญญาณ ไม่ต้องติดตั้งจานดาวเทียม

เปิดตัวแพลตฟอร์ม VooZ

 
วิรัตน์ โอวรารินท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี.อาร์.เอ็ม วอยซ์พลัส จำกัด ผู้ให้บริการ VooZ (วูซ) IPTV บอกว่า “ไอพีทีวี” จะเป็นแพลตฟอร์มใหม่ ในการถ่ายทอดข้อมูลภาพและเสียง (Application Platform) ของไทย นอกเหนือจากภาคพื้นดิน (Terrestrial TV) และทีวีดาวเทียม (Satellite TV) ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งบริษัทได้คิดค้นและพัฒนามากว่า 2 ปี โดยทดลองกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกเครือข่ายทั้งของทีโอที, ทรู, 3บีบี  โดยลงทุนงบประมาณกว่า 400 ล้านบาทในการซื้อเซิร์ฟเวอร์ รองรับการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ จะสามารถใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตั้งแต่ 2 เมกะบิตขึ้นไป วิ่งผ่านกล่องรับสัญญาณที่เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ โดยให้บริการไม่จำกัดสถานที่ ทั้งสาย LAN หรือไวไฟ ขณะเดียวกันยังสามารถใช้ฟีเจอร์และคอนเทนท์ต่างๆ ผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สมาร์ทโฟน แทบเล็ต โดยใช้ยูสเซอร์เดียวกัน นอกเหนือจากการรับชมผ่านจอโทรทัศน์ โดยมีกำหนดใช้จริงในเดือนมี.ค. นี้

ด้วยการส่งสัญญาณผ่านระบบ IPTV ทำให้สามารถเพิ่มช่องรายการได้อย่างไม่จำกัด บริษัทจึงได้วางตำแหน่งทางธุรกิจเป็น “A Billion Channel Service Provider” หรือเจ้าของแพลตฟอร์มเช่นเดียวกับ พีเอสไอ วันสกาย ในกลุ่มทีวีดาวเทียม และทรูวิชั่นส์ กลุ่มทีวีบอกรับสมาชิก

ปัจจุบันถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเปิดตัวแพลตฟอร์มไอพีทีวีในไทย เพราะเมื่อพิจารณาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีกล่องรับสัญญาณที่ปัจจุบันมีความเสถียรมากขึ้น ทำให้ภาพคมชัด ไม่ติดขัด อีกทั้งอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของไทย ที่ขณะนี้มีการติดตั้งกว่า 4 ล้านครัวเรือน หรือ 20% ของครัวเรือนไทย และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะอยู่ที่ 85% ของครัวเรือนไทยแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล

ชูจุดเด่นคอนเทนท์

ด้วยธุรกิจสื่อที่หัวใจหลักคือ "คอนเทนท์" บริษัทจึงได้จับมือกับคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ต่างๆ โดยปัจจุบันมีกว่า 200 ช่อง ทั้งภาพยนตร์ เพลง คอนเสิร์ต การ์ตูน การศึกษา สารคดี นอกจากนี้ยังได้สร้างฟีเจอร์ต่างๆ ขึ้นตามประเภทคอนเทนท์ เพื่อสร้างความแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น “Home Cinema” ทำให้สามารถรับชมภาพยนตร์ฟรี 10 เรื่องต่อเดือน เสมือนนำร้านวีดิโอมาไว้ที่บ้าน หรือ “Knowledge and Education”  โดยขณะนี้มีหน่วยงานการศึกษา เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งต้องการเปิดช่องเพื่อให้นักศึกษาปริญญาโท สามารถเรียนจากที่บ้านได้ ทั้งยังมีการติดต่อกับสถาบันกวดวิชาต่างๆ เพื่อถ่ายทอดสดการสอนไปยังผู้รับชม โดยผ่านลักษณะเพย์ทีวี

นอกจากนี้ ยังมีเอ็กซ์คลูซีฟ คอนเทนท์ โดยเฉพาะคอนเทนท์กีฬา ซึ่งจับมือกับเจ้าของลิขสิทธิ์กีฬาทั้งอาร์เอส แกรมมี่ และทรูวิชั่นส์ อีกทั้งจับมือกับค่ายเน็กซ์สเต็ป ได้แก่ช่องรายการ สำรวจโลก บุษบาคาเฟ่ เป็นต้น และช่อง OPPA ช่องบันเทิงเกาหลี โดยเป็นตัวกลางระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ชม ที่สามารถเลือกซื้อคอนเทนท์ผ่านบัตรเครดิตได้ และในอนาคตยังสามารถสั่งอาหารทางโทรทัศน์ได้อีกด้วย รวมทั้งจะมีการเพิ่มฟีเจอร์อาหารที่ร่วมกับร้านอาหารที่มีบริการพร้อมส่งอย่างแมคโดนัลด์ เดอะพิซซ่า ด้วยเช่นกัน

ต้นทุนต่ำ เป็นเจ้าของช่องง่าย
วิรัตน์ กล่าวอีกว่าถึงแม้ทีวีดาวเทียมจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง เข้าถึงครัวเรือนไทยแล้วกว่า 50%  แต่ด้วยข้อดีของไอพีทีวี จะทำให้ผู้ชมและคอนเทนท์ โปรวายเดอร์เลือกติดตั้งไอพีทีวี เพราะทีวีดาวเทียม ถือเป็นการสื่อสารทางเดียว ขณะที่ไอพีทีวี เป็นการสื่อสารสองทาง ผู้ชมสามารถเลือกชมรายการที่ชื่นชอบได้ทันที อีกทั้งในอนาคตจะพัฒนาเป็นระบบอินเตอร์แอ็คทีฟ กับผู้จัดรายการได้แบบเรียลไทม์ โดยในเฟสที่ 2 จะผลิตกล่องรับสัญญาณที่มีกล้องติดอยู่ด้วย

สำหรับการลงทุนเพื่อเป็นเจ้าช่องรายการบนแพลตฟอร์มฟอร์มไอพีทีวีนั้น คิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ของการลงทุนทีวีดาวเทียม เป็นการเปิดโอกาสให้คอนเทนท์ โปรวายเดอร์อิสระ หรือรายเล็กที่มีศักยภาพ สามารถเป็นเจ้าของช่องเองได้ง่าย นอกจากนี้ด้วยระบบดิจิทัล ทำให้การวัดผลเก็บข้อมูลทำได้แบบเรียลไทม์ วัดผลตอบรับได้ทันที ทำให้คอนเทนท์ โปรวายเดอร์นำไปอ้างอิงมีเดียเอเยนซีได้

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้สนใจติดตั้งกล่องรับสัญญาณ VooZ ในปีแรก 1 ล้านกล่อง ทั้งการจำหน่ายและให้ยืม โดยจะมีแคมเปญ "ยืมกล่อง VooZ" ฟรีในปีแรก โดยเสียค่ามัดจำ 1,000 บาทและค่าใช้บริการ 900 บาท จากปกติจำหน่ายกล่องละ 8,800 บาท ซึ่งปีนี้ได้เตรียมงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ในการสื่อสารการตลาด

“ก่อนหน้านี้ มีการทำตลาดในสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยเจาะกลุ่มคนไทย ลาว และกัมพูชา ที่อาศัยในสหรัฐ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”



บทความ แสงวิทย์ เกวลีวงศ์ศธร

"ขีปนาวุธออนไลน์" สงคราม..โลกยุคใหม่ในปัจจุบันของเรา

กว่า 40% ของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่ตรวจพบ "มัลแวร์" ล้วนเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แทบทั้งสิ้น, 2.7 หมื่นล้านยูโรต่อปี
คือ ตัวเลขมูลค่าความเสียหายของอาชญากรรมไซเบอร์ในประเทศอังกฤษ, ชาวเกาหลีใต้กว่า 35 ล้านคน โดนขโมยข้อมูลส่วนตัวระหว่างการใช้งานโซเชียล เน็ตเวิร์ค, คลาวด์ คอมพิวติ้ง เป็น 1 ในเทคโนโลยีที่สุ่มเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล, พบมัลแวร์มากกว่า 70,000 ตัวต่อวันส่งผลให้คนหลายล้านคนตกเป็นเหยื่อภัยร้ายในโลกไซเบอร์โดยไม่รู้ตัว....



แนะรัฐตระหนักภัยออนไลน์

ยูจิน บอกว่า อาชญากรไซเบอร์ เหล่านี้มีหลากหลายประเภท มุ่งเน้นการโจมตีในรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น นักเคลื่อนไหวเจาะระบบ (Hacktivists) เด็กหนุ่มที่ไม่ธรรมดา เจาะข้อมูลทุกอย่างจนสร้างความปั่นป่วนให้ระบบเศรษฐกิจ ล้วงตับข้อมูลระบบสาธารณะจนยากที่จะควบคุม ผู้ก่อการร้ายผ่านโลกไซเบอร์ (Terrorism) ที่มีเป้าหมายโจมตีระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ระบบขนส่ง ระบบไฟฟ้า เป็นต้น

ภัยร้ายข้างต้น เป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลหลายประเทศเริ่มตระหนัก และต้องการปราบอย่างจริงจัง กระทบไปถึงหน่วยงานอย่าง "อินเตอร์โพล" หรือองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ ที่เรียกกันติดปากว่า ตำรวจสากล ยังอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องโดดเข้ามาจัดการ

"ผมกลัวว่า อะไรก็ตามในโลกนี้ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะกลายเป็นเครื่องมือการก่อการร้ายที่เราคาดไม่ถึง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องหันมาพัฒนาระบบป้องกันการก่ออาชญากรรม หรือการก่อการร้ายในรูปแบบนี้ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น"

จับตา 2 ไวรัสสายพันธุ์ร้าย 
ในงานสัมมนา " Kaspersky Lab Cyber Conference 2012 : IT Security in the age of Cyber Warfare" ยูจิน พูดถึง "ดูกุ" (Duqu) และ "สตักซ์เน็ต" (Stuxnet) 2 ภัยร้ายออนไลน์สำคัญ ที่กำลังเป็นเครื่องมือก่อการร้ายยุคใหม่ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

"สตักซ์เน็ต" มัลแวร์ที่มีความซับซ้อน ไม่แพร่ตัวเองผ่านอินเทอร์เน็ต แต่จะแพร่ผ่านยูเอสบี ธัมไดร์ฟ เครื่องที่ติดสตักซ์เน็ตสามารถแพร่ตัวมันเองให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ในเครื่อข่ายภายใน (Private network) มีเป้าหมายทำลายล้างระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบหยุดชะงัก หรือเกิดระเบิดได้ เพราะระบบขัดข้อง ว่ากันว่า สตักซ์เน็ต คือ มัลแวร์ที่ถูกนำเอาไปใช้เป็นอาวุธสงคราม และกว่า 60% ของคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่ติดสตักซ์เน็ตอยู่ใน "อิหร่าน"

ขณะที่ "ดูกุ" เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ลึกลับ มีโค้ดการทำงานคล้าย สตักซ์เน็ต มีภารกิจทำลายระบบคอมพิวเตอร์ เช่น โรงงานนิวเคลียร์ในประเทศอิหร่านที่โดนถล่มไปก่อนหน้านี้

ความน่ากลัวของ ดูกุ ทำให้ภาครัฐ และนักลงทุนทั่วโลกพยายามทำลายล้างเจ้าไวรัสตัวนี้ให้ได้ เพราะนักวิเคราะห์ระบบเคยให้ข้อมูลว่า ดูกุ ถูกพัฒนาโดยแฮคเกอร์ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยวางพื้นฐานการโจมตีระบบสำคัญๆ ของ โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน และระบบท่อส่งต่างๆ

ที่ผ่านมา "ยูจิน" พยายามสร้างความตื่นตัวให้รัฐบาลทั่วโลก รวมไปถึงผู้ใช้งานระดับทั่วไปตระหนัก ถึงความน่ากลัวของภัยร้ายออนไลน์เหล่านี้ อย่าคิดว่ามันก็แค่ "ไวรัส" หรือแค่ "มัลแวร์" แต่มันคือหนึ่งในเครื่องมือทำสงครามในโลกยุคใหม่ ที่อาจสร้างความเสียหายแบบประเมินค่ามิได้

เขาจึงเสนอให้ตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า International Cyber Security Agency หรือ ICSA องค์กรอิสระ ที่มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะรัฐบาลต่างๆ โดยเขาระบุว่า ICSA อาจไม่สามารถกำจัดอาชญากรรมไซเบอร์ให้หมดไปได้ หากแต่มันจะช่วยทำสงครามไซเบอร์บรรเทาเบาบางลง ที่สำคัญต้องขึ้นอยู่กับความตระหนักที่พร้อมจะป้องกัน และแก้ไขของรัฐบาลในแต่ละประเทศด้วย

แคสเปอร์สกี้ชี้ไทยตลาดสำคัญ

ยูจิน ในฐานะซีอีโอของ แคสเปอร์สกี้ แลป ระบุด้วยว่า ปีนี้จะเป็นปีแห่งความท้าทายในตลาดซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย แม้ต้องฝ่าฟันกับภัยคุกคามสมัยใหม่ที่ซับซ้อน และเรียงแถวมาให้จัดการอย่างล้นหลาม ภายใต้สภาวะแวดล้อมทางการตลาดที่แข่งขันอย่างเข้มข้น หากแต่บริษัทก็ยังสามารถทำยอดขายได้ในระดับ 612 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 14%

"ปีนี้ บริษัทพร้อมรับมือความท้าทายใหม่ๆ โดยจะเน้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้น พร้อมปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น"

เขา ระบุว่า ต้องการให้องค์กรยังคงเป็นรูปแบบไปรเวท ที่จะช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพและคล่องตัว ตลอดจนให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงระหว่างนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีและการเติบโตขององค์กร พร้อมๆ ไปกับการขยายเครือข่ายคู่ค้าระดับโลก โดยอิงจากแนวทางการขายภายในประเทศ และสำหรับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ที่ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ

ขณะที่ "จิมมี่ ฟง" ผู้อำนวยการฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่าย แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บอกว่า ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น คนไทยส่วนใหญ่ต่างตระหนักถึงอันตรายที่อาจขึ้นเกิดจากภัยคุกคาม และให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวในโลกไซเบอร์ โดยที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ในไทยได้รับการตอบที่ดี ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นในปี 2554 และรายรับที่เติบโตเป็น 2


ที่มา http://www.bangkokbiznews.com

แต่งตัวเว็บไซต์ไม่ให้ตกยุค รับมือดีไวซ์ตระกูล “ไอ”

จึงไม่แปลกที่การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ "โลกอินเทอร์เน็ต" และ “เอชทีเอ็มแอล 5” จะกลายเป็นสีสัน และกำลังก้าวมาแสดงบทบาทอย่างเต็มที่ทุกวินาทีของการทำธุรกิจในเวลานี้
สู่ยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนฯ

“สงวน  ธรรมโรจน์สกุล” ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมนักพัฒนา บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างช่วงของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ผู้ใช้น่าจะสังเกตเห็นความไม่สมบูรณ์บางอย่างที่บางครั้งเปิดเว็บดูได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ไม่ครบบ้าง ไม่เหมือนเดิมบ้างตามความหลากหลายของดีไวซ์ ซึ่งควบคุมได้ยากมาก




ตระหนักรู้ไม่ถึง 10%

ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมนักพัฒนาคนเดิม แนะว่า การเปลี่ยนแปลงต้องมีอย่างต่อเนื่อง มีดีไวซ์และเบราเซอร์เป็นตัวขับเคลื่อน หากรอให้ผู้ใช้เปลี่ยนให้หมดก่อนแล้วค่อยเริ่มทำตามคงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่แน่ว่าอาจใช้เวลาเป็น 10 ปี

เขาประเมินว่า เวลาที่ตลาดจะเกิดการใช้งานเอชทีเอ็มแอล 5 แบบจริงจัง คือ เมื่อมีผู้ใช้งานเปลี่ยนตัวเองไปใช้เทคโนโลยีและดีไวซ์ใหม่ๆ ที่รองรับมากขึ้น ขณะเดียวกัน ด้านผู้พัฒนาต้องพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องตามพฤติกรรมและดีไวซ์ที่มีอยู่ในตลาด

“ประมาณปี 2557 และ 2558 จะเห็นชัดขึ้น ส่วนตัวเห็นว่าทั้งฝั่งผู้พัฒนาโมบาย และเว็บไซต์ต้องตระหนักรู้ถึงเรื่องนี้ได้แล้ว หากประเมินเฉพาะนักพัฒนาที่เป็นพาร์ทเนอร์กับไมโครซอฟท์ราว 2-3 หมื่นรายซึ่งไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นนักพัฒนาทั้งประเทศ พบว่าการรับรู้มีอยู่น้อยกว่า 10%”

พร้อมระบุว่า สถานการณ์ ณ ขณะนี้ เหมือนไก่กับไข่ที่การใช้งานมีทั้งเทคโนโลยีเวอร์ชั่นเก่าและใหม่ผสมกันไป ถ้าผู้ใช้ซื้อเครื่องใหม่ไปเลยนั้นไม่ค่อยน่าห่วง แต่ที่เป็นอยู่ยังมีเครื่องเก่าที่มีเทคโนโลยีเดิมติดมาด้วย

ปั้นเว็บไทยสู่เวทีสากล

สำหรับการจัดประกวดข้างต้น การสมัครและส่งผลงานเข้าแข่งขันทำได้ระหว่างวันที่ 16 ม.ค.ถึง 30 มี.ค.ปีนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
http://html5Thailand.com ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเข้าสมัครประกวดแล้ว 386 คน ในเฟซบุ๊คแฟนเพจ “HTML5 Developer Thailand” มีผู้สนใจอยู่กว่า 1,090 คน

เขากล่าวด้วยว่า แม้โครงการจะจบแต่คอมมูนิตี้ที่มียังคงอยู่ วัตถุประสงค์หลักของไมโครซอฟท์ คือ สร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นในหมู่นักพัฒนาไทย ถือเป็นครั้งแรกของการเริ่มต้นให้ใช้เทคโนโลยีเอชทีเอ็มแอล 5 ในไทยอย่างเป็นรูปธรรม เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันในระดับสากล

นอกจากนี้ แผนที่วางไว้ไม่ได้มองไปที่การสร้างเป็นโปรเจคต้นแบบเพราะหากทำแค่นั้นจะเป็นแค่การสร้างการตระหนักรู้ และสร้างทักษะให้เท่านั้น ที่ตั้งใจคือการสนับสนุนให้เกิดการสร้างอีโคซิสเต็มส์ ผลักดันให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทยมากที่สุด หลังโครงการแรกผ่านไปคิดว่าจะมีโครงการอื่นๆ ตามมาอีกแน่ๆ

“มุมของเทคนิคคนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ติดกับของเดิมทั้งๆ ที่มีเทคโนโลยีอื่นที่ดีกว่า เราจึงต้องรอดูผลของการแข่งขันครั้งนี้ก่อน แล้วค่อยเตรียมแผนผลักดันที่เหมาะสมต่อไป” สงวนให้ความเห็น

ไฟล์บังคับจากตระกูล “i”

 “อภิศิลป์  ตรุงกานนท์”  ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์พันทิปดอทคอม หนึ่งในเว็บไทยที่ตัดสินใจใช้เอชทีเอ็มแอล 5 และหัวเรือใหญ่ผู้จัดทำโปรเจค พันทิป 3 จี เล่าเสริมว่า
เอชทีเอ็มแอล 5 ทำให้เว็บไซต์เกิดไดนามิกมากขึ้น ส่วนของพันธ์ทิพย์ดอทคอมเองอยู่ระหว่างทดสอบระบบเวอร์ชั่นเบต้าโดยเปิดให้ใช้แค่เฉพาะทีมงาน มีกำหนดการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือน ก.ค.

อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเอชทีเอ็มแอล 5 ยังไม่อาจฆ่าแฟลชได้ การพัฒนาฟีเจอร์บางอย่างยังแทนกันไม่ได้ทั้งหมด แต่มีสัญญาณที่ดี คือ ผู้ให้บริการเว็บเบราเซอร์รายใหญ่ของโลกแทบทุกรายเห็นตรงกันว่าจะมุ่งไปที่เอชทีเอ็มแอล 5 แล้ว

อภิศิลป์ ชี้ว่า การที่จะเปลี่ยนหรือไม่นโยบายของเว็บไซต์จะพิจารณาตามจำนวนผู้ใช้เทคโนโลยี ที่ผ่านมา กับเบราเซอร์ที่มีคนใช้น้อยแล้วจะยังคงเข้ามาอ่านได้ตามปกติ แต่ไม่อาจใช้งานได้สมบูรณ์แบบทุกฟีเจอร์ที่มี

พร้อมกับยกตัวอย่างว่า ผู้ใช้เบราเซอร์ อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอร์ปัจจุบันมี 35% อันดับ 1 คือ เวอร์ชั่น 8 มี 67% เวอร์ชั่น 7 มี 13% ส่วนเวอร์ชั่น 9 ที่รองรับเอชทีเอ็มแอล 5 แล้วมี 13% ดังนั้น จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ขณะนี้การณ์ไว้แล้วแต่ยังใส่มากเกินไปไม่ได้ ถ้าเมื่อใดย้ายมาที่ 9 มากขึ้นเมื่อนั้นก็จะปรับตาม

เขากล่าวอีกว่า อีกหนึ่งปัจจัยที่เข้ามาผลักดัน คือ จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแทบเล็ตระบบปฏิบัติการไอโอเอสที่มีอยู่จำนวนไม่น้อย สถิติระบุว่าจากผู้เข้าชม 7 แสนคนต่อวัน มีผู้เข้าใช้เว็บไซต์ผ่านโมบาย ดีไวซ์ อยู่ 15% ในจำนวนนี้อุปกรณ์ยอดนิยมอันดับ  คือ 1. ไอโฟน 2. ไอแพด 3. กาแล็กซี เอสทู เกิดเป็นไฟล์บังคับที่ไม่สามารถใช้แฟลชได้ 


ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

MS เผยโฉมโลโก้ของ Windows 8 แล้วมาดูกัน

ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ก็ยกเครื่องโลโกใหม่ให้กับระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดอย่าง Windows 8 โดยจะเลิกใช้โลโก้ทีมีลักษณะคล้ายธงรูปหน้าต่างสี่ช่องหลากสีสันปลิวไสวที่ใช้มานานนับ 20 ปีด้วยโลโก้ที่เรียบง่ายมากๆ มีแค่หน้าต่างช่องกระจกสี่เหลี่ยมที่มีมุมมองแบบ perspective ซึ่งสีสันของโลโกไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็นสีฟ้าสีเดียว แต่จะปรับเปลี่ยนสีให้เข้ากับภาพธีมที่ผู้ใช้กำหนด

นอกจาก Windows 8 จะมีการยกเครื่องอินเตอร์เฟซใหม่ด้วย Metro UI แล้ว โลโก้ของมันยังถือเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของ Windows ที่เลิกใช้โลโกแบบเดิมที่ลักษณะคล้ายธงรูปหน้าต่างหลากสีกำลังปลิวสไว โดยโลโก้ใหม่นี้เข้าใจว่า การออกแบบน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากอินเตอร์เฟซ Metro ด้วย ซึ่งแทนไอคอนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ของ Metro UI ด้วยช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมที่ดูเรียบง่าย และล้อไปกับอินเตอร์เฟซใหม่ โดยเป็นผลงานการออกแบบของเอเจนซี่ Pentagram

แม้โลโก้ใหม่ของ Windows 8 จะใช้สีฟ้า แต่ในการใช้งานบนระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่นี้  สีของโลโก้จะเปลียนไปตามข้อกำหนดของผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวอ้างว่าโลโก Windows 8 ดูเรียบง่ายคล้ายโลโก้ของ Windows 1 (รูปข้างบนนี้) ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นธงรูปหน้าต่างหลากสีปลิวไสว (แทนการเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง) ที่ใช้กับ Windows 3.1 ในปี 1992 ซึ่ง Pentagram เผยถึงไอเดียการออกแบบโลโก้ Windows 8 ว่า โลโก้เดิมไม่ make sene ชื่อของผลิตภัณฑ์คือ Windows แต่ทำไมใช้รูป"ธง"? แล้วคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ล่ะครับ คิดเห็นอย่างไรกับโลโก้ Windows 8 ชอบกันไหมครับ

ที่มา http://www.arip.co.th/

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จ้าวเวหาเครื่องบินบังคับวิทยุ เตรียมพร้อมลงสนามแข่ง ชิงความเป็นตัวแทนภาคเข้าสู่ระดับประเทศ

เครื่องบินบังคับวิทยุแบบปีกหมุนหรือจ้าวเวหาปีกหมุน เป็นหนึ่งในผลงานประดิษฐ์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้เข้าชมงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2555 ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการแข่งขันขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี
   ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่าการแข่งขันเครื่องบินบังคับวิทยุแบบปีกหมุนเป็นกิจกรรมที่ วช. ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และสถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัดทำโครงการอบรมภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ : การพัฒนาเครื่องบินบังคับวิทยุแบบปีกหมุน เพื่อส่งเสริมการประดิษฐ์และออกแบบเครื่องบินจำลอง ที่สามารถเคลื่อนไหวและควบคุมได้ด้วยวิทยุบังคับ
 การออกแบบโครงสร้างเครื่องบินใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น วัสดุเหลือใช้ประเภทโฟม ซึ่งผู้ประดิษฐ์สามารถแสดงความคิดและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ได้ด้วยตัวเองโดยเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การถ่ายภาพทางอากาศเพื่อใช้ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตร การช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น
 นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวเพิ่มเติมว่ากฎกติกาในการแข่งขันระบุให้ผู้เข้าแข่งขันใช้เครื่องบินที่มีปีกหมุนหรือใบพัด 2 ชั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 340 มิลลิเมตร ใช้มอเตอร์ขนาด 180 สามารถปรับแต่งและพัฒนารูปแบบของเครื่องบินบังคับให้ต่างจากต้นแบบที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรมเพื่อให้มีความสวยงามและมีสมรรถภาพในการบิน
 สนามการแข่งขันเป็นสนามในร่ม ในแต่ละรอบจะแข่งขันครั้งละ 2 ทีม ปฏิบัติภารกิจภายในเวลา 2 นาที เริ่มจากบังคับเครื่องบินขึ้นจากจุดเริ่มต้น บินผ่านอุปสรรค เก็บสัมภาระ วางสัมภาระในจุดที่กำหนด และลงจอดบนลานจอด ซึ่งในแต่ละจุดจะมีอุปสรรคซึ่งมีคะแนนที่แตกต่างกัน โดยผู้มีคะแนนสูงสุดและทำเวลาน้อยสุดจะเป็นผู้ชนะ หากมีคะแนนเท่ากันจะตัดสินให้ผู้ที่ใช้เวลาน้อยกว่าเป็นผู้ชนะ
 ในการแข่งขันจ้าวเวหาแบบปีกหมุนครั้งนี้ ทีมเพื่อนบินโคราช 2 ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  จังหวัดนครราชสีมา คว้ารางวัลชนะเลิศจากผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 55 ทีม ได้รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาทพร้อมถ้วยรางวัลและทีมอื่นๆ ได้รับรางวัลรองลงมาตามลำดับ
และในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ วช. มีกำหนดจัดการแข่งขันเครื่องบินบังคับวิทยุแบบปีกหมุนในระดับภูมิภาคสำหรับนักเรียน นักศึกษาเพื่อคัดเลือกผู้เข้ารอบ 16 ทีม จากทุกภูมิภาคเข้าแข่งขันชิงถ้วยรางวัลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นภูมิภาคแรก 
 เยาวชนผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ วช. หมายเลขโทรศัพท์ 0 2579 2288

สิ่งประดิษฐ์จากสองนักศึกษา มทร.ธัญบุรี (ห้ามโทร.ก่อนได้รับอนุญาต)

ขบวนการค้ายาเสพติดและเครือข่ายการค้ายาเสพติดในเรือนจำที่ตำรวจสามารถจับกุมได้ ในปัจจุบัน เครื่องมือสำคัญที่คนร้ายนำมาใช้ในการปฏิบัติการคือ โทรศัพท์มือถือ โดยผู้ค้าที่เป็นผู้ต้องขัง จะโทรศัพท์มือมือสั่งการเกี่ยวกับการซื้อขายกับผู้อยู่ข้างนอกในเรือนจำ การแก้ปัญหาและเป็นการตัดขาดระหว่างเครือข่ายการค้าขายยาเสพติดวิธีหนึ่งก็คือการตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ

 จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ นายธัชรินทร์  เมืองสูน และนายวีระวัฒน์ ทองเนตร สองนักศึกษา จากภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องมือตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ และพัฒนาเพื่อหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ดังกล่าวต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้สัญญาณโทรศัพท์มือมือค้าขายยาเสพติดในเรือนจำแล้ว การตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือยังสามารถนำไปใช้ได้กับสถานที่ ที่ห้ามใช้โทรศัพท์ เช่น โรงหนัง หรือระหว่างการประชุมและพื้นที่เสี่ยงภัย ที่อาจจะอาศัยการกดชนวนระเบิดจากโทรศัพท์มือถือซึ่งก็พบเห็นอยู่บ่อยครั้งในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นต้น
 เครื่องมือตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ที่คิดค้นขึ้นนี้ จะทำการสร้างความถี่พาห์ ที่มีความถี่ครอบคลุมตลอดทั้งย่านความถี่ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM 900 ที่รับ-ส่ง กับสถานีฐาน(Base Station) ทำให้โทรศัพท์ไม่สามารถแยกข้อมูลระหว่างระบบ GSM 900 กับเครื่องป้องกันสัญญาณโทรศัพท์ได้ ส่งผลให้โทรศัพท์ไม่สามารถทำงานได้
 นอกจากนั้น นายเชฏฐพร โอพั่ง และนายวิชัย เพชรคงทอง นักศึกษาจากภาควิชาเดียวกัน ได้พัฒนาเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถตัดสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้เพิ่มขึ้นคือนอกจากจะสามารถตัดสัญญาณในย่าน 900 MHz แล้วยังสามารถตัดสัญญาณ ในย่าน 1800 MHz  ได้อีกด้วย
 นักศึกษาเจ้าของผลงานยังได้เล่าถึงหลักการทำงานที่สำคัญคร่าวๆให้เราฟังอีกว่า ในการทำงานของเครื่อง จะประกอบด้วยวงจรกำเนิดความถี่ควบคุมด้วยแรงดัน และวงจรกำเนิดสัญญาณ ลาดเอียงชนิดกระแสคงที่ โดยที่วงจร VCO จะกำเนิดสัญญาณที่มีความถี่ตั้งแต่ 925-960 MHz และ 1785-1900 MHz และ 1785-1900 MHz เพราะเป็นความถี่ที่ติดต่อระหว่างสถานีกับตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วมา Mixer กับสัญญาณรบกวนแล้วส่งเข้าสู่ภาคขยายสัญญาณแล้วส่งสัญญาณออกสู่สายอากาศเป็นลำดับต่อไป
 อย่างไรก็ตาม อาจารย์พงษ์ศักดิ์ อำภา อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มนี้ยังบอกเราอีกด้วยว่า นักศึกษายังจะมุ่งหน้าพัฒนา เครื่องมือตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถตัดสัญญาณได้ครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับประชาชนและสังคมต่อไป
มณีรัตน์  ปัญญพงษ์ กองประชาสัมพันธ์ราชมงคลธัญบุรี // รายงาน

นักพัฒนาเกมเวียดนามขอสร้างชื่อระดับโลก น่าทึ่งมาก

มาถึง พ.ศ.นี้ คอวีดิโอเกมมีบทบาทใหม่ให้เล่น นั่นคือ กองกำลังคอมมิวนิสต์ของโฮจิมินห์ ที่สามารถปลดแอกจากฝรั่งเศสได้สำเร็จ
 
เกม "7554" พัฒนาโดย อีโมบิ เกมส์ บริษัทผลิตเกมในกรุงฮานอย เวียดนาม อ้างอิงเนื้อหาจากการสู้รบที่โด่งดังที่สุดของเวียดนาม อันได้แก่ ยุทธการเดียนเบียนฟู ที่เวียดนามมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2497


ชาวเวียดนามเป็นคอเกมตัวยง เกมดังๆ อย่าง “คอลล์ ออฟ ดิวตี้” ของ แอคติวิชั่น บลิซซาร์ด อิงค์ เป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในกรุงฮานอยและโฮจิมินห์ซิตี้ จนผู้นำคอมมิวนิสต์วิตกว่าการเล่นเกมมากเกินไป จะทำให้วัยรุ่นมีผลการเรียนตกต่ำ จึงประกาศให้ร้านเกมริมถนนเปิดได้ไม่เกิน 4 ทุ่ม 
 
เหวียน จวน ฮุย นักพัฒนาเกมของ อีโมบิ พร้อมด้วยทีมงานของเขา ตัดสินใจหาประโยชน์จากความนิยมเล่นเกม โดยใช้เวลา 2 ปี กับเงินประมาณ 850,000 ดอลลาร์ พัฒนาเกม 7554ด้วยความหวังว่าจะสร้างชื่อเสียงในอุตสาหกรรมวีดิโอเกมโลก ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 65,000 ล้านดอลลาร์ ในแต่ละปี
 
นักวิเคราะห์ กล่าวว่า งบประมาณของ อีโมบิ เทียบกับค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างต่ำในเวียดนาม บ่งบอกว่า บริษัทตั้งใจผลิตเกมคุณภาพสูง
 
หากดูเผินๆ เกมนี้อาจไม่โดดเด่นในหมู่ผู้เล่นวงกว้าง แต่ ฮุย วัย 32 ปี กล่าวว่า พวกเขาภาคภูมิใจกับยุทธการเดียนเบียนฟู และต้องการให้คนทั่วโลกรับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ชาวเวียดนาม
 
นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ความนิยมดาวน์โหลดเกมแทนการซื้อในร้าน ทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นที่เกมอย่าง 7554 จะได้รับความนิยมอย่างไม่คาดหมาย และเกมที่สามารถดาวน์โหลดใส่คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แท่นบังคับราคาแพง
 
ดูตัวอย่างจาก โรวิโอ เอนเตอร์เทนเมนต์ บริษัทพัฒนาเกมรายเล็กในฟินแลนด์ ซึ่งสร้างเกม "แองกรีเบิร์ด" สำหรับโทรศัพท์ไอโฟน ของ แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ เมื่อปี 2552 ปัจจุบัน เกมนี้กลายเป็นขุมทรัพย์ที่กวาดรายได้จากทั่วโลก และ โรวิโอ ก็ไม่ใช่บริษัทโนเนมอีกต่อไป
 
ไบรอัน บลู ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ การ์ทเนอร์ อิงค์ บริษัทที่ปรึกษาเทคโนโลยีชื่อดัง กล่าวว่า เกมก็เหมือนกับภาพยนตร์ ในแง่ที่สามารถกระจายตัวไปได้ทั่ว บริษัทพัฒนาเกมรายเล็กสามารถผลิตเกม และเปลี่ยนแปลงตลาดได้
 
อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ อุตสาหกรรมนี้ยังอยู่ใต้อิทธิพลของ แอคติวิชั่น อิเล็กทรอนิกส์ อาร์ต อิงค์ และบริษัทอื่นๆ อีกไม่กี่ราย และของเถื่อนก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง โดยเฉพาะในเวียดนาม ซึ่งมีเกมเถื่อนวางขายอย่างเปิดเผยตามท้องถนน
 
ในสายตาของ ฮุย เกม 7554 เป็นหนทางให้ อีโมบิ สร้างชื่อเสียงให้ตัวเองมากกว่า
 
ฮุย และทีมงาน สร้างฉากหลังของเวียดนามในยุคสงครามแบบสมจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขอความช่วยเหลือจาก ไซต์เมนต์ แห่งเยอรมนี ในการสร้างตัวละครที่ดูน่าเชื่อถือ โดยบริษัทนี้เป็นผู้พัฒนาและจำหน่ายซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) สำหรับนักพัฒนาวีดิโอเกม 
 
เกม 7554 ออกวางจำหน่ายในเดือนนี้ ในราคา 12 ดอลลาร์
 
ผู้เล่นเกมจะเป็นนักรบกองโจรที่ต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีเทคโนโลยีเหนือกว่า แบบเดียวกับที่กองกำลังเวียดนามเผชิญเมื่อเกือบ 60 ปีก่อน ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ และนายพลโวเหงียนเกี๊ยบ 
 
กองกำลังเวียดนามขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์และการสนับสนุนทางอากาศ แต่กลับสามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสได้ ที่สมรภูมิเดียนเบียนฟู โดยลอบเข้าไปตามค่ายของฝรั่งเศส และสังหารศัตรูด้วยมีดหรือปืน
 
ฮุย กล่าวว่า เขาไม่ได้กังวลว่าพล็อตเรื่องอาจไกลตัวนักเล่มเกมตะวันตก สิ่งสำคัญที่สุด คือ เกมนี้ต้องอาศัยความไว และความลื่นไหลของตัวละครที่ตอบสนองคำสั่งของผู้เล่น
 
"พวกเราในเวียดนามไม่ได้คุ้นเคยกับสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก็ยังสนุกสนานกับเกม คอลล์ ออฟ ดิวตี้ ได้ ทุกคนสามารถสนุกได้กับทุกเกม ตราบใดที่ให้ความเพลิดเพลินและมีรางวัลตอบแทน" ฮุยกล่าว

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

iPad หน้าจอ 7 นิ้วลุ้นโผล่ปลายปีนี้ครับ

หลังจากทีเมื่อวานนี้่มีภาพหลุดของฝาหลัง iPad 3 ออกมาว่อนเน็ตปลุกกระแสก่อนการเปิดตัวที่คาดว่าจะเป็นสัปดาห์แรกของเดือน มีนาคมศกนี้ ล่าสุดมีรายงานจากนักวิเคราะห์บริษัท Technology Business Research ออกมาฟันธง(อีกแล้ว)ว่า Apple จะมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์อย่าง iPad ทีมีขนาดหน้าจอ 7 นิ้วในช่วงปลายปีนี้อย่างแน่นอน โดยนอกจากจะมีขนาดเล็กกว่ารุ่นปกติแล้ว มันยังมาพร้อมกับฟังก์ชัน Siri และเคสที่มีคีย์บอร์ดไร้สายด้วย


แหล่งข่าวยังแสดงความคิดเห็นที่มีต่อข่าวลือของ iPad 3 โดยระบุว่า ไม่น่าจะใช้โพรเซสเซอร์ควอดคอร์ เนื่องจากมีความต้องการพลังงานจากแบตเตอรี่ ค่อนข้างมาก แต่เชื่อว่า แอปเปิ้ลน่าจะแนะนำโพรเซสเซอร์ A6 ของชิปดูอัลคอร์ที่ทำงานเร็วกว่ารุ่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พวกเขาเชื่อว่า iPad รุ่นใหม่จะชูจุดเด่นเรื่องจอละเอียดสูง เช่นเดียวกับที่เป็นจุดขายสำหรับเรติน่าดิสเพลย์บนไอโฟน และมากับ Siri ในขณะเดียวกัน ยังมีการคาดการณ์ด้วยว่า iPad 2 รุ่น 16GB และเชื่อมต่อด้วย Wi-Fi เพียงอย่างเดียวจะมีราคาเหลือ 400 เหรียญฯ หรือประมาณ 12,000 บาท

แม้ก่อนหน้าที่สตีฟจอบส์จะเสียชีวิตเขาจะปฏิเสธ"แท็บเล็ต"ทีมี ขนาดหน้าจอ 7 นิ้วอย่างชัดเจน (วลีเด็ดของเขาคือ ถ้าจะขาย iPad 7 นิ้ว คงต้องแถมกระดาษทรายไปด้วย เพราะต้องตะไบนิ้วให้เล็กลงจึงจะใช้ได้...) แต่นักวิเคราะห์ยังคงยืนยันว่า iPad รุ่นทีมีหน้าจอขนาดเล็กกว่าปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในแผนการผลิต แถมยังเชื่ออีกด้วยว่า Apple กำลังผลิต iPad ที่มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว และจะเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้ พร้อมทั้งแนะนำอุปกรณ์เสริมการใช้งานอย่างเคสคีย์บอร์ดไร้สายสำหรับ iPad รุ่นนี้ด้วย (คล้่ายกับการเปิดตัว iPad 2 ที่มี Smart Cover ออกมาพร้อมกัน) ทั้งหมดนี้ คุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip คงอยากเชื่อเหมือนผมในประเด็นหนึ่งนั่นก็คือ iPad 2 จะลดราคาลงมาอยู่ที่ 12,000 บาท หลังเปิดตัว iPad 3 :P

ที่มา arip.co.th

Google จ่อให้บริการ Cloud ชน Dropbox ลองอ่านดู

ปัจจุบันผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกังวลว่า สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ๊คจะมาพร้อมกับสตอเรจ (storage) ที่น้อยเกินไป เนื่องจากโลกคอมพิวเตอร์กำลังมุ่งสู่ยุคที่ผู้บริโภคสามารถจัดเก็บข้อมูลไว้ บน"คลาวด์" (cloud storage) แล้ว โดยรายงานจากแหล่งข่าววงในระบุว่า Google กำลังเตรียมเปิดให้บริการสตอเรจ"คลาวด์"ที่มีชื่อว่า Drive ในเร็วๆ นี้

หากข้อมูลจากแหล่งข่าววงในของ Google ที่เปิดเผยกับ WSJ เป็นเรื่องจริง Google กำลังพุ่งเป้าไปยัง Dropbox เว็บไซต์คลาวด์สตอเรจยอดนิยม โดยทางบริษัทจะเปิดให้บริการ"คลาวด์สตอเรจ" หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีค่าบริการถูกกว่า (ตัดราคา) ของ Dropbox เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดสำหรับบริการนี้ ซึ่งปัจจุบัน Google ได้ให้บริการสตอเรจคลาวด์ฟรี 1GB สำหรับผู้ใช้ Google Docs ในขณะที่ Dropbox จะให้พื้นที่ 2GB ฟรีกับสมาชิก ซึ่งคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ทีเป็นสมาชิก Dropbox อาจจะเปลี่ยนใจเมื่อ Google Drive เปิดให้บริการ

สำหรับ "Drive" บริการคลาวด์สตอเรจของ Google จะคล้ายกับ iCloud ที่ให้บริการกับอุปกรณ์ต่างๆ ของ Apple และ SkyDrive ที่ให้บริการกับแพลตฟอร์มของ Microsoft ทั้งนี้ผู้เชึ่ยวชาญคาดว่า การเดินเกมรุกด้วยการให้บริการคลาวด์สตอเรจครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของ Dropbox แล้ว มันยังเป็นการสนับสนุน Chromebook (เน็ตบุ๊ค Chrom OS) ของทางบริษัทที่ทำงานร่วมกับคลาวด์สตอเรจอีกด้วย ในส่วนของคาบริการคลาวด์สตอเรจที่ Google ให้กับ Google Docs จะอยู่ที่ 5 เหรียญฯ (ประมาณ 150 บาท) ต่อ 20GB และ 20 เหรียญฯ (ประมาณ 600 บาท) ต่อ 80GB ต่อปี ซึ่ง Drive จะมีระบบจัดการไฟล์ที่ฉลาดกว่า ในขณะที่ค่าบริการน่าจะต่ำกว่า Dropbox

ที่มา arip.co.th

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไอที Kinect สำหรับ Windows PC มาแล้ว!!!

ข่าวล่าสุด ไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปิดเกมรุกสำหรับ Kinect for Windows อีกครั้ง โดยทางบริษัทกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ได้รับการออกแบบให้ช่วยเพิมประสิทธิภาพของการทำงานภายในธุรกิจองค์กรต่างๆ ได้ ในขณะดียวกันยังเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ตลอดจนเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมต่างๆ อีกด้วย สำหรับการข้ามฝ่ายร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้ของไมโครซอฟท์ ช่วยให้บริษัทสามารถเปิดตลาดใหม่ได้

ในส่วนของความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้ยังหมายถึงการที่ธุรกิจใดๆ ก็ตาม สามารถเข้าร่วมกับบริษัทต่างๆ ที่ตอนนี้มีอยู่มากกว่า 300 รายที่กำลังพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับการใช้ Kinect for Windows ตัวอย่างเช่น ยูไนเต็ด เฮลท์กรุ๊ป, อเมริกัน เอ็กซ์เพลส, แมทเทล, เทเลโฟนิคา และโตโยตา ทั้งนี้การสนับสนุนให้ธุรกิจต่างๆ ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ทางไมโครซอฟท์ และเทคสตารส์กำลังทำแคมเปญจ์การตลาดที่เรียกว่า Kinect Accelerator สำหรับผู้ประกอบการ วิศวกร และนวตกรให้ได้มีโอกาสพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย Kinect

"การหยิบยื่นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาสำหรับแอพพลิเคชันบนวินโดวส์ให้กับผู้ประกอบการ เราหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักธุรกิจที่มีไอเดียทั่วโลกได้พัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไปด้วย Kinect โดยใช้คุณสมบัติของอินเตอร์เฟซที่สามารถอินพุทด้วยท่าทางต่างๆ (gesture) และเสียงในการโต้ตอบกับพีซีที่รันวินโดวส์กับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากการอยู่ในห้องนั่งเล่น อย่างเช่น การนำไปใช้ทางด้านการศึกษา โรงงานผลิต สุขภาพ และค้าปลีกต่างๆ" เครก อิสเลอร์ ผู้จัดการทั่วไปส่วนธุรกิจไคเนคส์ฟอร์วินโดวส์ กล่าว


สำหรับใบอนุญาตประกอบการค้า Kinect for Windows และฮาร์ดแวร์ที่สามารถซื้อหาได้นั้นจะมีอยู่ใน 12 ประเทศ ซึ่งได้แก่ สหราชอณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศษ เยอรมัน ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก นิวซีแลนด์ สเปน และสหรัฐฯ นักพัฒนาที่สนใจทำธุรกิจที่ไอเดียผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมโปรแกรมการตลาด Kinect Accelerator โดยแต่ละรายจะได้รับเครื่องมือคิดเป็นมูลค่า 20,000 เหรียญฯ (ประมาณ 600,000 บาท) ซึ่งประกอบด้วย ชุดคิทพัฒนาสำหรัเอ็กซ์บ๊อกซ์, Windows Kinect SDK (Software Developer Kit), พื้นที่สำหรับสำนักงาน และคำแนะนำต่างๆ จากไมโครซอฟท์ ข้อมูลเพิ่มเติมโดยละเอียดจะอยู่ในเว็บไซต์ Microsoft BizSpark

ที่มา arip.co.th

เฟซบุ๊ค คอมเมิร์ซ เทรนด์ใหม่ปี 2555

ในที่สุด การทำการค้าขายบน เฟซบุ๊ค ก็ถือกำเนิดเป็นเรื่องเป็นราวแล้วนะครับ ปัจจุบันร้านค้าต่างๆ เริ่มทยอยทำแท็บพิเศษ เอฟบีเอ็มแอล


ขึ้นมาที่หน้าเฟซบุ๊ค แล้วก็ใส่เครื่องมือในการซื้อขาย การตารางสินค้า หรือไม่ก็ระบบการจองที่พักหรือทัวร์กันบนหน้าเฟซบุ๊คของตัวเองอย่างคึกคัก

ทีนี้คำถามคือว่าแล้วมันจะขายได้หรือ

คำตอบคือขายได้ครับ เพราะจริงๆ แล้วคนที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเฟซบุ๊คของเรานั้น จะว่าไปก็เป็นคนที่เกี่ยวเนื่องและใช้บริการสินค้าของเราอยู่แล้วส่วนหนึ่ง ทีนี้หากจะมีส่วนที่อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าและบริการเลยทีเดียวก็น่าจะสะดวกดีไม่น้อย

ผมยกตัวอย่าง นกแอร์ แล้วกันครับ สายการบินนี้มีบริการให้คนที่อยากจะจองตั๋วเครื่องบิน ได้ซื้อและจองตั๋วกันที่หน้าแฟนเพจของตัวเองแล้วเช่นกัน  เหมือนสายการบินใหญ่ๆ ในต่างประเทศ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็อาจจะมีบริการแชร์หรือไลค์เข้าไปเกี่ยวอีกนิดหน่อยก็น่าจะดี เช่น ถ้าซื้อตั๋วแล้วมีเพื่อนมากดถูกใจให้เราก็ได้รับส่วนลด หรือจัดเป็นกิจกรรมแคมเปญ "ไลค์ โชว์ แชร์" ถ้าจองเที่ยวบินไหน ไปเที่ยวแล้วกลับมาโพสต์รูปภาพเชิญชวนให้เพื่อนๆ ไปเที่ยวกันต่อ ก็น่าสนใจดีไม่น้อย เพราะจะเป็นการทำ โซเชียล คอมเมิร์ซ ไปในตัวเลย

ตัวอย่างที่ผมยกไปเบื้องต้น เป็นไอเดียแนะแนวให้คุณผู้อ่านที่ทำธุรกิจหรือบริการแตกต่างกันไป นำไปประยุกต์ได้นะครับ หลักการของ โซเชียล คอมเมิร์ซ ผมจะเน้นไปที่ เฟซบุ๊ค คอมเมิร์ซ ก่อนสำหรับบทความนี้  ก็ลองปรับไปใช้กันดูครับ

หลักการ คือ ใช้ร่วมกัน แชร์ แล้วโชว์ ถ้ามี 3 อย่างนี้ก็จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อแบบเหมากลุ่ม หลังจากนั้น ก็หาทางให้ผู้ใช้แชร์กิจกรรม ซึ่งวิธีการแชร์กิจกรรมไม่มีอะไรมาก หาประเด็นให้ผู้ใช้ได้เล่นได้โชว์ออฟกันก็เท่านั้นเองครับ

จำนวนผู้ใช้กว่า 12 ล้านคนที่ใช้ เฟซบุ๊ค รวมๆ กันในเมืองไทยตอนนี้ ก็เริ่มมีผลลัพธ์ไปในการค้าขายได้แล้วนะครับคุณผู้อ่าน อย่างไรก็ดี ผมยังคงแนะนำให้ทำการค้าขายเป็นเรื่องลำดับที่ 2 แต่ให้เน้นการสร้างแบรนด์ สร้างความผูกพันกับฐานแฟนเพจ เป็นความสำคัญอันดับ 1 นะครับ ไม่อย่างนั้นแล้วรับรองได้ว่าแฟนหายเรียบแน่นอน

การทำ โซเชียล คอมเมิร์ซ บนเฟซบุ๊ค ยังใหม่มากในเมืองไทย แต่ก็มีผลในการสร้างยอดขายหลากหลาย คุณผู้อ่านลองสำรวจตัวเองว่าเราทำธุรกิจอะไร ซื้อมาขายไป สินค้าบริการ หรืออะไรก็ลองหาทางปรับประยุกต์กันไป ใช้ได้หมดละครับ เพราะตอนนี้ยอดใช้จ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ตมีนัยสำคัญที่น่าจับตามองกันมากๆ

ธนาคารทั้งหลายเริ่มตื่นตัวกับการสร้างบริการตัดบัตรเครดิต หรือแม้แต่เดบิตก็ได้ ล่าสุดผมเห็นบางธนาคารใช้ระบบหมายเลขบัตรเครดิตจำลองเอาไปผูกกับบัญชีธนาคารก็มีแล้ว ดังนั้น ต่อไปใครๆ ก็ซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทั้งนั้นละครับ

ทิ้งท้ายกันที่แฟนคอลัมน์ที่ส่งอีเมลจะมาฟังผมกระชับวงล้อมนั่งเล่าเรื่อง โซเชียล เน็ตเวิร์ค วันก่อน ผมขออภัยจริงๆ ครับที่เต็มไปแล้ว แต่ครั้งหน้าผมจะเล่าเรื่อง โซเชียล คอมเมิร์ซ ให้ฟังขยายความต่อจากบทความตอนนี้ละครับ ใครสนใจก็จับจองที่นั่งเสวนาสภากาแฟกันได้ ผมรับครั้งละ 10 ท่านเท่านั้นเอง ใครสะดวกจะติดขนมนมเนยมานั่งพูดคุยกันก็ได้ตามความสะดวกเช่นเดิมครับ อีเมลกันเข้ามานะครับที่ ap@indexcreativeonline.com  ครับ เรื่องสถานที่เดี๋ยวผมจัดการให้เองครับ แล้วเจอกันครับ

อพวช. จัดประกวดเกมส์สร้างสรรค์

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดประกวดเกมส์สร้างสรรค์

อพวช. ร่วมกับ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า บางกะปิ จัดการประกวด “เกมส์สร้างสรรค์จินตนาการด้านไอที หวังส่งเสริมเด็กไทยพัฒนาเกมส์คอมพิวเตอร์


อพวช. ร่วมกับ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า บางกะปิ จัดการประกวด “เกมส์สร้างสรรค์จินตนาการด้านไอที (IT Creative Games Competition)” หวังส่งเสริมเด็กไทยพัฒนาเกมส์คอมพิวเตอร์    
          ดร. พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดเผยว่า  ได้ร่วมกับ บริษัท พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า สาขาบางกะปิ จัดโครงการการประกวด “เกมส์สร้างสรรค์จินตนาการด้านไอที (IT Creative Games Competition) ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้กับเยาวชนที่มีความสนใจพัฒนาเกมส์คอมพิวเตอร์ ได้มีเวทีในการแสดงออกในทางสร้างสรรค์
          การแข่งขันนี้ได้กำหนดหัวข้อการเสริมสร้างการเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีเงื่อนไขจะต้องเป็นเกมส์ที่พัฒนาขึ้นด้วยตนเอง การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ ระดับประถมศึกษา, ระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษาและบุคคลทั่วไป แต่ละทีมต้องมีสมาชิก 1-3 คน ซึ่งเปิดรับสมัครผู้สนใจ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา มีผู้สนใจส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันกว่า 104 ทีม
          นอกจากพิธีมอบรางวัลดังกล่าวแล้ว อพวช. ยังมีการจัดนิทรรศการ “เกมส์สร้างสรรค์” ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเกมส์คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ ประวัติความเป็นมารวมถึงวิวัฒนาการในแต่ละยุคของเกมส์, การแบ่งประเภทของเกมส์, การรู้เท่าทันเกมส์, สถิติเกี่ยวกับเกมส์และตัวอย่างเกมส์สร้างสรรค์ ร่วมถึงผลงานเกมส์ที่ได้รับรางวัล ในครั้งนี้ ซึ่งจะจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า สาขาบางกะปิ
          ด้านนายวิษณุ หวังวิสุทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าและตลาด ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า กล่าวว่า ในปัจจุบันมีเกมส์ออกมามากมายให้เราเลือกเล่น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเน้นการให้ความบันเทิง ส่วนเกมส์ที่ให้สาระความรู้ต้องยอบรับว่ามีอยู่น้อยมาก ดังนั้นการจัดโครงการ “การประกวดเกมส์สร้างสรรค์จินตนาการด้านไอที” จึงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เห็นว่าจะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาโปรแกรมเกมส์คอมพิวเตอร์โดยคนไทย ที่ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน ซึ่งเป็นไปได้ที่จะเป็นเกมส์ที่ประสบความสำเร็จเชิงธุรกิจในอนาคต

ที่มา bangkokbiznews.com

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เปิดผนึก “ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง”กับสุดยอดกูรูนักการตลาด ลองอ่านดูสิครับ

"โซเชียลมีเดียเปรียบเสมือนเซ็กซ์ของวัยรุ่นที่ทุกคนอยากลอง แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร สุดท้ายเมื่อได้ลองแล้วกลับรู้สึกแปลกใจ

เพราะว่ามันไม่ได้ดีอย่างที่นึกหวังเอาไว้"

เปิดเวทีด้วยคำจำกัดความโดนใจแสนร้อนแรงแต่แอบติดเรทนิดๆ จากคำกล่าวของ “Avinash Kaushilk” ผู้เชี่ยวชาญจากกูเกิลโดย “วิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท โวเน่ จำกัด ที่ใช้นำเข้าสู่สมรภูมิรบในโลกโซเชียล เน็ตเวิร์ค ที่งานสัมมนา “ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง ซัมมิต 2012” จัดโดย บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น ในเครือเนชั่น

ก่อนจะชี้ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงคือมันไม่ได้ง่ายอย่างที่หลายคนคิด แต่เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่เอาไว้ใช้ร่วมกับเว็บเบสด์ และโมบายเทคโนโลยีสำหรับเปลี่ยนการสื่อสารธรรมดาเป็นการพูดคุยที่มีการโต้ตอบระหว่างกัน

เขากล่าวว่า จากนี้ไปจะไม่ใช่เวลามาเล่นอีกแล้ว ที่ต้องทำคือมองหากลยุทธ์สำหรับตัวเอง ซึ่งไม่ใช่แค่การตั้งความหวัง หยุดคิดเรื่องการสร้างแคมเปญ แล้วหันไปเริ่มคิดคำพูดดีๆ และมองหาความช่วยเหลือจากคนอื่นหากคิดว่าต้องการ รวมทั้ง จำไว้ด้วยว่าโซเชียลมีเดียไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่งทุกอย่าง หากจะแก้ปัญหาต้องกลับไปคิดที่คอร์บิซิเนสเสียก่อน และโซเชียลมีเดียจะกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมหากการบริการลูกค้ายังไม่ดีพอ

“ตัดสินใจทำเสียก่อนโดยไม่ต้องรอให้เห็นตัวอย่างของคนอื่นๆ มิเช่นนั้นอาจสายเกินไป มากกว่านั้นอย่าลืมคิดถึงประเด็นที่ว่าไม่อาจหาเพื่อนกว่า 500 ล้านคนได้โดยปราศจากการสร้างศัตรูจำนวนหนึ่งเลย” วิลาสแนะ

ข้อมูลล้นแต่ไม่โดน

'พรทิพย์ กองชุน' หัวหน้าฝ่ายการตลาด กูเกิลประเทศไทย เสนอมุมมองเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียที่มีต่อแบรนด์ว่า ทุกวันนี้ข้อมูลถูกส่งออกมาเหลือล้น แต่มักไม่ตรงใจ ดังนั้นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการส่งสารให้ตรงกับที่ลูกค้าต้องการจะฟัง จากนั้นเข้าไปโฟกัสเรื่องของวิธีการทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างกัน นำไปสู่คำถามที่ว่าทำอย่างให้เกิดการแนะนำกระจายสินค้าให้มากที่สุด และสุดท้ายวางกลยุทธ์ให้ครอบคลุมพฤติกรรมของคน

ข้อมูลระบุว่า 77% ของคอนเทนท์ในโซเชียลมีเดียถูกสร้างโดยเหล่าลูกค้า และ 90% จะรู้สึกเชื่อที่เพื่อนหรือคนรู้จักของเขาบอกและนำไปบอกต่อให้คนอื่น

เธอชี้ว่า นักการตลาดทราบดีอยู่แล้วว่าไม่ควรทำตลาดแบบแมสแต่ควรทำเป็นเซ็กเมนท์แทน เพราะลูกค้าแต่ละคนรอคอยคอนเทนท์ที่ต่างกัน ส่วนวิธีการเข้าถึงที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดควรนำไปผสมผสานร่วมกับเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์ประเภทอื่นๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยบอกว่ามีนักการตลาดที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือพร้อมกับผสมผสานสื่อประเภทอื่นเข้าไปด้วยเพียง 25% ส่วนอีก 75% ยังทำแยกออกมาเป็นชิ้นๆ ซึ่งไม่ถูกต้อง

สร้าง 'แพลตฟอร์ม' ทรงพลัง

พรทิพย์สะท้อนประสบการณ์ของกูเกิลต่อการพัฒนากูเกิลพลัสว่า อยู่ภายใต้โจทย์ใหญ่คือ ทำอย่างไรจะสื่อสารกับลูกค้าได้ดีที่สุด ใน 3 คอนเซปต์คือ 1. การสร้างตัวตน 2. ส่งสารให้ตรงใจ และ 3. นำไปสู่การแชร์ต่อกัน

"การตลาดไม่ได้แยกเป็นชิ้นๆ สิ่งที่เรามองหาคือการสร้างพลังให้เกิดบนทุกแพลตฟอร์มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ขณะนี้"

ทั้งนี้ ปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้กูเกิลพลัสส่วนใหญ่อายุ 18-24 ปี ทั่วโลกผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ในไทยสัดส่วนพอๆ กัน ในความแตกต่างที่วางตัวเองไว้คือเครื่องมือสำหรับการเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ของกูเกิลที่มีทั้งหมดกลายเป็นแคมเปญที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกัน

“เราไม่ใช่โซเชียลมีเดีย แต่เป็นโซเชียลแพลตฟอร์ม ที่ทุกอย่างไม่ได้จบแค่กูเกิลพลัสแต่ข้ามไปที่อื่นๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้าที่ไม่ได้อยู่กับสิ่งใดสิ่งเดียวทั้งวัน”

"เสิร์ช" เรียกรายได้
'ปภาดา อมรนุรัตน์กุล' กรรมการผู้จัดการ บริษัท เรดแรงค์ จำกัด กล่าวว่า ผลสำรวจจากอีมาร์เก็ตเตอร์ ระบุว่า การค้นหาของลูกค้าทำผ่านเสิร์ชเอ็นจินคิดเป็น 57% ร้านค้าปลีก 18% เว็บไซต์ของแบรนด์ 20% เฟซบุ๊ค 3% และทวิตเตอร์ 2%

ทั้งนี้ ส่วนของการเสิร์ช คีย์เวิร์ดยอดฮิตตลอดการมากว่า 10 ปีคือ เกม ฟังเพลง ดูดวง หางาน ในกลุ่มนี้การเข้าไปเจาะจะทำได้ยากและมีราคาแพง แต่ยังมีบางประเภทที่มาแรงเป็นช่วงๆ ตามกระแส เช่น คันหู หวย ทำนายฝัน

เธอให้ข้อมูลว่า วิธีการเลือกเครื่องมือควรพิจารณาตามมาร์เก็ตแชร์ของแต่ละประเทศ เช่นทั่วโลกกูเกิลกินสัดส่วนไปกว่า 79% อันดับ 2 คือ ไป๋ตู 11% จากเหตุผลง่ายๆ คือประเทศจีนมีประชากรจำนวนมาก ขณะที่พื้นที่อื่นๆ ถ้าสังเกตดีๆ จะแตกต่างกันด้วยปัจจัยทางภาษา จะมีก็แต่ในประเทศที่มีภาษาเป็นของตัวเอง แต่ถูกกูเกิลกินตลาดไปมากกว่า 99%

“คำถามยอดฮิตคือทำอย่างไรจะพาตัวเองไปติดท็อปฮิตในผลการค้นหา เรื่องนี้คีย์เวิร์ดสำคัญมาก จำเป็นต้องทำให้ตรงกับตัวตนของตัวเองจริงๆ พร้อมกับมองให้ทะลุว่าฮีโร่โปรดักท์ของตัวเองคืออะไร”

ไทยแลนด์เลิฟเฟซบุ๊คมากๆ

'สุธีรพันธ์ สักรวัตร' แบรนด์ คอมมูนิเคชั่น บริษัท จีเอ็มเอ็ม 1 สกาย จำกัด วิเคราะห์ว่า หลังเปิดขายไอพีโอคาดว่ามูลค่าของเฟซบุ๊คมีโอกาสแตะ 1 แสนล้านดอลลาร์ สูงกว่าบริษัทเทคโนโลยีด้วยกันอย่างกูเกิลที่มี 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ และซังก้าที่มีมูลค่าราว 7 พันล้านดอลลาร์ ขณะนี้ทุกคนมองเห็นโอกาสจากสิ่งที่สะท้อนมานี้ ขณะเดียวกันตัวเฟซบุ๊คเองไม่เคยหยุดนิ่ง พวกเขาพยายามไขว่คว้าหาชัยชนะอยู่ตลอดเวลาโดยที่มองเรื่องเงินเป็นปัจจัยรองลงมา

กลับมาที่ประเทศไทยปัจจุบันผู้ใช้งานอยู่อันดับ 16 ของโลก มีอยู่จำนวน 13 ล้านคน ครองสัดส่วน 80% ของคนใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศที่มีอยู่ประมาณ 20 ล้านคน เชิงการตลาดผลสำรวจบอกว่ากลุ่มที่มีสัดส่วนใหญ่สุดคือคนอายุ 18-34 ปีคิดเป็น 63% รองลงมา 13-15 ปี 11% ตามด้วย 35-44 ปี และ 16-17 ปี อย่างละ 10% จากนั้น 45-54 ปี 4% อายุ 65 ปี 1% และ 55-64 ปีอีก 1%

“ไทยแลนด์เลิฟเฟซบุ๊คมากๆ เชื่อว่าเจเนอเรชั่นถัดไปชีวิตของพวกเขาจะอยู่บนเฟซบุ๊คตั้งแต่เกิดมาเลย”

เขาแนะว่า เทคนิคการสร้างความสำเร็จต้องสร้างความสม่ำเสมอด้วยการโพสต์ข้อความทุกวัน โฟกัสกับการสร้างมูลค่าของแบรนด์ เรียกหาการตอบสนองจากแฟนๆ ทำให้มันเป็นเรื่องสนุกและอย่าทำอะไรที่เหมือนพยายามฮาร์ดเซลจนเกินไป

“ทำอะไรที่มันง่ายๆ สั้นๆ เน้นคำว่าทำอย่างไร หลีกเลี่ยงการไปถามว่าทำไม เพราะคนใช้เฟซบุ๊คไม่มีเวลามาหาเหตุผลมากขนาดนั้น” สุธีรพันธ์ กล่าว

“วรวิสุทธ์ ภิญโญญาง” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิบ๊อกซ์ จำกัด และคอลัมนิสต์ด้านกลยุทธ์ธุรกิจและการตลาด กล่าวเสริมว่า เทคนิคการสร้างความโด่งดังให้แบรนด์ ไม่จำเป็นต้องใช้สื่อกระแสหลักเสมอไป หากมีคอนเทนท์ที่ดีๆ ก็มีโอกาสแจ้งเกิดได้ ที่ผ่านมามีตัวอย่างอยู่หลายกรณีที่ใช้สื่อสมัยใหม่เพียงอย่างเดียวแต่ออกมาแล้วดี ทั้งยังวัดสอบได้ว่าผลตอบรับเป็นอย่างไร

พร้อมกับแนะว่า บนเส้นทางเดินการคิดของลูกค้า ระยะสั้นหากขายสินค้าได้ถือว่าประสบความสำเร็จ แต่จุดที่ยากที่สุดและผลที่ต้องทำให้ได้คือการทำให้ผู้บริโภคเกิดความผูกพันกับแบรนด์ ซึ่งสิ่งนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจ ในระยะยาว

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/ 

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

'ซิป้า'โชว์ซอฟต์แวร์ไทย งานบีโอไอแฟร์ 2011 ลองอ่านดูครับ

ซอฟต์แวร์” ถือเป็นธุรกิจใหม่ที่มีการเติบโตอย่างน่าจับตา ทว่าผู้ประกอบการไทยกลับมีส่วนร่วมเพียงไม่เกินร้อยละ 20
เพราะภาคธุรกิจส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ซอฟต์แวร์และดิจิทัล คอนเทนท์จากต่างประเทศเป็นหลัก

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือซิป้า มีภารกิจหลักในการส่งเสริมซอฟต์แวร์ไทย ที่มากกว่าร้อยละ 90 เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ยุทธศาสตร์ล่าสุด คือการสนับสนุนซอฟต์แวร์ไทยให้ตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเน้นเจาะ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สุขภาพ อาหารและเกษตร การศึกษา และโลจิสติกส์

หนึ่งในกิจกรรมสำคัญที่เริ่มตั้งแต่ต้นปีได้แก่การร่วมงาน “บีโอไอแฟร์ 2011” ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 5-13 ม.ค.นี้ เป้าหมายเพื่อมุ่งนำเสนอผลงานซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนท์ จากพลังสร้างสรรค์ของคนไทย โดย “ซิป้า” ร่วมกับ บริษัท เอ็กซ์ทรีม พลัส จำกัด แปลภาษาดิจิทัลที่ซับซ้อน เพื่อให้น่าสนใจและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับประชาชนทั่วไป รวมทั้งตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เข้าชมงาน

โชว์ 4 โซน 'นิทรรศการ'

ปริญญา กระจ่างมล รองผู้อำนวยการซิป้า กล่าวถึงกิจกรรมหลักภายในงานว่าประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนิทรรศการ งานเจรจาธุรกิจ และงานสัมมนา ซึ่งส่วนนิทรรศการ จะเน้นการใช้เทคโนโลยีทันสมัยมานำเสนอเนื้อหา เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและเข้าใจได้ง่าย โดยจะแบ่งเป็น 4 โซน ได้แก่

โซนเพลินใจ เน้นการแสดงความก้าวหน้าจากผู้พัฒนาเกมและแอนิเมชัน ซึ่งเทคโนโลยี Multi-touch Screen และ VDO Wall จะทำหน้าที่หลักในการนำเสนอเนื้อหา เพื่อให้ผู้เข้าชมได้สนุกไปกับความคิดสร้างสรรค์จากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ของไทยในรูปแบบ Interactive

โซนภูมิใจ 84 โครงการ…84 พรรษามหาราชัน จัดแสดงผลงานของผู้ได้รับทุนจากการประกวดผลงาน ซอฟต์แวร์ ทั้ง 84 โครงการที่ซิป้าได้ส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถสร้างซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่มีศักยภาพ หรือต่อยอดซอฟต์แวร์ที่มีอยู่เดิม เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น

โซนได้ใจ ร่วมภาคภูมิใจไปกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยที่ได้รับรางวัลจากองค์กรและสมาคมต่างๆ

โซนตั้งใจ เน้นการแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย นำเสนอผ่านเทคโนโลยี 3D Hologram เพื่อนำผู้ชมเข้าถึงจินตนาการการสร้างสรรค์ประโยชน์ทางธุรกิจใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมจากซอฟต์แวร์ในหลากหลายบทบาทหน้าที่ อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยว จะมีการจำลองสถานการณ์ เพื่อให้ผู้ชมได้เห็นตั้งแต่เริ่มวางแผนการเดินทางไปจนถึงจุดหมายปลายทาง ว่าซอฟต์แวร์โซลูชั่นจะช่วยอำนวยความสะดวกตลอดทั้งกระบวนการได้อย่างไร

“จะเน้นเล่าเรื่องด้วยแอนิเมชัน เพื่อให้ผู้ที่เข้าชมได้เห็นประโยชน์ของซอฟต์แวร์ต่างๆ แทนที่เราจะพูดภาษาเทคนิค แต่จะใช้ภาษาทางธุรกิจ” รองผู้อำนวยการซิป้ากล่าวและว่า เป้าหมายเพื่อสื่อสารกับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะระดับบริหาร ซึ่งอาจไม่ได้มีความเข้าใจลึกซึ้งในรายละเอียดเชิงเทคนิค แต่เป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ

นอกจากจะเป็นการนำเสนอศักยภาพผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยให้ประชาชน รวมถึงภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้รับชมแล้ว ซิป้ายังคาดหวังให้เกิดการค้า การร่วมทุน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์องค์กร ที่อาจนำไปสู่การเป็นพันธมิตรทางการค้า ซึ่งจะมีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และหนุนเสริมการเติบโตของระบบเศรษฐกิจไทยไปพร้อมกัน

ด้าน นิรชราภา ทองธรรมชาติ รักษาการผู้อำนวยการซิป้า กล่าวว่า การเข้าร่วมจัดนิทรรศการเพื่อนำเสนอผลงานของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนท์ของไทยในงาน “บีโอไอแฟร์” ใช้งบประมาณ 15 ล้านบาท บนพื้นที่เกือบ 1,000 ตารางเมตร เพื่อสร้างกิจกรรมนิทรรศการ (Exhibition&Showcase) งานเจรจาธุรกิจ (Business Matching Session) รวมทั้งการสัมมนาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ทั้งสำหรับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป

“นับเป็นครั้งแรกที่ซิป้าได้เข้าร่วมงานในบีโอไอ เพื่อที่แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยนั้นได้รับการยอมรับ มีความก้าวหน้าไปขนาดไหน และซอฟต์แวร์ไทยสามารถที่จะผลักดันอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตและแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างไร”

ด้วยความคาดหวังว่าการซื้อขาย ร่วมทุน แลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์และความร่วมมือทางธุรกิจ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรและบริษัทไอทีชั้นนำในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศที่อาจนำไปสู่การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันในอนาคต ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในงานนี้ รวมทั้งยุทธศาสตร์การทำงานตลอดทั้งปีนี้ของซิป้า จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันการเติบโตของตลาดไอซีทีไทย 


ที่มา bangkokbiznews.com

ไอที-นวัตกรรม : ไอทีไร้พรมแดน ด้วย Simsimi

สร้างความฮือฮาให้แก่โลกออนไลน์ไปพอสมควร กับเจ้าลูกเจี๊ยบสีเหลืองสดตัวน้อยๆ สัญชาติเกาหลี ที่ไม่ได้มีดีแค่เป็นเพื่อนแก้เหงาแต่ยังพกเอาฝีปากคมกริบมาด้วย ลูกเจี๊ยบที่ว่านั้น มีชื่อเป็นของตัวเองว่า "Simsimi" เป็นแอพพลิเคชั่นที่พัฒนามาจากประเทศเกาหลี มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ "Siri" แตกต่างกันที่ เจ้า Simsimi ไม่ได้ตอบโต้ด้วยเสียง แต่ตอบโต้ด้วยข้อความเสมือนแชทกับคนจริงๆ
 


Simsimi ทำงานโดยการตอบโต้กับคำถาม ด้วยคำตอบที่มีอยู่แล้วในฐานข้อมูล หากคำถามใดที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน Simsimi จะตอบสนองไม่ได้ ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้วจะสามารถป้อนข้อความ เพื่อให้ Simsimi เรียนรู้ได้โดยตรง เป็นเหตุให้แอพพลิเคชั่นนี้ต้องถูกจัดเรทของกลุ่มผู้ใช้ไว้ที่ 18+ เพราะบางคำตอบอาจทะลึ่ง หยาบคาย และกวนโมโหแบบสุดๆ

ใครที่ยังไม่เคยประชันฝีปากกับลูกเจี๊ยบตัวแสบนี้ หาแอพมาลองเล่นได้ที่ App Store สำหรับผู้ใช้ไอโอเอส Andriod Market สำหรับผู้ใช้แอนดรอยด์ ส่วนสาวกแบล็คเบอร์รีและผู้ใช้ทั่วไป สัมผัสความแสบได้ที่
http://www.simsimi.com

ที่มา bangkokbiznews.com

Google โกยหมื่นล้านดอลฯใน Q4 พุ่ง 25%

กูเกิล กวาดรายได้ ไตรมาส 4 ปี 2554 กว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
บริษัท กูเกิล อิงค์ เปิดเผยว่า ผลประกอบการในไตรมาส 4 ประจำปี 2554 มูลค่าทั้งสิ้น 1.058 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนรายได้สุทธิ ซึ่งไม่รวมต้นทุนการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทอื่น ๆ อยู่ที่ 8.13 พันล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม รายได้ในไตรมาส 4 ถือว่า ยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ แม้ตัวเลขดังกล่าวปรับตัวขึ้นสูงกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์  เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 13 ปีของกูเกิล ก็ตาม
ขณะที่ โพลจากแฟคท์เซต รีเสิร์ซ ซิสเท็มส์ ซึ่งสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ คาดการณ์ว่า รายได้สุทธิของกูเกิล จะเพิ่มขึ้น 31%  แตะ 8.4 พันล้านดอลลาร์
ด้าน นายแลร์รี เพจ ซีอีโอของกูเกิล กล่าวชื่นชมผลประกอบการครั้งนี้ พร้อมระบุว่า กูเกิล มีผลประกอบการที่แข็งแกร่งมาก ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว  โดยรายได้ตลอดปีเพิ่มขึ้น 29% และรายได้รายไตรมาสของบริษัททะยานขึ้นเหนือระดับ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นครั้งแรก

innnews.co.th

สาวงามดับเบิ้ลเอ